กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยปฐมวัย ใสใจสุขภาพ ศพด.บ้านบาโงฮูมอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงฮูมอ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงฮูมอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

10.00
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

 

10.00

การมีสุขภาพทางกาย ทางจิตใจที่ดีและสุขนิสัยในการดูแลตนเอง เป็นลักษณะอันพึงประสงค์ที่สำคัญของคนไทย การมีสุขภาวะที่เหมาะสมตามวัยเปรียบเสมือนการวางรากฐานและเตรียมความพร้อมในการเติบโต
เป็นพลเมืองที่ดีมีความพร้อมที่จะเป็นกำลังพัฒนาตนเองก้าวสู่สากล นำไปสู่การสร้างความสามารถพัฒนาประเทศแต่ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาสุขภาพและการสาธารณสุขเปลี่ยนไปตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ทั้งนี้เนื่องมาจากเผู้ปกครองของด็กปฐมวัย ในปัจจุบันมีพฤติกรรมความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ตลอดจนปัญหาสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและสังคมซึ่งนับวันแนวโน้มของปัญหาเหล่านี้ย่อมมีความรุนแรงขึ้น
เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้มีสุขนิสัยที่ดี สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขทั้งนี้ ทีพัฒนาการ ด้านร่างกาย สังคม อารมณ์และจิตใจ ตามวัย จึงควรเสริมสร้างให้เด็กปฐมวัยมีลักษณะนิสัยมีความรักในสุขภาพ
และพลานามัยสามารถดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ตั้งแต่ในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นการวางรากฐานด้านสุขภาพให้เข้มแข็งด้วยการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพตั้งแต่แรกเริ่ม ให้เด็กปฐมวัยสามารถเผชิญกับปัญหาและสภาวการณ์ที่คุกคามต่อสุขภาพได้ ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงฮูมอ จึงได้จัดโครงการหนูน้อยปฐมวัย ใสใจสุขภาพขึ้นพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้มีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้เด็กปฐมวัยมีสุขนิสัยที่ดีในการ
ดูแลสุขภาพของตน ปฏิบัติตนได้อย่างปลอดภัยเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วเหมาะสมตามช่วงวัย และมีน้ำหนัก ส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน หลีกเลี่ยงในการนำตนเองสู่สภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ ที่อาจเกิดขึ้น
และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามมาตรฐาน

ร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามมาตรฐาน

20.00 5.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีทักษะในการเอาตัวรอด และมีพัฒนาการสมวัย ทั้ง 4 ด้าน

ร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัยมีทักษะในการเอาตัวรอด และมีพัฒนาการที่สมวัย ทั้ง 4 ด้าน

20.00 5.00
3 เพื่อให้เด็กปฐมวัย มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์และแข็งแรง

ร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัย มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์และแข็งแรง

20.00 5.00
4 เพื่อให้เด็กปฐมวัย มีทักษะในการเอาตัวรอดและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรคภัย และจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัย มีทักษะในการเอาตัวรอดและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรคภัย และจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้

20.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยและครูในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การบริโภคอาหารที่ดี เพื่อสุขภาพที่ดี

ชื่อกิจกรรม
การบริโภคอาหารที่ดี เพื่อสุขภาพที่ดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดในกิจกรรมมีดังนี้ อบรมให้ความรู้ในเรื่องของการบริโภคอาหารความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกหลักอนามัยแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย โดยมีรายละเอียดในกิจกรรมดังต่อไปนี้ - ค่าวิทยากร (ชั่วโมงละ 600 X 6 ชั่วโมง ) เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าป้ายไวนิล ( ตารางเมตรละ 250 บาท ขนาด 1.40 เมตร X 2.60 เมตร ) เป็นเงิน 910 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ( มื้อละ 60 บาทX 50 คน) เป็นเงิน 3,000 - ค่า่อาหารว่างและเครื่องดื่ม ( มื้อละ 30 บาท X 2 มื้อ X 50 บาท) เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอุปกรณ์เครื่องเขียน ( ชุดละ 30บาท X 50 ชุด ) เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่ากระเป๋าถุงผ้า( ชุดละ 69 บาท X 50 ใบ ) เป็นเงิน 3,450 บาท
รวมค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 15,460 บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันสีร้อยหกสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้เพิ่มขึ้น /ร้อยละ 70 มีความรู้มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15460.00

กิจกรรมที่ 2 ศิลปะบนจานอาหารกับเมนู.... ข้าวผัดบ้านๆ ที่ไม่ธรรมดา

ชื่อกิจกรรม
ศิลปะบนจานอาหารกับเมนู.... ข้าวผัดบ้านๆ ที่ไม่ธรรมดา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมนี้ผู้ปกคองจะลงมือประกอบอาหารด้วยเมนู ง่ายๆ เป็นกิจกรรมที่จะชวนเจ้าตัวเล็กให้ “สนุกกิน” เป็นเรื่องยาก แต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ของคุณแม่ที่จะใช้เทคนิคพิชิตใจคุณหนูๆด้วยเมนูอาหารที่รับประทานปกติ ทุกวันให้เป็นเมนูที่ น่ารับประทานมากขึ้น เป็นการแก้ปัญหาเด็กไม่กินอาหาร ทางออกของเรื่อง “การกินยากในเด็ก จึงต้องพึ่งพาการจัดจานอาหารให้ออกมามีความสวยงาม ดูน่ารัก เปลี่ยนการจัดเรียงเป็นสัดส่วนธรรมดา มาทำให้ใกล้ชิดกับสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบ
  • การนำเสนอขึ้นงานและแรงบรรดานใจในการจัดจานในครั้งนี้
  • รายละเอียดและค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่ 2 มีดังนี้
    ( 1.) ข้าวสาร (ข้าวขาว) 1ถุง ราคา150บาท ( 2 .)ไข่ไก่ จำนวน2ถาด ราคา 150เป็นเงิน300(3.) น้ำมันพืช1ขวดเป็นเงิน60บาท( 4.) แครอด 1กิโลกรัมเป็นเงิน70บาท(5..) แตงกว่า 1 กิโลกรัมเป็นเงิน50บาท ( 6.) หน้าอกไก่2 กิโลกรัมเป็นเงิน250 บาท ( 7.) กระเทียม 3 กรัม เป็นเงิน 30 บาท(8.) มะเขือเทศสีดา1/2 กิโลกรัม เป็นเงิน 80 บาท(9. )ผัดสลัด1/2 กิโลเป็นเงิน60บาท(10.)สาเหร่ายแผ่นใหญ่ สำหรับห่อข้าวชุชิ1 แพ็ค160 บาท (11.) ซี้อิ้วขาว1 ขวด ราคา50บาท(12.) น้ำปลา1ขวดราคา 40 บาท
    รวมค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่ 2เป็นเงิน 1,300บาท(หนึ่งพันสามร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีทักษะมากขึ้น / ร้อยละ 70 ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1300.00

กิจกรรมที่ 3 การละเล่นพื้นบ้านไม่เคยเสื่อมคลาย

ชื่อกิจกรรม
การละเล่นพื้นบ้านไม่เคยเสื่อมคลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นกิจกรรมที่ผู้ปกครองจะนำเสนอการละเล่นพื้นบ้านและนำเสนอการเล่นพร้อมกับนำเสนอการจัดกิจรรมโดยสังเขป
กิจกรรมที่ 3 นี้ จะเป็นการสร้างความร่วมมือ ร่วมใจและเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในการดูแลลูกๆ ในช่วงวัยอนุบาล ว่ามีความสำคัญอย่างไร และวิธีการที่จะให้เด็กๆปฐมวัยห่างไกลจากจอโทรศัพท์

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้มากขึ้น/ ร้อยละ 70 ของผู้ปกครอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,760.00 บาท

หมายเหตุ :
รายละเอียดค่าใช้จ่าย ทั้ง 3กิจกรรม สามารถถั่วเฉลี่ยค่าใช้จ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กปฐมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามมาตรฐาน
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะในการเอาตัวรอด และมีพัฒนาการสมวัย ทั้ง 4 ด้าน
3. เด็กปฐมวัย มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์และแข็งแรง
4. เด็กปฐมวัย มีทักษะในการเอาตัวรอดและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรคภัย และจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้


>