กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

พื้นที่ตำบลบือมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ความปลอดภัยและภาวะจากการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตามประเพณี

 

5.00

ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และเนื่องจากมีความเป็นบริบทเฉพาะที่ต่างจากพื้นที่ทั่วไป ในด้านสังคม วัฒนธรรม ตลอดจนความเชื่อทางศาสนา ทั้งนี้ในเรื่องการดูแลส่งเสริมสุขภาพของประชาชนมุสลิม ดังมีตัวอย่างโครงการ ได้แก่ “โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามสิทธิประโยชน์ของแต่ละกลุ่มวัยและเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราป่วยและอัตราตายที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ โดยเป็นโครงการที่พื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นต่อการจัดการแก้ไขปัญหาสภาวะสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียน และเยาวชน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสาธารณสุขของกลุ่มเด็กวันเรียนและเยาวชนต่อไป
อาศัยอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบับที่ 5 พ.ศ.2546 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา 67 (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (5)ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
เพื่อเป็นการจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบือมัง จึงได้จัดโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม ประจำปี 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก จากการขลิบหนังหุ้มปลายฯ ตามประเพณี

เด็กและเยาวชนได้รับการขลิบที่ปลอดภัย

4.00 30.00
2 เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและป้องกันการติดเชื้อได้เพิ่มขึ้น

3.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้การดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อจากการเข้าสุนัตที่ไม่ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้การดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อจากการเข้าสุนัตที่ไม่ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน(ผู้ปกครอง+เด็ก) 60 คน x 70 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 4,200.-บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(ผู้ปกครอง+เด็ก) 60 คน x 30 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 3,600.-บาท ค่าสมุด จำนวน 60 คน x 5 บาท เป็นเงิน 300 .-บาท ค่าปากกา 60 ด้าม x 5 บาทเป็นเงิน 300.- บาท ค่ากระเป๋าผ้า 60 ใบ x 40 บาท เป็นเงิน 2,400.- บาท ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600.- บาท ค่าอาหารกลางวันเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 10 คน x 70 บาท เป็นเงิน 700 บาท ค่าอาหารว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 10 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 600บาท ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน900.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการติดเชื้อจาการเข้าสุนัตที่ไม่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16600.00

กิจกรรมที่ 2 CIRCUMCISION ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบือมัง

ชื่อกิจกรรม
CIRCUMCISION ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบือมัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ อัตราบริการเหมาจ่ายรายหัว 1,200 บาท x 30 คน เป็นเงิน 36000 บาท อ้างอิงค่าบริการ รวมทีมแพทย์พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข รวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ *อ้างถึงหนังสือ สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุขที่ สจส. 55/2565 ลงวันที่ 15 เมษายน 2565 เรื่อง โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนมุสลิม เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือท้องที่
  • ป้ายโครงการ 1x3 เมตร 900 บาท การทำหัตถการโดยบุคลากรทางแพทย์ สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข ผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่านต้องได้รับการยินยอม จากผู้ปกครองทุกราย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ได้อย่างปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36900.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามอาการและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามอาการและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กรอบการประเมิน วัตถุประสงค์ของการประเมิน

1.เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ

การดำเนินงานตามแผนงาน ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ปัญหาและอุปสรรค 1.1 เกณฑ์การประเมิน

ดำเนินงานได้ตามแผนร้อยละ 80 มีความพึงพอใจระดับมาก ปัญหาและอุปสรรคได้รับการแก้ไข 2.เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของเข้าร่วมโครงการ

ความรู้ที่ได้รับจากการอบรม 2.1 เกณฑ์การประเมิน

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เพิ่มขึ้นร้อย 15 3.เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการเข้าร่วมฯ อัตราการเกิดแผลติดเชื้อ 3.1เกณฑ์การประเมิน

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของเป้าหมาย อัตราการเกิดแผลติดเชื้อจากการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ไม่เกิดร้อยละ 5

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการประเมินและนำผลไปปรับปรุงโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราแผลติดเชื้อจากการขริบหนังหุ้มปลายในชุมชนลดลง
2.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค โดยเฉพาะการติดเชื้อจากการขริบหนังหุ้มปลายที่ไม่ปลอดภัย


>