กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต. น้ำผุด

ตำบลน้ำผุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
การจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เป็นการสนับสนุนระบบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มากขึ้น สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนด้วยตนเอง สนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการบริหารในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคม ที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนบรรลุวัตถุประสงค์มีความเหมาะสมส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ จึงต้องมีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม การติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานของกองทุน การประเมินความพึงพอใจและการรับรู้ของประชาชนต่อการดำเนินงานของกองทุน เพื่อใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของการบริหารจัดการกองทุนตามวัตถุประสงค์และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

มีการจัดอบรมหรือประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกัน

0.00
2 .เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

มีกลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ขอรับทุนหรือเข้าร่วมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ

0.00
3 มีกลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ขอรับทุนหรือเข้าร่วมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ

การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

0.00
4 เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

มีการบริหารจัดการกองทุนได้อย่างประสิทธิภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ เตรียมสถานที่

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการประชาสัมพันธ์ เตรียมสถานที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. การดำเนินงานกองทุนตำบล

ชื่อกิจกรรม
2. การดำเนินงานกองทุนตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเบี้ยประชุม(ค่าตอบแทนการประชุม) จำนวน 4 ครั้ง
  • คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ (400 บาท x 17 คน x 4 ครั้ง)เป็นเงิน27,200บาท
  • คณะอนุกรรมการ (LTC)(300 บาท x 11 คน x 3 ครั้ง)เป็นเงิน9,900บาท
  • ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯอนุกรรมการกองทุนฯ ค่าใช้จ่ายในการประชุมให้ความรู้โดยทีมพี่เลี้ยงร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ สปสช. การอบรมเกี่ยวกับรายละเอียดกองทุนฯ(ค่าเดินทางไปราชการ ค่าวิทยากร ค่าอาหารว่าง ค่าอาหารกลางวันค่าเอกสารค่าใช้จ่ายอื่นๆ)เป็นเงิน50,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ(ค่าจัดซื้อครุภัณฑ์ต่างๆเช่นตู้เอกสาร คอมพิวเตอร์ วัสดุสำนักงานฯลฯ เป็นเงิน 21,092บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10,000บาท
  • ค่าจัดจ้างถ่ายเอกสารประกอบการประชุมเป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
123192.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 123,192.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการมีความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานจัดการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. ประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่เข้าถึงกองทุนหลักประกันสุขภาพและมีกิจกรรมการดำเนินงานด้านสุขภาพ
3. คณะกรรมการบริหารกองทุน สามารถบริหารจัดการกองทุน บริหารทรัพยากรกองทุน จัดหาวัสดุและครุภัณฑ์เพื่อดำเนินการกองทุนและมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ


>