กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนบุดีฮีเลร์ ใส่ใจสุขภาพ ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.8 ต.บุดี

1. นางซัยนับโตะมะเล๊าะ ประธานชมรม
2.นายอฮามัดกาลูปังรองประธาน
3.นางบุษรอสาร๊ะเลขานุการ
4.นางสาวสาลือหม๊ะ โตะมะเล๊าะกรรมการ
5.นางรอมือละห์มะโย๊ะกรรมการ

หมู่ที่ 3 ตำบลบุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
การมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมการเกิดโรคโดยมีเป้าหมายเป็นประชากรกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยการวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูงและการวัดเส้นรอบพุง การเจาะน้ำตาลในเลือดเพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นเพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโดยเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมทั้งกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกรายในรายที่ป่วยแล้วได้รับการตรวจประเมินภาวะโรคอันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรค ดังนั้น ดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุกเร่งการป้องกันโรคโดยใช้เครือข่ายระหว่าง รพ.สต.กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชนจะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนืองยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงาน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ หมู่ที่ 8 บ้านบุดีฮิเลร์
มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน ...1,390....คน อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน ..21... คน และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านบุดีฮีเลร์ หมู่ที่ 8 ตำบลบุดี เคยดำเนินโครงการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ในหลายปีที่ผ่านมา อสม.หมู่ที่ 8 ตำบลบุดี ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี ดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสุงให้แก่ประชากร 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่ตำบลบุดีเป็นประจำทุกปีเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วย และในปัจจุบันนี้ ชมรมอสม.ของหมู่บ้านมีอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น คือ เครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งมีไม่เพียงพอเนื่องจากเครื่องมือที่มีอยู่เดิมเกิดการชำรุด เสียหายจากอายุการใช้งานหลายปี อีกทั้งจำนวน อสม.ที่เพิ่มขึ้นและครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ไม่มีความคล่องตัว ดังนั้น ชมรม อสม.หมู่ที่ 8 บ้านบุดีฮีเลร์ จึงได้จัดทำโครงการโครงการคนบุดีฮีเลร์ ใส่ใจสุขภาพ ปี 2567 เพื่อรณรงค์คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองตรวจสุขภาพเบื้องต้น

1.00 1.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้นำความรู้การดูแลสุขภาพสามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้ออุปกรณ์เพื่อใช้ในการคัดกรองตรวจสุขภาพในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้ออุปกรณ์เพื่อใช้ในการคัดกรองตรวจสุขภาพในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดดิจิตอล จำนวน 2 เครื่อง x 2,500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  2. ค่าเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว จำนวน 2 เครื่อง x 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
    3.ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง x 1,000 บาท
    เป็นเงิน 1,000 บาท 4.กระเป๋าเก็บอุปกรณ์ทางการแพทย์ จำนวน 1 ใบ x 1,000 บาท
    เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.และคัดกรองตรวจสุขภาพความดันโลหิตและเบาหวานในประชาชน หมู่ที่ 8 ตำบลบุดี อำเภอเมืองจังหวัดยะลา อายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.และคัดกรองตรวจสุขภาพความดันโลหิตและเบาหวานในประชาชน หมู่ที่ 8 ตำบลบุดี อำเภอเมืองจังหวัดยะลา อายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน 75 บ. x 50 คน x 2 รุ่น เป็นเงิน 7,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บ. x 50 คน  x  2 มื้อ x 2 รุ่น  เป็นเงิน  7,000 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน  600 บ. x 6 ชม. x 2 รุ่น  เป็นเงิน 7,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่ได้รับการคัดกรองตรวจสุขภาพประจำปี
2.ประชาชนได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน


>