กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรอง ค้นหากลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี ของคนบ้านควนปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน 1

1.นางปทุมมาศ โลหะจินดา ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.ตำบลบ้านควน เบอร์โทรศัพท์ 089-4677379 (ผู้รับผิดชอบหลัก)
2.นางสุพิชชา หมาดสกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 086-4884177
3.นส.โสภิตรา นารีเปน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 086-9553967
4.นส.นุสรัตน์ นุ่งอาหลี ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ เบอร์โทรศัพท์ 088-7955154
5.นางสุภา นวลดุก ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 08-9408-8530

หมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการคัดกรอง ค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 32 ปีขึ้นไป ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

 

0.00
2 ร้อยละของผู้ติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี รายใหม่ได้รับการส่งต่อวินิจฉัย รักษาพยาบาล

 

0.00

หลักการและเหตผล
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์โรคไวรัสตับอักเสบบีทั่วโลก พบผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังทั่วโลก กว่า 257 ล้านคน ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณ 2.2-3 ล้านคน โดยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus : HBV) ส่งผลต่อการเจ็บป่วย เช่น มะเร็งตับ พบในเพศชาย (33.4 ต่อแสนประชากร) และพบในเพศหญิง (12.3 ต่อแสนประชากร) มีช่องทางการติดเชื้อ คือ ทางเลือด เพศสัมพันธ์ และการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อันตราย หากได้รับเชื้อแล้วไม่เข้าสู่กระบวนการรักษา มีโอกาสเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ตับวาย ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ทั้งนี้ โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี และรักษาได้ด้วยการรับประทานยาต้านไวรัส เพื่อควบคุมปริมาณไวรัสในร่างกาย ลดภาวะการเกิดพังผืดของตับ ชะลอการเกิดตับแข็ง และลดการเกิดมะเร็งตับ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น กรมควบคุมโรค จึงเร่งส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโรคไวรัสตับอักสบบี สามารถประเมินความเสี่ยงของตนเองและคนรอบข้าง หากมีพฤติกรรมเสี่ยงให้เข้ารับบริการตรวจคัดกรองและการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีโดยเร็ว
สถานการณ์โรคไวรัสตับอักเสบซีในอดีต ปี พ.ศ.2550 มีรายงานผู้ป่วยรวม 1,140 ราย (ร้อยละ 11.42 ของผู้ป่วยตับอักเสบรวม) อัตราป่วย 1.81 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิตพบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง เพศชาย 726 ราย เพศหญิง 414 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1.7 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือกลุ่มอายุ 45 - 54 ปี รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 55 - 64 ปี และ 35 - 44 ปี อัตราป่วย 4.26, 3.43 และ 2.55 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ พบผู้ป่วยใหม่ในทุกเดือนโดยพบสูงสุดในเดือน ตุลาคมจำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 130 ราย และต่ำสุดในเดือน ธันวาคม และ สิงหาคม เท่ากับ 77 ราย โดยในปี พ.ศ.2550 พบผู้ป่วยใหม่สูงกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปีในทุกเดือนในบรรดาโรคร้ายที่คุกคามร่างกายเราได้ อย่างเงียบเชียบ ไวรัสตับอักเสบซีถือเป็นโรคที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดโรคหนึ่งทั้งนี้เพราะในบรรดาโรคไวรัสตับอักเสบซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีอยู่ ถึง 5 ชนิด คือ A, B, C, D และ Eไวรัสที่พบมากที่สุดคือไวรัสตับอักเสบชนิดซี เพราะสามารถเป็นเรื้อรังได้บ่อย ไม่ติดต่อทางอาหาร และผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อ ที่ร้ายกว่านั้นคือ ไวรัสตับอักเสบซี เป็นอีกสาเหตุสำคัญของมะเร็งตับ ไวรัสตับอักเสบซี ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2532 เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบในตับ สามารถทำให้เกิดการตับอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังตลอดจนตับแข็งและมะเร็งตับ ความรุนแรงของไวรัสชนิดนี้คือ เป็นตับอักเสบเรื้อรังมากกว่าชนิดอื่น และยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ทำได้ก็เพียงการให้ยาลดไวรัสและป้องกันการเกิดมะเร็งตับเท่านั้น
ทั้งนี้ หากประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี ให้เข้ารับการคัดกรองและเข้าสู่ระบบริการรักษาโดยเร็ว เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี ภาวะตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ เพื่อนำไปสู่การกำจัดโรคไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซีให้หมดไปภายในปี 2573 และเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 32 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี จำนวน 1 ครั้ง รพ.สต.ต.บ้านควน ได้เห็นความสำคัญของการให้ความรู้ คัดกรอง ค้นหา ประชาชนกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบซีปี 2567 เพื่อหาแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี และการส่งต่อเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 32 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซี

ร้อยละ 10 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 32 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซี

0.00 10.00
2 เพื่อให้ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซี รายใหม่ได้รับการส่งต่อวินิจฉัย รักษา

ร้อยละ 100 ของผู้ติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี รายใหม่ได้รับการส่งต่อวินิจฉัยรักษา

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 32 ปีขึ้นไป 720

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ อสม. เรื่องโรคไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี และการป้องกัน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ อสม. เรื่องโรคไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี และการป้องกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมให้ความรู้ เรื่องการป้องกัน และควบคุมโรค แก่ อสม. จำนวน 77 คน เรื่องโรคไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี(เวลา 13.00 น.-16.00 น.)
    1.1 การบรรยายเรื่องโรคไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี และการป้องกัน
    1.2 สาธิต และฝึกปฏิบัติ เรื่องการตรวจ คัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซี ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 32 ปีขึ้นไป โดยการเจาะเลือดปลายนิ้วมือหยดลงบนชุดทดสอบ HCV Rapid Test Cassette ,HBsAg Rapid Test Cassette

รายละเอียดงบประมาณ รวมเป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เจ้าหน้าที่ + อสม. จำนวน 80 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง x 600 บาท x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท

กำหนดการอบรม
13.00 น.- 13.30 น. -ลงทะเบียน
13.30 น.- 14.30 น. -เรื่องการขอ Authen บัตรกลุ่มเป้าหมาย เรื่องโรคไวรัสตับอักเสบบีและการป้องกัน
14.30 น.- 14.45 น. -พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดี่ม
14.45 น.- 15.45 น. -เรื่องโรคไวรัสตับอักเสบซีและการป้องกัน
15.45 น.- 16.45 น. -เรื่องการเจาะเลือดปลายนิ้ว ชุกทดสอบหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี สาธิต และฝึกปฏิบัติ ซักถามปัญหา ข้อสงสัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. จำนวน 77 คน ได้เข้ารับการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี และการป้องกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4200.00

กิจกรรมที่ 2 จัดรณรงค์ตรวจคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซี

ชื่อกิจกรรม
จัดรณรงค์ตรวจคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซีในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 32 ปีขึ้นไป โดย
1. ชี้แจง แกนนำ อสม. จำนวน 30 คน เรื่องการจัดเตรียมอุปกรณ์ และการเจาะเลือดปลายนิ้ว
2. การใช้บัตรประชาชนขอรับบริการ(Authen) ทุกราย
3. เตรียมลงทะเบียนประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 32 ปีขึ้นไป จำนวน 720 คน ในหมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน จำนวน 5 วัน
4. ให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 32 ปีขึ้นไป เรื่องโรคไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี (การป้องกัน และการรายงานผลการตรวจ)
5. การเจาะเลือดปลายนิ้วมือหยดเลือดลงบนหลุมชุดทดสอบ HCV Rapid Test Cassette ,HBsAg Rapid Test Cassette
6. การลงทะเบียนผลการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

รายละเอียดงบประมาณ รวมเป็นเงิน 31,764 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เจ้าหน้าที่ + อสม. จำนวน 32 คน x 30 บาท x 1 มื้อ x 5 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
- ค่าชุดทดสอบ HCV Rapid Test Cassetteจำนวน 18 กล่องๆละ 856 บาท เป็นเงิน 15,408 บาท
- ค่าชุดทดสอบ HBsAg Rapid Test Cassetteจำนวน 18 กล่องๆละ 642 บาท เป็นเงิน 11,556 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 32 ปีขึ้นไป จำนวน 720 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซีทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31764.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการตรวจคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซี

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการตรวจคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสรุปผลการตรวจคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซี
1. ประชุมสรุปผลการตรวจคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซี โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 2 คน ร่วมกับ แกนนำ อสม. จำนวน 10 คน รวมเป็น 12 คน
2. แจ้งผลการตรวจให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 32 ปีขึ้นไปทราบ เพื่อวางแผนการส่งต่อไปพบแพทย์ทำการวินิจฉัย รักษาพยาบาลที่ถูกต้อง
3. สรุปปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงานตามโครงการ วางแผน เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป
รายละเอียดงบประมาณ รวมเป็นเงิน 1,080 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เจ้าหน้าที่ + อสม. จำนวน 12 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 360 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน เจ้าหน้าที่ + อสม. จำนวน 12 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 720 บาท

กำหนดการประชุม
08.30 น.- 09.00 น. -ลงทะเบียน
09.00 น.- 10.00 น. -เรื่องกลุ่มเป้าหมายที่มาตรวจ ผลการตรวจหาเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซี
10.00 น.- 10.15 น. -พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดี่ม
10.15 น.- 11.15 น. -เรื่องการให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ติดเชื้อ การเขียนใบส่งต่อพบแพทย์
11.15 น.- 12.15 น. -สรุปโครงการ ซักถามปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงาน
12.15 น.- 13.00 น. -พักรับประทานอาหารเที่ยง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.จำนวน 2 คน ร่วมกับ แกนนำ อสม. จำนวน 10 คน รวมเป็น 12 คน เข้าประชุมสรุปผลโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1080.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,044.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 32 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหา การติดเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบี และไวรัสตับอับเสบซี ร้อยละ 10
2. ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี รายใหม่ได้รับการส่งต่อวินิจฉัย รักษาพยาบาลทุกราย


>