กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ศาสนบำบัดเพื่อแก้ปัญหายาเสพติด ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

คณะกรรมการบาลายเซาะห์หลังสถานีรถไฟ บ้านตาแปด

1.นายมานะฮ์ สาและ
2.นายอับดุลเลาะห์ สะแลแม
3.นายมูฮำหมัด สาแล๊ะ
4.นายหนิดอเล๊าะ หนิเต๊ะ
5.นายสมศักดิ์ สาแล๊ะ

พื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านตาแปด และพื้นที่ใกล้เคียง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชนที่รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

 

52.39
2 ร้อยละของการสร้างผู้นำเยาวชน ในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษา และชุมชน

 

30.56

เยาวชน คืออนาคตของชาติปัจจุบันสังคมไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤต จากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่ได้เริ่มแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่าวิตก การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน เป็นผลให้เยาวชน หลงผิดเข้าสู่วงจรของการซื้อขายและเสพยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการทำลายทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นอนาคตและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศให้ด้อยคุณภาพ อันจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นภาระงบประมาณของประเทศในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากการเสพยาเสพติด อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่สร้างความรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และปัญหายาเสพติดได้นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและอาชญากรรมต่างๆในสังคมเช่น การลักขโมย ฉกชิงวิ่งราวและการก่อปัญหาอาชญากรรมอื่นๆตามมาอีกมากมาย ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งปัจจุบันนี้รัฐบาลได้มีนโยบายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน คือ 1. รั้วชายแดน2. รั้วชุมชน 3. รั้วสังคม4. รั้วครอบครัว และ 5. รั้วโรงเรียนซึ่งจากทั้ง 5 รั้วป้องกันนี้ จะเห็นได้ว่า รั้วเยาวชน และรั้วโรงเรียน เป็นยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นรากฐานและเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ
คณะกรรมการบาลายเซาะห์หลังสถานีรถไฟตาแปด ม.5ต.ปากบางได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเห็นว่าทุกภาคส่วนของสังคมควรมีบทบาทในการแก้ปัญหาร่วมกัน การปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานภาครัฐรับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียวไม่เพียงพอ และจะทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจึงได้จัดโครงการ“ศาสนบำบัดเพื่อแก้ปัญหายาเสพติด xu 2567 ”ขึ้น โดยจัดกิจกรรมเข้าค่ายเอี๊ยะติกาฟ10 วัน สุดท้ายในเดือนรอมฎอน ขึ้น การเอี๊ยะติกาฟคือการรวมกลุ่มในมัสยิดในห้วง10วัน สุดท้าย ในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐ เพื่อทบทวนหลักคำสอน หลักการปฏิบัติในศาสนาอิสลาม นำมาใช้ในชีวิตประจำวันและมีการเรียนการสอนจากผู้นำศาสนาในชุมชนตามตารางเวลาที่กำหนด โดยเน้นการให้ความรู้ด้านการป้องกันสารเสพติดในกลุ่มเยาวชนและผู้ปกครอง ที่ เข้าค่ายเอี๊ยะติกาฟจำนวน25คนทั้งนี้เพื่อนำสังคมไทยไปสู่สังคมที่พึงปรารถนา คือ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน และมีการนำศาสนาเข้ามาเป็นเกราะป้องกันอันตราย อย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
  • มีเยาวชนและคนในครอบครัวเข้าร่วมโครงการ
  • เยาวชนและกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับความรู้ และทราบถึงพิษภัยของยาเสพติด
52.39 65.00
2 เพื่อสร้างผู้นำเยาวชนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษา และชุมชน

มีผู้นำเยาวชนในการต่อต้านและป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน

30.56 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย เพื่อ รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
2. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 3. ประชุมคณะกรรมการบาลายเซาะห์หลังสถานีรถไฟตาแปดเจ้าหน้าที่ รพ.สต. อสม. เพื่อเตรียมการและกำหนดกิจกรรมดำเนินการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการบรรยายถึงความสำคัญของปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน แก่กลุ่มเป้าหมายและครอบครัว
  2. บรรยายพร้อมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบันทักษะในการปฏิเสธ และการสังเกตเมื่อคนในครอบครัวติดยาเสพติดแก่กลุ่มเป้าหมายและครอบครัว
  3. ร่วมกันวิเคราะห์แนวทาง ในการช่วยแก้ปัญหายาเสพติดที่มีในชุมชน เพื่อสร้างเป็นรั้วป้องกันภัยยาเสพติดไม่ให้เข้าสู่ชุมชนที่อาศัยอยู่
  4. จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายในค่ายเอี๊ยะติกาฟ เพื่อส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และห่างไกลยาเสพติด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดเอี๊ยะติกาฟ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดเอี๊ยะติกาฟ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจัดเอี๊ยะติกาฟ 10 วันๆละ 25 คน - Pre-test ก่อนจัดอบรม
- จัดอบรมสร้างความสัมพันธ์ละวางใจ บรรยายถึงความสำคัญปัญหายาเสพติด - บรรยายให้ความรู้เรื่องสถานการณ์ยาเสพติด - ร่วมกันวิเคราะห์ และแก้ปัญหายาเสพติด - Post- test หลังจัดอบรม


  • ค่าวิทยากรเหมาจ่ายคนละ ชั่วโมงละ 200 บาท x 3 ชั่วโมง จำนวน 10 วันๆ ละ 2 คน เป็นเงิน 12,000 บาท
  • ค่าอาหารเหมาจ่าย 110 บาท x 10 วัน จำนวน 25 คน เป็นเงิน 27,500 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 2.5 ม. X 1.2 ม. จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 3,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ส่งเสริมการใช้ศาสนาอิสลามในการบำบัดจิตใจโดยจัดกิจกรรมเอี๊ยะติกาฟ 10 วันสุดท้าย ในเดือนรอมฎอน ณ บาลายเซาะห์หลังสถานีรถไฟ บ้านตาแปด โดยมีกิจกรรมตามตารางเวลาดังนี้ -03.30-05.00 ตื่นนอนเตรียมอาหารกินอาหารพร้อมกันเพื่อถือศีลอด ในรุ่งอรุณ -05.00-06.00 ละหมาดซุปฮีอ่านอัลกุรอ่าน -06.00-07.00 ทำภารกิจส่วนตัวพักผ่อนตามอัธยาศัย - 07.00-08.00 ทำหน้าที่ตามตารางเวร เช่น ทำความสะอาดมัสยิดล้างจาน ล้างห้องน้ำ - 08.00-10.00ท่องดุอาร์ท่องจำอัลกุรอ่าน โดยมีอุสตัสควบคุม - 10.00-12.00จนท.รพ.สต.ตาแปดให้ความรู้เรื่องการป้องกัน ทักษะปฏิเสธตัวเองจากสารเสพติด - 12.00-13.00 พักกลางวัน เตรียมละหมาดดุฮ์รี่ - 13.00-15.00 อุสตัสให้ความรู้ และจัดกิจกรรมทางนำเพื่อให้ศาสนาบำบัดจิตใจ ห่างไกลสารเสพติด - 15.00-16.00 พัก ละหมาดอัศรี่ - 16.00-17.00 ออกกำลังกายโดยมี จนท.รพ.สต.ตาแปด ควบคุมดูแล - 17.00-18.00 อาบน้ำทำภารกิจส่วนตัวเตรียมอาหารเปิดปอซอ - 18.00-19.00 เปิดปอซอ - 19.00-21.00 ละหมาดตารอเวี๊ยะ - 21.00-22.30 อ่านอัลกุรอ่าน - 22.30-03.30 พักผ่อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยงสารเสพติดและผู้ปกครองในพื้นที่ ม.5ต.ปากบาง ได้รับรู้ถึงความสำคัญของปัญหายาเสพติด
2. เด็ก เยาวชนในกลุ่มเสี่ยงและผู้ปกครองในพื้นที่ ม.5 ต.ปากบาง มีประสบการณ์ตรง ในการเรียนรู้ปัญหาที่เกิดจากยาเสพติด ปัญหาชีวิต ปัญหาสุขภาพ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นได้จากตนเองและคนรอบข้าง
3. มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เข้าใจเยาวชนมากขึ้น
4. ติดตามเยี่ยมเด็กที่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด หลังเข้าร่วมโครงการทุก 4 เดือน
5. มีเครือข่ายแกนนำเยาวชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด ใน ม.5ต.ปากบาง
6. มีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี


>