กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการรำมโนห์ราในเด็กและเยาวชน ชุมชนบ้านโหล๊ะหาร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

โรงเรียนบ้านโหล๊ะหาร

โรงเรียนบ้านโหล๊ะหาร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากสภาพปัจจุบัน นักเรียนโรงเรียนบ้านโหล๊ะหารไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายเท่าที่ควร ขาดการเอาใจใส่ดูแล ร่างกาย ตลอดจนปัญหาเรื่องของปัญหาพฤติกรรมการกิน และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ อันนำมาสู่โรคอ้วนและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ จึงทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง และมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ตลอดเวลา มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน ตลอดจนโรคไข้หวัดเรื้อรังซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกาย โรงเรียนบ้านโหล๊ะหารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการส่งเสริมสุขภาพของเด็กนักเรียนในทุกๆ วัย จึงได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการำมโนห์ราในเด็กและเยาวชน ชุมชนบ้านโหล๊ะหาร เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวโภชนาการ ซึ่งจะพัฒนาศักยภาพนักเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับวัยเพื่อให้นักเรียนมีร่างกายที่แข็งแรงและลดภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ ตลอดจนมีกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเรื่องมโนห์ราอันเป็นมารดกโลก ซึ่งนอกจากนักเรียนจะได้ออกกำลังกายแล้ว ยังได้รับโอกาสได้ความรู้และทักษะด้านมโนห์เพิ่มขึ้นและถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้
ดังนั้นโครงการนี้จึงจัดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนและชี้แนะให้กลุ่มเด็กเยาวชนชุมชนบ้านโหล๊ะหาร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพที่มาจากพฤติกรรมต่างๆ ของตนเองทั้งยังเป็นการอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น และเพื่อให้สอดคล้องตามหลักสูตรการศึกษาที่กำหนดให้โรงเรียนจัดการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรท้องถิ่น และสามารถนำไปเสริมสร้างศักยภาพให้ตนเองได้ แต่ทั้งนี้การกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนให้สนใจในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ โดยการำมโนห์รา อย่างยั่งยืนนั้น อาจต้องอาศัยแรงโน้วน้าวใจจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น การออกแสดงผลงานต่อสาธารณชน อันเป็นแรงผลักดันให้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ โดยการำมโนห์รา อย่างยั่งยืนสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น 2.ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียนและเยาวชน 3.ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อปลูกฝังศิลปะวัฒนธรรม มโนห์รากับนักเรียนและเยาวชน

1.นักเรียนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและเยาวชน ร้อยละ 100
2.โรงเรียน/ชุมชน มีกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียนและเยาวชน ร้อยละ 100
3.นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ มีความรักและห่วงแหน ในศิลปะวัฒนธรรม มโนห์รา ร้อยละ 100
4.นักเรียนสามารถปฏิบัติเครื่องดนตรีมโนห์ราเพื่อเสริมสร้างศักยภาพกิจกรรมทางกาย โดยการำมโนห์ราในเด็กและเยาวชน ชุมชนบ้านโหล๊ะหาร ร้อยละ 70

30.00 100.00

1.เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
2.ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียนและเยาวชน
3.ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อปลูกฝังศิลปะวัฒนธรรม มโนห์รากับนักเรียนและเยาวชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การรำมโนห์ราในเด็กและเยาวชน ชุมชนบ้านโหล๊ะหาร

ชื่อกิจกรรม
การรำมโนห์ราในเด็กและเยาวชน ชุมชนบ้านโหล๊ะหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการระยะเวลาในการดำเนินการ ขั้นตอนการเตรียมงาน/การวางแผนจัดกิจกรรม (ช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม 2567) 1.รวบรวมข้อมูลนักเรียน นักเรียนระดับชั้น ป.1 - ม.3 ของโรงเรียนบ้านโหล๊ะหาร 2. จัดประชุมคณะกรรมการจัดโครงการ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อหาแนวทางในการจัดโครงการ และวางแผนการดำเนินการ (ไม่ใช้งบประมาณ) 3. เขียนโครงการและนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณ 4.จัดหานักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน 5.จัดประชุมกันอีกครั้ง เพื่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและวางแผนการดำเนินโครงการ (ไม่ใช้งบประมาณ) ขั้นตอนการดำเนินโครงการ (กรกฎาคม 2567) การปฏิบัติกิจกรรมทางกาย โดยการำมโนห์ราในเด็กและเยาวชน ชุมชนบ้านโหล๊ะหาร โดยใช้เวลาช่วง 15.30-17.30 น. ในวันราชการ และใช้เวลา 13.00-15.00 น. ในวันหยุดราชการ 1. กิจกรรมที่ 1 ฝึกกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และความรู้เบื้องต้นกิจกรรมทางกาย (วันที่ 1-2 ก.ค.) 2. กิจกรรมที่ 2 ฝึกปฏิบัติท่ารำพื้นฐาน(วันที่ 3-5 ก.ค.) 3. กิจกรรมที่ 3 ฝึกปฏิบัติท่ารำเพลงโค(วันที่ 6-8 ก.ค.) 4. กิจกรรมที่ 4 ฝึกปฏิบัติท่ารำเพลงนาดช้า(วันที่ 9-11 ก.ค.) 5. กิจกรรมที่ 5 ฝึกปฏิบัติท่ารำเพลงนาดเร็ว(วันที่ 12-14 ก.ค.) 6.กิจกรรมที่ 6 ฝึกปฏิบัติท่ารำเพลงระบำ(วันที่ 15-17 ก.ค.) 7.กิจกรรมที่ 7 ฝึกปฏิบัติท่ารำพราน(วันที่ 18-20ก.ค.) 8.กิจกรรมที่ 8 ฝึกปฏิบัติประสมท่ารำ(วันที่ 21-25 ก.ค.) 9.กิจกรรมที่ 8 ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีประสมท่ารำ (วันที่ 26-30 ก.ค.) 10.กิจกรรมที่ 9 ถ่ายทอดท่ารำนำสู่ชุมชนบ้านโหล๊ะหาร (วันที่ 31 ก.ค.) ขั้นการประเมินผลโครงการ 1. สังเกตจากความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 2. ประเมินจากการตอบแบบสอบถามของผู้เข้าร่วมโครงการ รายละเอียดค่าใช้จ่ายงบประมาณ 1.ค่าวิทยากร 1 คน (300 บ.x30วัน) 9,000.- 2.อาหารว่าง+เครื่องดื่ม 1 มื้อ (20 บ.x30คนx30วัน)18,000.- 3.ค่าอุปกรณ์เครื่องดนตรีสำหรับประกอบจังหวะ (ทับ,กลอง)10,000.- รวมเป็นเงิน 37,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและเยาวชน 2.โรงเรียน/ชุมชน มีกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียนและเยาวชน 3.นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ มีความรักและห่วงแหน ในศิลปะวัฒนธรรม มโนห์รา 4.นักเรียนสามารถปฏิบัติเครื่องดนตรีมโนห์ราเพื่อกิจกรรมทางกายได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,000.00 บาท

หมายเหตุ :
รายละเอียดค่าใช้จ่ายงบประมาณ
1.ค่าวิทยากร 1 คน (300 บ.x30วัน) 9,000.-
2.อาหารว่าง+เครื่องดื่ม 1 มื้อ (20 บ.x30คนx30วัน)18,000.-
3.ค่าอุปกรณ์เครื่องดนตรีสำหรับประกอบจังหวะ (ทับ,กลอง)10,000.-
รวมเป็นเงิน 37,000.-บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและเยาวชน
2.โรงเรียน/ชุมชน มีกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียนและเยาวชน
3.นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ มีความรักและห่วงแหน ในศิลปะวัฒนธรรม มโนห์รา
4.นักเรียนสามารถปฏิบัติเครื่องดนตรีมโนห์ราเพื่อเสริมสร้างศักยภาพกิจกรรมทางกาย โดยการำมโนห์ราในเด็กและเยาวชน ชุมชนบ้านโหล๊ะหาร


>