กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี

ตำบลบุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-15 ปีแต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัด ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดีย้อนหลัง 5 ปี (2562 - 2566) ดังนี้ปี 2562คิดเป็น 118.9 ต่อประชากรแสนคน ปี 2563 คิดเป็น 29.72 ต่อประชากรแสนคน ปี 2564ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ปี 2565 คิดเป็น 53.76 ต่อประชากรแสนคน และในปี 2566คิดเป็น 376.34 ต่อประชากรแสนคน จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรค ไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่ง พอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้น ได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และศาสนสถานด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน เทศบาลตำบลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศาสนสถานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุดี ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกประจำปี 2567ขึ้น เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่จะมีการแพร่ระบาดและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง และให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน มัสยิดโรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากรแสน 2.อัตราป่วยลดลงจากค่ามัธยฐาน ร้อยละ 20
1.00 1.00
2 พื้นที่เขตรับผิดชอบรพ.สต.บ้านบุดี เช่น ส่วนราชการ/ รพ.สต./โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย CI= 0 /ในหมู่บ้านมีค่า HI น้อยกว่า 10

ร้อยละ80 ของ พื้นที่เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบุดี เช่น ส่วนราชการ/รพ.สต./โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย  CI= 0 /ในหมู่บ้านมีค่า HI น้อยกว่า 10

1.00 1.00
3 ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก และเกิดพฤติกกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ร้อยละ70 ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก และเกิดพฤติกกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แกนนำประชาชนในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แกนนำประชาชนในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน x 1 มื้อ x 1 วัน x 75 บาท
เป็นเงิน 2,250 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30  คน x 2 มื้อ x 1 วัน x 35 บาท  เป็นเงิน 2,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ควบคุมโรคไข้เลือดออก จัดการด้านสิ่งแวดล้อม -

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ควบคุมโรคไข้เลือดออก จัดการด้านสิ่งแวดล้อม -
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในโรงเรียน มัสยิด หน่วยงานราชการ และชุมชน  - การควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยวิธีการพ่น ULV ในในรัศมี 100 เมตรนับจากจุดเกิดโรค  - การป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยวิธีการพ่น ULV เพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัย ในโรงเรียน มัสยิด หน่วยงานราชการ และชุมชน
งบ 1.ค่าจ้างเหมาคนพ่น ULV ในโรงเรียน มัสยิด หน่วยงานราชการ และชุมชน จำนวน 2 เดือน x 6,000 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
2.ค่าป้ายโฟมบอร์ด จำนวน 9 ป้าย ขนาด 60 ซม. x 45 ซม. x 360 บาท เป็นเงิน 3,240 บาท 3.ค่าโลชั่นทากันยุง ปริมาณ 60 มิลลิลิตร จำนวน 60 ขวด ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 4.ค่าทรายอะเบท 2 ถัง ๆ ละ 3,500 บาท
เป็นเงิน 7,000 บาท 5.ค่าน้ำยาพ่น ULV กำจัดยุง ขนาด 1,000 มิลลิลิตร จำนวน 2 ขวด ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28240.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,590.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ไม่เกิดโรคไข้เลือดออกซ้ำในพื้นที่เดียวกัน ภายใน 28 วัน หลังพบผู้ป่วย
2.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก และเกิดพฤติกกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>