กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์อันตรายในชุมชน ตำบลปากบาง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตูหยง

พื้นที่หมู่ที่ 1,2,3,6,8 ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

 

50.00

ปัจจุบันกระแสรักสุขภาพและการใส่ใจดูแลสุขภาพของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญในการดูแลเชิงป้องกันและเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายมากขึ้น ผลิตภัณฑ์สุขภาพจึง เป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อสุขภาพอนามัย รวมถึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนเป็นผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยอันอาจทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายหรือไม่ปลอดภัยในการบริโภคซึ่งถือเป็นภารกิจหนึ่งที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องส่งเสริมผู้บริโภคให้มีความรู้ และมีศักยภาพในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่าง ปลอดภัย และคุ้มค่า รวมทั้งการ สร้างความตระหนัก โดยให้ผู้บริโภครู้ถึงอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย และการบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างไม่เหมาะสม
สถานการณ์การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของตำบลปากบาง มีการเยี่ยมประเมินร้านชำมาอย่างต่อเนื่อง จนในปี 2567 มีร้านชำผ่านเกณฑ์ 27 ร้าน จากร้านชำทั้งสิ้น 32 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 84.37 แต่กลับพบว่า ยังพบปัญหาการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สงสัยไม่ปลอดภัยในชุมชน ในโรงเรียน ตลอดจนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ ได้แก่ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ยาแผนโบราณที่ไม่มีเลขทะเบียนยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง และจากข้อมูลการเยี่ยมบ้าน ปี 2566 จำนวน 67 หลัง พบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สงสัยไม่ปลอดภัย ร้อยละ 10.44 ซึ่งส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและป่วยโรคเรื้อรัง
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตูหยง ได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้บริการด้านสุขภาพและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ไม่ว่าเป็นอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งการ สร้างความตระหนัก โดยให้ผู้บริโภครู้ถึงอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย และการบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างไม่เหมาะสม สามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย เพื่อการมีสุขภาพที่ดีโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และเป็นตัวอย่างการดำเนินงานให้กับพื้นที่อื่นๆต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 53
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การดำเนินงานพัฒนาทีมนำเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินงานพัฒนาทีมนำเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 การดำเนินงานพัฒนาทีมนำเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ในชุมชน 4.1.1 อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพเครือข่าย อสม. นักเรียน อย.น้อย และสร้าง อสม.นักวิทย์
จำนวน 73 คน ดังนี้ - อสม. คุณครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน 3 แห่ง จำนวน53คน
- เครือข่ายสุขภาพระดับรพ.สต. (ผู้นำศาสนา/ผู้นำชุมชน/อบต.)จำนวน20คน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 73 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,650 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 73 คน x 70 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 5,110 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร 1 คน x 600 บาท x 7 ชั่วโมง เป็นเงิน 4,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • สามารถพัฒนาศักยภาพของคณะอนุกรรมการเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
  • สามารถพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความเข้มแข็ง และร่วมเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนอย่างยั่งยืน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12960.00

กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน - ศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนทุกหมู่และโรงเรียนทุกแห่งในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.ตูหยง จำนวน7แห่ง - ค่าป้ายศูนย์แบบโฟมบอร์ด จำนวน 6 แผ่น x 350 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท - ค่าเอกสารอบรม จำนวน 73 ชุด x 40 บาทเป็นเงิน 2,920 บาท - ค่าชุดทดสอบอย่างง่ายจำนวน 3 ชุด x 800 บาท เป็นเงิน2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถจัดการเฝ้าระวังเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7420.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,380.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>