กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ชุมชนใต้ม่วงสามัคคี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

ชุมชนใต้ม่วงสามัคคี

1.น.ส.นัทธ์กัญญ์ สัมผัสนพพร
2.นางเสริมศิริ ศรุติรัตน์วรากุล
3.น.ส.สรารี ทองเกตุ
4.นางอุทัยวรรณ พงค์พานิช
5.น.ส.ปฏิมา รักประสูติ

ชุมชนใต้ม่วงสามัคคี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

3.00
2 จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

402.00

ประชาชนจำนวนมาก มีความจำเป็นต้องเดินทางไปทำงาน ไปสถานศึกษาด้วยตนเองในรูปแบบต่างๆ ทั้งเดินเท้า ขับขี่รถ โดยสารรถประจำทาง ซึ่งล้วนแต่มีความเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนนทั้งสิ้น และที่นิยมมากและเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุสูงก็คือ การขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ซึ่งบางคนมีพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ เช่น ขาดประสบการณ์และทักษะในการขับขี่ ประมาทเมาแล้วขับ ไม่เคารพกฎจราจร ขาดจิตสำนึกในการใช้รถใช้ถนน ไม่ใส่ใจในความปลอดภัยของตนเองและเพื่อนร่วมทาง พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้การเกิดอุบัติเหตุ เทศบาลเมืองพัทลุงพบปัญหาการสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนมีอัตราเพิ่มขึ้น ทุกๆ ปี โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้รถจักยานยนต์ ในปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิต 3 คน จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ จำนวน 402 คน และในช่วงเทศกาลจะพบว่ามีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทุกๆ ปี
ดังนั้นอสม.ชุมชนใต้ม่วงสามัคคีเล็งเห็นถึงปัญหาการสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางถนน โดยจัดกิจกรรมต่างๆ เช่นการจัดการเรียนรู้ในด้านการใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้องปลอดภัย การปลูกจิตสำนึกและสร้างวินัยการจราจร ให้แก่ประชาชนชุมชนใต้ม่วงสามัคคีเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเฝ้าระวังและลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3.00 0.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

402.00 200.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องกฎจราจรและการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้อง และการตรวจสภาพรถ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องกฎจราจรและการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้อง และการตรวจสภาพรถ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะความรู้เกี่ยวกับวินัยจราจร และตรวจสภาพรถ 1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆละ 60 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,800 บาท 2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,500 บาท3.ค่าเอกสารประกอบการอบรม ชุดละ 20 บาท จำนวน25 ชุด เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน 4,400 บาท 4. ค่าวัสดุในการตรวจสภาพรถ จำนวน 1,000 บาท (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2567 ถึง 4 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติขณะใช้รถใช้ถนน สภาพรถมีความพร้อมใช้งาน ลดการเกิดอุบัติเหตุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์การใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย ด้วยการสวมหมวกนิรภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์การใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย ด้วยการสวมหมวกนิรภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 กิจกรรมขับขี่ปลอดภัยโดยสวมหมวกนรภัย ค่าหมวกนิรภัย จำนวน 25 ใบ ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท ค่าอาหารว่าง วันรณรงค์จำนวน 25 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 625 บาท ค่าป้ายรณรงค์ จำนวน 7 ป้าย เป็นเงิน 1,475 บาท (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 เมษายน 2567 ถึง 11 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนนและสร้างวินัยจราจรให้กับประชาชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติขณะใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย
2.ปลูกจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนนและสร้างวินัยจราจรให้กับประชาชน
3.สภาพรถมีความปลอดภัย พร้อมใช้งานลดการเกิดอุบัติเหตุได้


>