กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพวิถีไทย ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโงยซิแน

1.นางสาวอาซ๊ะ อาลี
2.นางสาวอาซีหยะ สาอิ
3.นางสาวอีฟตีนา มะดีเย๊าะ
4.นางสาวอัสมะ แมเงาะ
5.นางสาวฮาฟีนี ยาโงด

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

แม้กระทรวงสาธารณสุขจะมีนโยบายส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในครัวเรือนเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นมาหลายปี แต่สัดส่วนการใช้ยาสมุนไพรในชุมชนยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดมาก แม้จะ มีการปลูกพืชสมุนไพรหลากหลายชนิดใน ทุกๆ เขตพื้นที่ สมุนไพรบางชนิดหาได้ง่ายและราคาถูก อีกทั้งยังผ่านการศึกษาค้นคว้าและวิจัย เพื่อรองรับองค์ความรู้อย่างจริงจังว่าให้ผลลัพธ์ที่ดีในส่วนของการรักษาอาการเจ็บป่วย นำมาใช้ได้ง่าย และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพประชาชน
จากการเก็บข้อมูลการใช้ยาสมุนไพรในชุมชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีการใช้ยาแผนปัจจุบันมากกว่าการใช้สมุนไพรในการรักษา ประชาชนในชุมชนมีการพึ่งหมอและโรงพยาบาลมากกว่าการดูแลสุขภาพโดยการพึ่งพาตนเองและใช้สมุนไพรต่างๆในการรักษา การใช้สมุนไพรเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพเบื้อฃต้นให้กับคนในชุมชน มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยในอดีตให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
ดังนั้นชมรม อสม.ตำบลบาโงยซิแน จึงได้ทำการโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพวิถีไทย ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว ” โดยมีการอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรใกล้ตัว เช่น ยาดมสมุนไพร ตำรับยาสมุนไพรรักษาอาการป่วยเบื้องต้น ฯลฯ และวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้นตามแนวทางการแพทย์แผนไทย เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชน มีความเข้าใจในการดูแลตนเอง มองเห็นคุณค่าของยาไทย สมุนไพรไทย ที่มีอยู่มากมายในชุมชนของตนเอง และรู้จักเลือกสรรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ มีแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อประชนคนไทยมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่สนับสนุนการใช้แพทย์ทางเลือก โดยทุกวันนี้ได้เล็งเห็นถึงการแพทย์แผนไทยที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ในการปฐมพยาบาล รักษาเบื้องต้น จึงให้ความสำคัญของการใช้สมุนไพร จากการสำรวจพบชุมนตำบลบาโงยซิแน ในปี 2566 มีการใช้สมุนไพรน้อยอยู่ ที่ 200 หลังคาเรือน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในการนำนำสมุนไพรในชุมชน มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการนำสมุนไพรในชุมชน มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ

40.00 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีผลิตภัณฑ์เพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะและอาการอื่นๆเบื้องต้นได้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้

ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผลิตเองเพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะและอาการอื่นๆเบื้องต้นไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนที่สนใจในพื้นที่ตำบลบาโงยซิแน

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท* 50 คน* 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท* 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมง 600 บาท* 5 ชม.เป็นเงิน 3,000 บาท
เป็นเงิน 9,000 บาท

-ค่าวัสดุ มีรายละเอียดดังนี้
1.ขวดแก้ว ขนาด 20 ml.พร้อมฝา 100 ชิ้น x 15 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
2.สมุนไพรแห้ง
-กานพลู
-กระวาน
-อบเชย
-ผิวมะกรูด
-โป๊ยกั๊ก
-ดอกจันทน์
-พิมเสน
-การบูร -เมนทอล
เป็นเงิน 3,800 บาท
*หมายเหตุ ทุกรายการสามารถ เฉลี่ยค่าใช้จ่ายได้ 3.ผ้าตาข่ายแข็ง 4 ผืน x 50 บาท เป็นเงิน 200 บาท
4.กระเป๋าผ้าพร้อมสกรีน 50 ใบ x 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
5.คู่มือสมุนไพร 50 เล่ม x 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
6.ปากกา 50 ด้าม x 10 บาท เป็นเงิน500 บาท
รวมเป็นเงิน 16,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในการนำสมุนไพรในชุมชน มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ/ ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการนำสมุนไพรในชุมชน มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ
2.เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีผลิตภัณฑ์ในการบรรเทาอาการต่างๆมาใช้ในชีวิตประจำวันได้/ ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผลิตเองไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการนำสมุนไพรในชุน มาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะและอาการอื่นๆเบื้องต้นได้
2.ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผลิตเองเพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะและอาการอื่นๆเบื้องต้นไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน


>