กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชมรมสูงอายุสูงวัย ใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

รพ.สต.ต.บ้านควน

1.นางสุพิชชา หมาดสกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ผู้รับผิดชอบโครงการ
2.นางปทุมมาศ โลหะจินดา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
3.นางวัชรี บินสอาด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4.นส.โสภิตรา นารีเปน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
5.นส.นุสรัตน์ นุ่งอาหลี ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

ห้องประชุม รพ.สต.ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุ มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง

 

60.00
2 ส่งเสริมให้มี การดำเนินกิจกรรมของ ผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง ในชุมชนตั้งแต่การ ส่งเสริมสุขภาพ การเยี่ยมกันเองในกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วย และการดูแลซึ่งกันและกันระยะยาว

 

50.00

จำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีสภาพร่างกายที่เสื่อมและถดถอยลงเป็นไปตามกาลเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรักและความอบอุ่น ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยวและดำเนินชีวิตเพียงลำพัง สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจและค่านิยมต่างๆ เป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ดูแลสุขภาพของตนเองของผู้สูงอายุ จำเป็นต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลือเพื่อให้เขาเหล่านั้นได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอแล้ว ผู้สูงจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น การที่มีชมรมนี้เพื่อที่จะได้เป็นแหล่งพบปะของผู้สูงอายุ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ ลดความรู้สึกการโดนทอดทิ้งการอยู่อย่างโดดเดี่ยวและดำเนินชีวิตเพียงลำพังลง ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) ในผู้สูงอายุ

ร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) ในผู้สูงอายุ

90.00 95.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง

ร้อยละ 85 ผู้สูงอายุ มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง

60.00 85.00
3 ส่งเสริมให้มี การดำเนินกิจกรรมชมรมของ ผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง ในชุมชนตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ การเยี่ยมกันเองในกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วย และการดูแลซึ่งกันและกันระยะยาว

ร้อยละ 70 ส่งเสริมให้มี การดำเนินกิจกรรมชมรมของ ผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง ในชุมชนตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ การเยี่ยมกันเองในกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วย และการดูแลซึ่งกันและกันระยะยาว

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 การตรวจคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) และการตรวจคัดกรองผู้สูงอายุที่พึงประสงค์ ในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 การตรวจคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) และการตรวจคัดกรองผู้สูงอายุที่พึงประสงค์ ในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1 การตรวจคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) และการตรวจคัดกรองผู้สูงอายุที่พึงประสงค์ ในผู้สูงอายุ
1.รวบรวมข้อมูลผู้สูงอายุ
2.การตรวจคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) และการตรวจคัดกรองผู้สูงอายุที่พึงประสงค์ ในผู้สูงอายุ ผ่านระบบ JHCIS และ 3 หมอ
3.บันทึกข้อมูล และจัดทำทะเบียนผู้สูงอายุ ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง ขึ้นทะเบียน LTCเสนอ สปสช. และกรมอนามัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) ในผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการ โครงการชมรมสูงอายุสูงวัย ใส่ใจสุขภาพ
เวลา 08.00 น. – 08.30 น. ลงทะเบียน
เวลา 08.30 น.-09.00 น. เปิดโครงการโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
เวลา 09.00 น. – 09.30 น. ให้ความรู้เรื่อง อารมณ์ในผู้สูงอายุ
เวลา 09.30 น. – 10.00 น. ให้ความรู้เรื่อง อาหารในผู้สูงอายุ
เวลา 10.00 น. – 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
เวลา 10.15 น. – 12.00 น. ให้ความรู้เรื่อง อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ และโรคต่างๆในผู้สูงอายุ
เวลา 12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 น. – 15.00 น. กิจกรรมการทำพิมเสน
เวลา 15.00 น. – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
เวลา 15.15 น. – 16.00 น. ชี้แจงกิจกรรมชมรมสูงอายุ
เวลา 16.00 น. – 16.30 น. ซักถามปัญหาข้อสงสัย

งบประมาณ
จัดอบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุ ในผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้(ติดสังคม) จำนวน 80 คน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น
1.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆ ละ 60 บาทเป็นเงิน 4,800 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,800 บาท
3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 รุ่น เป็นเงิน 2,400 บาท
4.ค่าอุปกรณ์การทำพิมเสน รุ่นละ5,000 บาท จำนวน 2 รุ่น เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 85 ผู้สูงอายุ มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22000.00

กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมให้มีการดำเนินกิจกรรมชมรมของ ผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง ในชุมชนตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ การเยี่ยมกันเองในกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วย และการดูแลซึ่งกันและกันระยะยาว

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 70 ส่งเสริมให้มีการดำเนินกิจกรรมชมรมของ ผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง ในชุมชนตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ การเยี่ยมกันเองในกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วย และการดูแลซึ่งกันและกันระยะยาว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีของทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
2.ผู้สูงอายุได้ร่วมกิจกรรม มีการพบปะพูดคุยมีกำลังใจ สร้างความรัก ความอบอุ่น ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สูงอายุกับคนทุกวัยให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
3.แกนนำผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม จะสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ให้กับผู้สูงอายุรายอื่น ให้มองเห็นคุณค่า ประโยชน์ของการได้เข้าร่วมกิจกรรม เกิดการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุที่ติดบ้านอยากออกมาพบปะเพื่อนวัยเดียวกัน ลดความเครียด คลายความเหงา และมีความสุข มองเห็นคุณค่าของตนเอง


>