กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตูหยง

รพ.สต.ตูหยง ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

50.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

50.00
3 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

70.00

ภาวะโลหิตจางเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่ส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง เกิดจากหลายสาเหตุทั้งความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ภาวะขาดสารอาหารและโรคติดเชื้อ โดยพบบ่อยที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุสำคัญของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ คือ การขาดสารอาหารจากธาตุเหล็กและกรดโฟลิก (ชลธิชา ดานา, 2560) ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก เช่น มารดาเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ทารกเสี่ยงต่อคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม หญิงตั้งครรภ์ที่่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดในระหว่างคลอด และมีโอกาสติดเชื้อในระยะหลังคลอดสูง พัฒนาการไม่สมบูรณ์ และภาวะตายในครรภ์ ฯลฯ จากรายงานของงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่าสาเหตุการตายของมารดา อันดับหนึ่ง คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียใต้ พบได้มากสุดถึงร้อยละ 65 (WHO, 2019: Online) ในประเทศไทย ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2561 – 2563 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2561-2562 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 16.06 และ 16.43 ตามลำดับ (HDC,2563) กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้มีการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็กและให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร การดูแลและการส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ ทำให้ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2563 ลดลง เป็นร้อยละ 15.15 อย่างไรก็ตาม แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 กำหนดเป้าหมายให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานแม่และเด็กปี 2566 ของ รพ.สต.ตูหยง อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอดเท่ากับร้อยละ 16.36 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดแต่เนื่องจากภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก การตกเลือดหลังคลอดและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาได้มีนโยบาย ลดแม่ตายโดยเน้นระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอดทางดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตูหยง ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดจึงได้จัดทำโครงการ “ป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ประจำปี 2567” ขึ้น เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยเด็กสุขภาพดีและมีพัฒนาการสมวัยโดยดึงพลังแกนนำของประชาชนโดยแกนนำสุขภาพบุคคลใกล้ชิด ให้มีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ลูกมีภาวะสมบูรณ์ แข็งแรง และมีพัฒนาการสมวัย

1.อัตราเด็กเกิดไร้ชีพเป็น 0 2.น้ำหนักแรกคลอดไม่ต่ำกว่า2,500 กรัม

0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเฝ้าระวังเมื่อมีภาวะเสี่ยงและได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที

1.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางน้อยกว่า  ร้อยละ 10 2.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์มากกว่า    ร้อยละ 90 3.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อพบสูติแพทย์  ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ สามีและ ญาติ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ ระยะก่อนคลอด และระยะหลังคลอด

หญิงตั้งครรภ์ สามี และญาติ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ ระยะก่อนคลอด และระยะหลังคลอดร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 จัดทําโครงการเพื่อขอนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตําบลปากบาง 1.2 ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น และแกนนำสุขภาพร่วมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุประสงค์และหารือแนวทางการดำเนินงาน 1.3 ร่วมกันประชุมวางแผน กําหนดเป้าหมายจํานวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดําเนินงานโครงการ - สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ - กําหนดแนวทางการดําเนินงานแต่ละกิจกรรม - แบ่งบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบ - จัดทำสื่อต่างๆ และเตรียมอุปกรณ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ สามี ครอบครัว มีความรู้ในการดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด และสามารถบันทึกการรับประทานยา การรับประทานอาหารและมีภาวะโลหิตจางลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อ-แม่ เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ การรับประทานยาบำรุงการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีและให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและเมนูอาหารเสริมธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด - ค่าอาหารกลางวันในการอบรมจำนวน 60 คน X 70 บาทเป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าอาหารว่างในการอบรม จำนวน 60 คนX 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าคู่มือการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดโดยเพิ่มเมนูอาหารป้องกันภาวะโลหิตจางและแบบบันทึกการรับประทานยาและแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจและถุงผ้า จำนวน 60 ชุด ชุดละ 150 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรอบรมจากหน่วยงานในอำเภอเทพา ชั่วโมงละ 600 บาทx 7 ชั่วโมง เป็นเงิน 4,200 บาท - ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ป้ายละ 500 บาท จำนวน1 ป้ายเป็นเงิน 500 บาท กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “รักนี้ ไม่มีวันจาง”ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ซีด (ความเข้มข้นของเลือด น้อยกว่า 33% และเสี่ยงซีด (ความเข้มข้นของเลือด 33 – 35.9 % ) โดยเชิญหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวที่สามารถแก้ไขภาวะโลหิตจางได้สำเร็จ มาเล่าเคล็ดลับดีๆในการดูแลตนเองให้พ้นจากภาวะเลือดจางและสรุปบทเรียนที่ได้มาเป็นแนวทางปฏิบัติในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และแสดงความยินดีกับหญิงตั้งครรภ์ กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดโดยเจ้าหน้าที่และอสม. จำนวน 70 คน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ -ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เหมาจ่าย วันละ 200 บาท จำนวน 10 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
ประเมินผลการดําเนินงาน
- สรุปผลสุขภาวะของหญิงตั้งครรภ์และรวบรวมข้อมูลหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมในแต่ละครั้ง - ประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม หลังสิ้นสุดโครงการ โดยใช้แบบสอบถาม - ประเมินผลตามตัวชี้วัดของงานอนามัยแม่และเด็ก สรุปผลการดําเนินงาน สรุปตามแผนงานโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตําบลปากบาง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ โดยเจ้าหน้าที่และอสม.เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจแก่หญิงตั้งครรภ์ และครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ ฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และได้คลอดในโรงพยาบาล
-หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลตลอดระยะของการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
-หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ได้รับการควบคุมและป้องกันแก้ไข ไมให้เกิดภาวะ ตกเลือดหลังคลอด และภาวะคลอดก่อนกําหนด
-หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้
-เพื่อให้ชุมชนและทุกคนในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีเกิดสายใยรักครอบครัว


>