กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาศักยภาพและทักษะบุคคล และเจ้าหน้าที่
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนาทักษะผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียง(ADL<11 คะแนน)
- การพัฒนาทักษะและเตรียมความพร้อมการก้าวสู่ “ผู้สูงอายุคุณภาพ”
- การนำศักยภาพผู้สูงอายุ เช่น การเล่านิทาน การปั้น การทำเครื่องเล่นพื้นบ้าน มาร่วมแก้ปัญหาสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การจัดระบบริการแบบใหม่
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนากิจกรรมและใช้หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุในมิติความร่วมมือชุมชนและศาสนา
- การปรับประยุกต์ใช้หลักสูตรด้านอาหารพื้นบ้านและแพทย์แผนไทยหรือประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านเพื่อดูแลสุขภาพจิต อารมณ์ผู้สูงอายุ
- การจัดรูปแบบบริการเชิงรุกเพื่อคัดกรองภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ เช่น คัดกรองตาต้อกระจก การมองเห็น เป็นต้น
- การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เช่น การใช้ภูมิปัญญาชุมชน ประเพณี เป็นต้น แก่กลุ่มและชมรมผู้สูงอายุ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
- การจัดบริการสาธารณสุขดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไม่จำกัดสิทธิของผู้สูงอายุ
- การจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ(Day care)
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาระบบและกลไกระบบดูแลผู้สูงอายุ
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนาทักษะแกนนำ อสม.เพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์
- แกนนำ อสม.เฝ้าระวังสุขภาพและเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
- การจัดทำระบบข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน
- การร่วมกับชุมชนในการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ
label_important
วิธีการสำคัญ
- การมีนโยบายของ อปท.เกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเป็นสังคมผู้สูงอายุ(ใช้งบกองทุนสุขภาพตำบลไม่ได้ แต่สามารถเสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนฟื้นฟูคนพิการ)
- การมีนโยบายสร้างความมั่นคงด้านการออมทรัพย์ผ่านกองทุนผู้สุงอายุ ร่วมกับ อปท.เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
stars
แนวทางดำเนินงาน : แก้ปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยง เพศสัมพันธ์
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ให้ความรู้ด้านเพศศึกษาและทักษะชีวิต แก่กลุ่มเด็กเยาวชน ผู้ปกครองและกลุ่มที่มีความเสี่ยง
2. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน สร้างแกนนำ/เครือข่าย
3. สร้างพื้นที่ทำกิจกรรมด้านสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมศิลปะ กีฬา เป็นต้น
4. การทำสื่อ ประชาสัมพันธ์
5. คลินิคแก้ปัญหาครอบครัว ช่วยให้แนวทางดำเนินชีวิต, กลไกการให้คำปรึกษา
6. ส่งเสริมการใช้หลักศาสนา ในการดำเนิชีวิต
stars
แนวทางดำเนินงาน : แก้ปัญหาเยาวชนที่มีเสี่ยงต่อการเป็นนักสูบหน้าใหม่ และมีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสูบ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
5. การค้นหาและทำฐานข้อมูลของผู้สูบในชุมชนที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
6. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน
7. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงานด้านการติดตามเยี่ยมเยียนผู้มารับบริการเลิกยาสูบให้สามารถเลิกได้สำเร็จ
8. การจัดบริการส่งต่อผู้สูบที่ไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพจากโรคหวัด
2. แกนนำอาสาสมัครด้านรู้เท่าทัน อ่านฉลากยาเป็น
3. การใช้สมุนไพรทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)
4. ร้านชำสีขาว คุ้มครองผู้บริโภค
stars
แนวทางดำเนินงาน : ส่งเสริมให้เยาวชนชายมุสลิมขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์
label_important
วิธีการสำคัญ
การจัดบริการขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดปัญหาสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การตรวจดูสารพิษตกค้างในกระแสเลือด
2. การแนะนำวิธีป้องกันสารเคมีทางการเกษตรและการใช้สารจากธรรมชาติทดแทนสารเคมี
3. การตั้งและดำเนินกิจกรรมกลุ่มเกษตรกรผักปลอดสารพิษ
4. การตรวจเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผัก โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข/ชมรม อย.น้อย
5. ประกาศหมู่บ้านปลอดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
6. การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้สามารถลดหรือเลี่ยงผักที่มีสารเคมีตกค้างทางการเกษตร
7. การปลูกผักปลอดสารพิษในเขตที่อยู่อาศัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
- จ้างเหมาพ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนัก
stars
แนวทางดำเนินงาน : การมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน เช่น การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้ การปลูกป่าชุมชน การปลูกต้นไม้ริมถนนเพื่อเป็นตัวกรองฝุ่นละออง
2. การจัดทำแนวป้องกันไฟ และการกำจัดเศษวัสดุ ขยะ ใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ริมทาง เพื่อไม่ให้มีเชื้อไฟและใช้เป็นแนวกันไฟ
3. การส่งเสริมการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อการจัดการไฟป่า การเผาพื้นที่การเกษตร ตามศักยภาพและบริบทของแต่ละพื้นที่
4. การส่งเสริมการเดินทางด้วยการเดินเท้า จักรยาน และรถโดยสารสาธารณะ
5. การสร้างหรือปรับปรุงทางจักรยาน เพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยจักรยาน ลดการใช้รถยนต์
6. การสร้างห้องปลอดฝุ่นสำหรับศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน สถานบริการสาธารณสุข
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ก่อนเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
- การให้ความรู้แก่ประชาชนและเกษตรกรในชุมชน รวมถึงชุมชนในประเทศเพื่อนบ้าน ถึงความสำคัญของป่า ผลกระทบที่เกิดจากไฟป่า การเผาในที่โล่งและหมอกควัน เพื่อลดการเผาในที่โล่ง
- การให้ความรู้แก่ประชาชนและเกษตรกรในชุมชน ด้านการจัดทำแนวป้องกันไฟ การกำจัดเศษวัสดุ ขยะ ใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ริมทาง เพื่อไม่ให้มีเชื้อไฟและใช้เป็นแนวกันไฟ
- การให้ความรู้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์ในชุมชนด้านการดูแล บำรุงรักษาเครื่องยนต์ขั้นพื้นฐาน เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องยนต์ ไม่ให้เสื่อมสภาพ ไม่เกิดควันดำ
- การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการตลอดจนผู้ปฎิบัติงานโรงงานอุตสาหกรรมในชุมชนด้านการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรืออุตสาหกรรมสีเขียว
- การสื่อสารชุมชนเพื่อการเข้าถึงข้อมูลสำหรับการติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยใช้ข้อมูลจากแอพพลิเคชั่น Air4Thai และเว็บไซต์ Air4Thai ของกรมควบคุมมลพิษ เว็บไซต์ www.cmuccdc.org (เครื่อง DustBoy) ของ ม.เชียงใหม่ หรือยักษ์ขาว ของ ม.แม่ฟ้าหลวง หรืออื่น ๆ ตลอดจนข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา
2. การดำเนินการระหว่างเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
- การสื่อสารถึงข้อมูลสถานการณ์ PM2.5 ที่ถูกต้อง เข้าใจง่าย และทันต่อสถานการณ์ให้แก่ชุมชน ผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น เสียงตามสายในชุมชน สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์
- การให้คำแนะนำประชาชนด้านการปฏิบัติตนและการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เช่น การสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น การลดเวลาหรืองดการทำกิจกรรมนอกบ้าน การเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้มีโรคประจำตัว
3. การพัฒนาทักษะของเกษตรกรในการแปรรูปเศษวัสดุการเกษตร (ข้าว ข้าวโพด และอ้อย) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การทำปุ๋ยหมัก การใช้เป็นอาหารสัตว์ การแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
4. การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน กิจกรรมการเรียนที่สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับฝุ่นละออง แหล่งกำเนิด และการจัดการฝุ่นละออง PM2.5
5. การจัดทำสื่อ คลิป หนังสั้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลด้านฝุ่นละออง ที่มีความชัดเจนและเข้าใจง่ายให้ประชาชนได้รับทราบ
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระบบและกลไกด้านการจัดการฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ รวมถึงพัฒนาคนในชุมชนให้สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ (การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง และหมอกควัน)
2. การจัดกลไกเฝ้าระวังจุดเสี่ยงในการเกิดไฟป่า
3. การจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครชุมชน หรือชุดปฏิบัติการระดับชุมชน เพื่อการสื่อสาร การเฝ้าระวัง และการดับไฟกรณีการเกิดไฟป่า หรือการเผาในพื้นที่โล่ง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ป้องกันภัยอำเภอ
4. การพัฒนาระบบกำกับติดตามการปฏิบัติตามที่กฎหมายหรือหน่วยงานกำหนดโดยชุมชนมีส่วนร่วม เช่น การควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด การไม่ให้มีการเผาในไร่อ้อย
5. การสร้างชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์ป่าไม้ ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในพื้นที่เกษตร และหมอกควัน
6. การเปิดคลินิกมลพิษและห้องปลอดฝุ่นในสถานบริการสาธารณสุขช่วงเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
stars
แนวทางดำเนินงาน : การทำกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสำรวจและจัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าและการเผาในที่โล่งในชุมชน
2. การจัดให้มีการซ้อมแผน การเผชิญเหตุระดับชุมชน
3. การสร้างแกนนำในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การมีนโยบายสาธารณะหรือกติกาชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกา ธรรมนูญของชุมชน ในการห้ามการเผาป่า การเผาในพื้นที่การเกษตร และการเผาในที่โล่ง
2. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกา ธรรมนูญของชุมชนในการลดมลพิษทางอากาศจากการคมนาคมขนส่ง เช่น การเดินหรือขี่จักรยานแทน การเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การใช้รถร่วมกัน หรือ Car pool อย่างทางเดียวกันไปด้วยกัน
3. การสร้างแนวปฏิบัติในการควบคุมฝุ่นละอองจากการก่อสร้างของชุมชน
4. การเจรจาเพื่อทำข้อตกลงร่วมระหว่างชุมชนในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ในการห้ามการเผาป่า การเผาในพื้นที่การเกษตร และการเผาในที่โล่ง