กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฉาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดหวาน ลดโรค ด้วยน้ำสมุนไพรเพื่อควบคุมและป้องกันโรคเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฉาง

แรงงานนอกระบบตำบลฉาง

1.นางอ้ามิเหน๊าะ เพอเเสละ (0855316038)
2.นางมารียาม หลำตำ
3.นางร้อหม๊ะ ยีกับจี
4.นางสาวฮ้ามีด๊ะ หลำตำ
5.นางพรรณี ฤิทธิ์นาคสุวรรณ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่

 

5.00
2 จำนวนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

 

26.00

ปัจจุบันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของตำบลฉางและมีเเนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี จากการรายงานสถานการณ์โรคเรื้อรังของตำบลฉาง ในปี 2567 มีจำนวนประชากรที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 2,680 คน พบผู้ป่วยด้วยโรค
เบาหวานรายใหม่จำนวน 5 คน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 26 คน พบว่าการดำเนินชีวิตของประชาชนได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ประชาชนขาดการดูแลสุขภาพของตนเอง มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม บริโภคอาหารที่มีไขมันสูง รสชาติหวานและเค็มจัด บริโภคผักเเละผลไม้น้อยตลอดจนการขาดการออกกำลังกาย ส่งผลทำให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง การที่ชุมชนเห็นปัญหา สามารถวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน นำไปสู่การวางแผนและการจัดกิจกรรมต่างๆในการที่จะลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆลง อันจะนำไปสู่การป้องกันการเกิดโรคใหม่ในระยะยาว เพื่อลดปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งเเต่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน
กลุ่มแรงงานนอกระบบตำบลฉาง จึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดหวาน ลดโรค ด้วยน้ำสมุนไพรเพื่อควบคุมและป้องกันโรคเรื้อรัง เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนในตำบลฉางที่เสี่ยงต่อเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้และมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงได้รับการกระตุ้น ส่งเสริม และสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคเบาหวานเเละโรคความดันโลหิตสูงสามารถดูตนเอง คนในครอบครัวและชุมชนได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดร้อยละของการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่

ร้อยละของการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ลดลงร้อยละ 10 (เมื่อเทียบกับร้อยละของการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ในปีที่ผ่านมา)

5.00 4.00
2 เพื่อลดร้อยละของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

ร้อยละของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงร้อยละ 10 (เมื่อเทียบกับร้อยละของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ในปีที่ผ่านมา)

26.00 23.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรค DM หรือ HT 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดเลือกและรับสมัครประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง(ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป)โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
คัดเลือกและรับสมัครประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง(ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป)โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดเลือกและรับสมัครประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง(ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป)โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง(ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป)โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตามที่กำหนดไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 วัดระดับน้ำตาลในกระเเสเลือดและระดับความดันโลหิตแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
วัดระดับน้ำตาลในกระเเสเลือดและระดับความดันโลหิตแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัดระดับน้ำตาลในกระเเสเลือดและระดับความดันโลหิตแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 1 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการวัดระดับน้ำตาลในกระเเสเลือดและระดับความดันโลหิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเเละโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเเละโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเเละโรคความดันโลหิตสูง - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน คนละ 6 ชั่วโมง ชั่วงโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 65 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท - ค่าเอกสารในการอบรม จำนวน 60 เล่ม เล่มละ 20 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าเครื่องเขียนสำหรับการอบรม (ปากกา,สมุด,แฟ้ม) จำนวน 60 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าวัสดุอุกรณ์ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ (มะขามเปียก(150 บาท),ดอกอัญชัน(100 บาท),ตะไคร้ (100 บาท),กระเจี๊ยบ(100 บาท),น้ำตาลทราย(245 บาท),เกลือป่น(20 บาท),น้ำเปล่า(20 บาท),ขวดพลาสติก(630บาท),ถุงขนาด4.5x7นิ้ว(50 บาท)ถุงหูหิ้วขนาด6x14นิ้ว(100 บาท),ยางวง(30 บาท),ส้มเเขก(100)) เป็นเงิน 1,645 บาท - ค่าป้ายๆไวนิล เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2567 ถึง 20 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14945.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,945.00 บาท

หมายเหตุ :
- รายการทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมาะสม
- วัน เวลา และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมสามาเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานเเละโรคความดันโลหิตสูงในตำบลฉางลดลงจากปีที่ผ่านมา


>