กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กเพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโงยซิแน

1.นางนิเด๊าะ อิแตแล
2.นางสาวรีณา ลักขณา
3.นางอาซ๊ะ อาลี
4.นางมาซนะ แวจิ
5.นางซูมาร์ณี สือลามะ

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

72.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

61.75
3 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

94.25
4 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด

 

33.96
5 อัตราทารกตายปริกำเนิด ไม่เกิน 9 ต่อพันการเกิดมีชีพ

 

0.00

การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้นั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง งานอนามัยแม่และเด็กเป็นองค์ประกอบและเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก เพื่อให้ประชากรมีคุณภาพดีได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาเริ่มจากการวางแผนครอบครัว การมีบุตรเมื่อพร้อม การดูแลครรภ์ตั้งแต่ เริ่มตั้งครรภ์ (ก่อน 12 สัปดาห์ ของอายุครรภ์) การดำเนินการตั้งครรภ์ที่ดี มีโภชนาการและพัฒนาการของทารกในครรภ์ที่ดี การคลอดที่ปลอดภัยและการเลี้ยงลูกหลังคลอดด้วยนมแม่เป็นกระบวนการวางรากฐานพัฒนาการเด็ก โดยได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอ พร้อมสร้างความรักความอบอุ่น และพัฒนาสมองของลูกตั้งแต่แรกเกิดลูกได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นตั้งแต่แรกเริ่มของการมีชีวิตด้วยการได้กินนมแม่และการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อครั้งแรกในห้องคลอด สายใยรักที่ถ่ายทอดสู่ลูกจะเป็นแรงบันดาลใจให้แม่ไม่ทอดทิ้งลูก เลี้ยงลูกด้วยความรักความอบอุ่นทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัย และเติบโตเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีสุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อปัญหาสังคมเมื่อเติบโตในอนาคต
จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ปี 2566 พบว่าหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 72.00 (เป้าหมาย ร้อยละ 75) ดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 61.76 (ร้อยละ60) อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางใกล้คลอดไม่เกินร้อยละ 10 ได้ร้อยละ 33.96 การดูแลมารดาและทารกหลังคลอด พบว่าร้อยละ 94.29 (เป้าหมาย ร้อยละ 65) อัตราทารกตายปริกำเนิด ไม่เกิน 9 ต่อพันการเกิดมีชีพร้อยละ 00.00 จำนวนทารกเกิดมีชีพ มีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 2.94 (ไม่เกินร้อยละ 7) ซึ่งยังมีตัวชี้วัดยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการฝากครรภ์ไม่ต่อเนื่อง ฝากครรภ์ช้า การบริโภคอาหารในหญิงมีครรภ์การทานยาบำรุงเลือดที่ไม่ต่อเนื่อง มารดาขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด มีพฤติกรรมการดูแลตนเองและการดูแลบุตร ยังไม่ถูกต้องเท่าที่ควร
ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน จะต้องเน้นถึงการส่งเสริมสุขภาพของแม่และเด็ก ในทุกๆด้านโดยเฉพาะการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ุ หญิงมีครรภ์ และหญิงดูแลบุตร เพื่อที่จะนำความรู้ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก เพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยปี 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

72.00 75.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

61.75 65.00
3 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น

94.25 95.00
4 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด ลดลง

33.96 20.00
5 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธฺและหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ และตระหนักในการดูแลสุขภาพในขณะก่อนตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ และหลังตั้งครรภ์ ได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจอยู่ในเกณฑ์ดี และปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ ในงานอนามัยแม่และเด็กโดยการจัดทำ แผ่นพับให้ความรู้ และสื่อต่างๆ
จัดนิทรรศการ ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ การมาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ภาวะซีดในระหว่างการตั้งครรภ์ การมาฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ การรับประทานยาบำรุงเลือด การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ อาหารที่ควรรับประทานขณะตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัวหลังคลอดบุตร
ค่าใช้จ่าย
- ค่าแผ่นพับ สื่อความรู้ จำนวน 300 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- วัสดุในการจัดนิทรรศการ จัดที่ รพ.สต จำนวน 3,000 บาท
รวม 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการฝากครรภ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เสวนากลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เสวนากลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องต่างๆของการฝากครรภ์ แก่หญิงมีครรภ์หญิงหลังคลอด หญิงวัยเจริญพันธ์ุ ผดุงครรภ์โบราณ จำนวน 1 วัน
ค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท* 60 คน* 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท 60 คน *1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมง 600 บาท 5 ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุและค่าใช้จ่ายในการอบรม (ปากกา สมุด แฟ้มใส่เอกสาร ค่าถ่ายเอกสารประกอบการบรรยาย เป็นต้น) เป็นเงิน 4,800 บาท
รวม 15,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการตั้งครรภ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงมีครรภ์ และมารดาหลังคลอด บุคคลในครอบครัว มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพ ด้านส่งเสริมสุขภาพ
2. สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองและบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้ ไปถ่ายทอด และเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป


>