กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมความรู้การป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี (HIV.) โรงเรียนตรังรังสฤษฎ์

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความรู้การป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี (HIV.) โรงเรียนตรังรังสฤษฎ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งค่าย

โรงเรียนตรังรังสฤษฎ์

นางสาวญาณิตา อึ่งทอง

ตำบลทุ่งค่าย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การมีสุขภาวะที่ดีและมีสุขอนามัยดีด้วย ถือเป็นลักษณะอันพึงประสงค์ประการแรกของคนไทย แต่ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาสุขภาพและการสาธารณสุขได้เปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวกน้าทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ สาเหตุเนื่องมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาวะที่ไม่ถูกต้องของบุคคลตลอดจนปัญหาสภาพแวดล้อมทั้งกายภาพและทางสังคม สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการทุกๆด้านในตัวบุคคลสุขภาพถือเป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิต ปัจจุบัน สุขภาพวางอยู่บนฐานที่ว่าด้วยเรื่องสุขภาวะ ทั้งมิติทางกาย ทางใจทางสังคมและทางปัญญา (จิตวิญญาณ) การส่งเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้นักเรียนมีความสามารถในการควบคุมและพัฒนาตนเอง อันจะเป็นผลต่อสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกาย ทางจิตใจและทางสังคม สุขภาพเป็นขุมพลังของชีวิต โรงเรียนตรังรังสฤษฎ์จึงได้จัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมความรู้การป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี (HIV.) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี (HIV.) ของตนเอง ครอบครัวและชุมชนตลอดจนมีทักษะและเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาวะและสุขอนามัยของตนเอง ครอบครัวและชุมชนตลอดจนสามารถขยายผลไปยังคนในครอบครัวและประชาชนในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี (HIV.)
2.เพื่อให้นักเรียนมีทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี (HIV.) ตลอดจนสามารถขยายผลไปยังคนในครอบครัวและชุมชนในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 253
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมความรู้การป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี (HIV.) โรงเรียนตรังสฤษฎ์

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมความรู้การป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี (HIV.) โรงเรียนตรังสฤษฎ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมให้ความรู้การป้อง กันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เอชไอวี (HIV.)

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2024 ถึง 30 กันยายน 2024
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาจากการอบรม
  2. นักเรียนที่ได้รับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาจากการอบรม
2. นักเรียนที่ได้รับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม


>