กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมหนูน้อยรักสุขภาพ กินผักปลอดสารพิษ ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กปฐมวัย ถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต แต่ในปัจจุบันเด็กปฐมวัยไม่ค่อยชอบทานผัก หรือถ้าหากได้ทานผัก ผักส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะซื้อมาจากตลาด ทำให้เด็กอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาห

 

1.00

เด็กปฐมวัย ถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต แต่ในปัจจุบันเด็กปฐมวัยไม่ค่อยชอบทานผัก หรือถ้าหากได้ทานผัก ผักส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะซื้อมาจากตลาด ทำให้เด็กอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหารผัก ที่ไม่ปลอดภัยไม่ปลอดสารพิษ ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้แนะแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายที่กระตุ้นให้เด็ก และผู้ปกครอง ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลสุขภาพที่สามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมกิจกรรมทางสุขภาพที่มีความหลากหลายวิธีควบคู่กันไป จะช่วยสร้างโอกาสให้สุขภาพเด็กไทยได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัย เด็กปฐมวัยในช่วง อายุตั้งแต่ 3-5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ไม่ชอบรับประทานผักและการที่เด็กไม่ชอบกินผักถือเป็นปัญหาที่แก้ยากสำหรับเด็กวัยนี้ ดังนั้น ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบาโด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมหนูน้อยรักสุขภาพกินผักปลอดสารพิษ เป็นการใช้วิธีการปลูกฝังนิสัยรักการกินผัก โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก ให้เด็กได้มีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติจริง แล้วนำผักเด็กปลูกเองมาทำอาหารให้เด็กรับประทานร่วมกันและก็มีส่วนร่วมในการปรุงอาหารด้วย จะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง และส่งผลให้เด็กมีความรักการกินมากยิ่งขึ้น เพื่อนำผลผลิตที่ได้มาทำเป็นอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนได้รับประทานทุกวัน ทำให้นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารผิด เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ตลอดมีสุขอนามัยที่ดีทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนชอบที่จะรับประทานผักมากขึ้น ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

ร้อยละ 100 นักเรียนชอบที่จะรับประทานผักมากขึ้น ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

155.00 1.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการด้านน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

ร้อยละ 90 นักเรียนมีภาวะโภชนาการด้านน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

155.00 1.00
3 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ

ร้อยละ 100 นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ

155.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 75
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วิธีดำเนินการ 1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการทำโครงการ 2. จัดเตรียมข้อมูล/สถานที่/ความพร้อม 3. แจ้งแผนการปฏิบัติงานตามโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 4. ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ 5. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ 6. สรุปและรายงานผลกา

ชื่อกิจกรรม
วิธีดำเนินการ 1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการทำโครงการ 2. จัดเตรียมข้อมูล/สถานที่/ความพร้อม 3. แจ้งแผนการปฏิบัติงานตามโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 4. ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ 5. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ 6. สรุปและรายงานผลกา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จำนวน 19,180.- บาท รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร เป็นเงิน800 บาท 2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 155 คนๆ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 7,750 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 5.เห็ดนางฟ้า
5.1 ขี้เลื่อย จำนวน 100 กิโลกรัมๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 200 บาท 5.2 คอขวด จำนวน 150 ชิ้นๆละ 1 บาทเป็นเงิน 150 บาท 5.3 ฝาจุก จำนวน 150 ชิ้นๆละ 1 บาท เป็นเงิน 150 บาท 5.5 ดีเกลือ จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 50 บาท เป็นเงิน50 บาท 5.6 ยิปซั่ม จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 50 บาท เป็นเงิน50 บาท 5.7 อาหารเสริม จำนวน 2 กิโลกรัมๆละ 50 บาทเป็นเงิน 100 บาท 5.8 ปูนขาว จำนวน 3 กิโลกรัมๆละ 20 บาท เป็นเงิน60 บาท 5.9 รำละเอียดจำนวน 10 กิโลกรัมๆละ 20 บาท เป็นเงิน 200 บาท 5.10 ตะเกียงไฟ จำนวน 2 อันๆละ 200 บาทเป็นเงิน400 บาท 5.11 แอลกอฮอล์ 70 จำนวน 1 ขวดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 100 บาท 5.12 แอลกอฮอล์ 95 จำนวน 1 ขวดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 100 บาท 5.13 ถุงเพาะเห็ด จำนวน 2 กิโลกรัมๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 200 บาท
5.14 เชื้อเห็ดนางฟ้า จำนวน 5 ขวดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน150 บาท
5.15 ช้อนตักขี้เลื่อย จำนวน 6 คันๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 180 บาท
6. เมล็ดพันธุ์พืช จำนวน30 ห่อๆ ละ30 บาท เป็นเงิน 900 บาท 7. ตาข่ายสำหรับพืชไม้เลื้อย จำนวน1 ม้วนๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 150 บาท 8. คราด จำนวน2 อันๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท 9. ดินถุง/ดินปลูก จำนวน40 ถุงๆ ละ35 บาท เป็นเงิน1,400 บาท 10. แกลบ จำนวน2 ถุงๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน90 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น19,180 บาท (เงินหนึ่งหมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยแปดสิบบาทถ้วน) หมายเหตุ : รายการใดไม่พอจ่ายให้ถัวเฉลี่ยจากรายการอื่นได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนชอบที่จะรับประทานผักมากขึ้น ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19180.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,180.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนชอบที่จะรับประทานผักมากขึ้น ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
2. นักเรียนมีสุขภาวะโภชนาการน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณ์มาตรฐาน
3. นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ


>