กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

แม่และเด็กมิติใหม่ ด้วยเครือข่ายแม่อาสา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง

ตำบลบือมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

 

5.00

จากข้อมูลในระบบ HDC ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลางานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง มีข้อมูลดังต่อไปนี้
1.ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรรภ์ครั้งแรกก่อน สัปดาห์ (เกณฑ์ ร้อยละ75)
ปี 2564ผลงาน 84.0
ปี 2565 ผลงาน 92.59
ปี 2566 ผลงาน 80
2.ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ (เกณฑ์ ร้อยละ 75)
ปี 2564ผลงาน80.82
ปี2565ผลงาน 81.25
ปี 2566 ผลงาน76
3.ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลหลังคลอด 3ครั้งตามเกณฑ์ (เกณฑ์ ร้อยละ75)
ปี2564 ผลงาน75.29
ปี2565ผลงาน74.70
ปี2566 ผลงาน 82.35
4.ร้อยละทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม(เกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ 7)
ปี 2564ผลงาน 8.14
ปี 2565 ผลงาน8.33
ปี2566ผลงาน 10.53
5.ร้อยละองหญิงที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ (เกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ 14)
ปี2564ผลงาน 24.13
ปี 2565 ผลงาน 31.17
ปี 2566 ผลงาน24.44
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าตำบลบือมังมีปัญหาทางด้านแม่และเด็กคือ เด็กแรกเกิด น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซ๊ด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่เคยตั้งครรภ์หรือคลอดบุตร และหญิงตังครรภ์มีความรู้ในเรื่องการปฺฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อมุ่งสู่ การฝากครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ครบ 2.เพื่อค้นหาภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธ์ุ และนำไปสู่การแก้ปัญหา และการป้องกันที่ถูกต้องในเรื่องภาวะซีดในหญฺิงตั้งครรภ์ 3.เป็นการสร้างเครือข่ายในการทำงานแม่และเด็กสู่ชุมชนด้วยชุมชน 4. เพื่อสู่ผลสำเร็จของงานแม่และเด็ก คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย

1.ร้อยละหญฺิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์  มากกกว่า ร้อยละ 75 (เกณฑ์ไม่น้อยกว่า 75 ผลงานปี 2566 ร้อยละ 80) 2.ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 75 (เกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ผลงานปี 2566 ร้อยละ76) 3.ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 75(เกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ผลงานปี 2566 82.35) 4.ร้อยละของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม  ไม่เกิน ร้อยละ 9  (เกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ 7 ผลงานปี 2566 ร้อยละ 10.53 )

5.00 120.00

จากข้อมูลในระบบ HDC ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลางานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง มีข้อมูลดังต่อไปนี้
1.ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรรภ์ครั้งแรกก่อน สัปดาห์ (เกณฑ์ ร้อยละ75)
ปี 2564ผลงาน 84.0
ปี 2565 ผลงาน 92.59
ปี 2566 ผลงาน 80
2.ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ (เกณฑ์ ร้อยละ 75)
ปี 2564ผลงาน80.82
ปี2565ผลงาน 81.25
ปี 2566 ผลงาน76
3.ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลหลังคลอด 3ครั้งตามเกณฑ์ (เกณฑ์ ร้อยละ75)
ปี2564 ผลงาน75.29
ปี2565ผลงาน74.70
ปี2566 ผลงาน 82.35
4.ร้อยละทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม(เกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ 7)
ปี 2564ผลงาน 8.14
ปี 2565 ผลงาน8.33
ปี2566ผลงาน 10.53
5.ร้อยละองหญิงที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ (เกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ 14)
ปี2564ผลงาน 24.13
ปี 2565 ผลงาน 31.17
ปี 2566 ผลงาน24.44

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 16/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมคณะทำงาน 27 คน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมคณะทำงาน 27 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนและชี้แจงรายละเอียดโครงการ ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน  ประธานอสม. 6 หมู่บ้าน 6 คน แกนนำอาสาทำงานแม่และเด็ก 20 คน  ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท 27 คน เป็นเงิน 1,890 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท 2 มื้อ* 27 คน เป็นเงิน 1,620 บาท รวมเป็นเงิน 3,510 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 3 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อวางแผนและชี้แจงรายละเอียดโครงการ ที่มาของ โครงการ ความสำคัญของปัญหา และรับฟังความคิดเห็น ของคณะทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3510.00

กิจกรรมที่ 2 2.เจาะหาความเข้มข้นเลือด(ฮีมาโตคริท)ในหญิงวัยเจริญพันธุุ์ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ 180 คน

ชื่อกิจกรรม
2.เจาะหาความเข้มข้นเลือด(ฮีมาโตคริท)ในหญิงวัยเจริญพันธุุ์ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ 180 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจาะเลือดเพื่อหาความเข้มข้นของเลือดในหญิงวัยเจริญพันธ์ุทีไม่ได้ตั้งครรภ์ (เจาะปลายนิ้ว) ค่าอาหารว่างสำหรับผู้รับการเจาะเลือด 180* 30 บาท เป็นเงิน 5400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 พฤษภาคม 2567 ถึง 10 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เจาะเลือดเพื่อหาความเข้มข้นของเลือดในหญิงวัยเจริญพันธ์ุทีไม่ได้ตั้งครรภ์เพือวางแผนในการรักษา ค้นหาสาเหตุการซีดเป็นการซีดก่อนตั้งครรภ์หรือซีดขณะตั้งครรภ์ และเป็นการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย เพือทำการอบรมให้ความรู้ในกิจกรรมที่ 4

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

กิจกรรมที่ 3 3.อบรมเครือข่ายแกนนำแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
3.อบรมเครือข่ายแกนนำแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเครือข่ายแกนนำแม่อาสา 20 คน-ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท* 20 คน เป็นเงิน 1400 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท 2 มื้อ 20 คน เป็นเงิน 1200 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บาท* 6 ชม. เป็นเงิน 3600 บาท รวมเป็นเงิน 6200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2567 ถึง 17 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้แกนนำแม่อาสา มีความรู้ และเพิ่มพูนทักษะ ในการช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ และหญฺิงหลังคลอดในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 4 4.อบรมหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ุตำบลบือมัง

ชื่อกิจกรรม
4.อบรมหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ุตำบลบือมัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ุตำบลบือมัง โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 1อบรมหญิงวัยเจริญพันธ์ุที่แต่งงานแล้วแต่ยังไม่มีบุตรกับหญิงวัยเจริญพันธ์ุที่ยังไม่แต่งงาน รุ่นที่ 2อบรมหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ุที่เคยมีบตรแล้ว -ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท 75 คน 2รุ่น เป็นเงิน 10500 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 บาท* 2 มื้อ* 75 คน* 2รุ่นเป็นเงิน 9000 บาท -ค่าวิทยากร 600 บาท* 6 ชม.* 2 รุ่น เป็นเงิน 26700

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 28 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภืและหญิงวัยเจริญพันธ์ุตำบลบือมัง มีความรู้และสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องสู่การลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26700.00

กิจกรรมที่ 5 5.สรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
5.สรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลโครงการแก่คณะทำงานและเครือข่ายแม่อาสา

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กรกฎาคม 2567 ถึง 12 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อเป็นการรับรู้ถึงผลลัพธ์ของโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,810.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลการดำเนินงานแม่และเด็กผ่านตามตัวช๊้วัดกระทรวงสาธารณสุข
1.ร้อยละของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ3
2.ร้อยละหญิงที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์มีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 3


>