กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลแม่ขรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่นับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ผู้ที่ติดเชื้อหากแสดงอาการแล้วต้องเสียชีวิตทุกราย แต่โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ที่ครบชุดตามกำหนดนัด โดยกลุ่มประเทศในสมาชิกอาเซียนกำหนดไว้ให้พื้นที่ในภูมิภาคปลอดโรคพิษสุนัขบ้าในปี พ.ศ.2563 ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดขององค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ยังพบโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและในสัตว์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงร่วมกับกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดภายในปี พ.ศ.2563 เพื่อให้เป็นแผ่นแม่บทในการป้องกันควบคุม และกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันควบคุมโรคพาสุนัขบ้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและไม่พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศ
ในปี 2566 มีการตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้าในสุนัขหัวบวกในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ซึ่งทางเทศบาลตำบลแม่ขรีและโรงพยาบาลตะโหมดได้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคมาอย่างต่อเนื่อง ในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน ไม่ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ให้กับแกนนำในชุมชน เพื่อคอยเฝ้าระวังและแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับหน่วยงานสาธารณสุข ในปี 2566 กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้สัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ให้แก่ผู้นำชุมชน ประชาชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจ การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและการดูแลตนเอง

ประชาชนได้รับความรู้เรื่องโรคพาสุนัขบ้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่นับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ผู้ที่ติดเชื้อหากแสดงอาการแล้วต้องเสียชีวิตทุกราย แต่โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ที่ครบชุดตามกำหนดนัด โดยกลุ่มประเทศในสมาชิกอาเซียนกำหนดไว้ให้พื้นที่ในภูมิภาคปลอดโรคพิษสุนัขบ้าในปี พ.ศ.2563 ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดขององค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ยังพบโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและในสัตว์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงร่วมกับกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดภายในปี พ.ศ.2563 เพื่อให้เป็นแผ่นแม่บทในการป้องกันควบคุม และกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันควบคุมโรคพาสุนัขบ้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและไม่พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศ
ในปี 2566 มีการตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้าในสุนัขหัวบวกในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ซึ่งทางเทศบาลตำบลแม่ขรีและโรงพยาบาลตะโหมดได้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคมาอย่างต่อเนื่อง ในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน ไม่ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ให้กับแกนนำในชุมชน เพื่อคอยเฝ้าระวังและแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับหน่วยงานสาธารณสุข ในปี 2566 กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลตะโหมด จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้สัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ให้แก่ผู้นำชุมชน ประชาชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/01/2024

กำหนดเสร็จ 16/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ขั้นเตรียม

ชื่อกิจกรรม
1.ขั้นเตรียม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วางแผนโครงการ นำเสนอโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
2.ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า
2.ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนรับทราบปัญหาและรู้วิธีป้องกัน งบประมาณ
ค่าวิทยากร 600 บ.x1 คน = 1,800บ. ค่าอาหารว่าง25 บ x 50 คน = 1,250 บ.

ค่าไวนิล ขนาด 1.2x 2.88 ม. = 2,000 บ. ค่าจ้างถ่ายเอกสาร 1,000 แผ่น = 500 บ. รวม 5,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 1 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 3 3.ขั้นสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
3.ขั้นสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-สรุปรายงานผลเป็นรูปเล่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 16 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าและแนวทางการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ของตนเอง เพิ่มขึ้นร้อยละ 80


>