กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชนมุสลิมตำบลมาโมง ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชนมุสลิมตำบลมาโมง ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

กองสวัสดิการสังคม อบต.มาโมง

ตำบลมาโมง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชายเป็นการเอาใจใส่ดูแลสุขอนามัย มุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยส่วนใหญ่ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย มักทำกับหมอบ้าน หรือที่เรียกกันว่า โต๊ะมูเด็ง จากความเชื่อและประเพณีตั้งแต่อดีตเชื่อว่า การทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก(bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อกหรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี เนื่องจากสมัยก่อนโต๊ะมูเด็งทำการขลิบโดยไม่ใช้ยาชา ใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ชนิด เช่น ผ้าพันแผล ยางแดง มีด ที่หนีบ หยวกกล้วยและน้ำสะอาด ในช่วงหลังเริ่มมีการใช้ยาชาช่วยลดความเจ็บปวด และใช้แอลกอฮอล์ช่วยทำความสะอาดก่อนขลิบ หลังจากการขลิบเสร็จมีทั้งแผลที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ ปัจจุบันการแพทย์สมัยใหม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีการใช้เครื่องมือที่สะอาดและวิธีการที่ปลอดภัยมากขึ้น การขลิบสมัยใหม่มีทางเลือกมากมายเช่น การจัดเข้าสุนัตหมู่ ซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับการฝึกฝนจนชำนาญ
กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลมาโมง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้การบริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม ในตำบลมาโมง ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนชายมุสลิมขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมและผู้เข้าร่วมโครงการในเขตพื้นที่ตำบลมาโมงสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะทำงาน ปรึกษาหารือกิจกรรมในโครงการ

  2. จัดทำโครงการ เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.มาโมง

  3. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม และติดต่อประสานงานกับบุคลากรและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

  4. ดำเนินกิจกรรม ดังนี้            1) กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลและการป้องกันโรคติดต่อแก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค            2) กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

  5. การติดตามและประเมิน เพื่อติดตามและประเมินอาการหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ และความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 งบประมาณ

ชื่อกิจกรรม
งบประมาณ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 100x300ซม. จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน750.- บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผุู้เข้าร่วมวิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 มื้อๆละ 60.- บาท จำนวน 55 คน เป็นเงิน 3,300.- บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวนสำหรับผุู้เข้าร่วมวิทยากรและเจ้าหน้าที่1 มื้อๆละ 35.- บาท จำนวน 55 คนเป็นเงิน 1,925.- บาท

  • ค่าบริการหัตถการทางการแพทย์ (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) จำนวน 40 คนๆละ 1,200.- บาท เป็นเงิน 48,000.-บาท

  • ผ้ารองป้องกันการติดเชื้อจำนวน 40 ผืนๆละ 79.- บาท เป็นเงิน 3,160.- บาท

  • ถุงดำ 2 แพ็คๆละ 37.- บาท เป็นเงิน 74.- บาท

  • กระดาษสร้างแบบจำนวน 40แผ่นๆละ 3.50 บาท เป็นเงิน 140.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57349.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,349.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดภาวะเสี่ยง ต่อการติดเชื้อและภาวะออกเลือดมาก (Bloodding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อ รวมทั้งสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชน ในการป้องกันโรคติดเชื้อ

2. เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) อย่างถูกต้องปลอดภัย


>