กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดภัย เด็กปฐมวัยปลอดโรค ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านราษฎร์พัฒนา

กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านราษฎร์พัฒนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด

 

0.00

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวันของเด็กนักเรียน และการป้องกันโรคต่างๆเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งสถิติการตายในการใช้รถใช้ถนนอยู่ในอันดับที่ 2 ของประเทศ ความปลอดภัยเกี่ยวกับเด็กจมน้ำ สถิติการตายอยู่ในอันดับที่ 1 ของประเทศ ส่วนความปลอดภัยด้านอัคคีภัย เด็กติดในรถ ก็อยู่ในระดับต้น ๆ ของประเทศเหมือนกัน และการป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด 19) เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงมาก และอีกหลายโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัย ที่จะต้องหาแนวทางและวิธีป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสม ได้แก่ โรคไอกรน โรคหวัด โรคมือเท้าปาก โรคตาแดง โรคท้องร่วง และโรคติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะรักษาให้อาการดีขึ้นหรือหายเป็นปกติต้องใช้เวลานาน จากเหตุผลข้างต้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านราษฎร์พัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลมาโมง เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้กำหนดจัดทำโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดภัย เด็กปฐมวัยปลอดโรค ขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจในแนวทางหรือวิธีการป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ อย่างถูกวิธี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านราษฎร์พัฒนา ร้อยละ ๙๐ มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตประจำวันจากโรคติดต่อ
2 เพื่อส่งเสริมการป้องกันโรคติดต่อในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านราษฎร์พัฒนา ร้อยละ๙๐ มีการส่งเสริมการป้องกันโรคติดต่อในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
3 เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความปลอดภัยและปลอดโรค
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
ผู้ปกครองร้อยละ๘๐ เข้าใจและปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยและส่งเสริมการป้องกันโรคต่าง ๆ แก่เด็กได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 20/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 - กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง - กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแบ่งกลุ่ม (ร่วมกันระดมความคิด แนวการการปฏิบัติ และพร้อมกับนำเสนอในหัวข้อการป้องกัน การดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
- กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง - กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแบ่งกลุ่ม (ร่วมกันระดมความคิด แนวการการปฏิบัติ และพร้อมกับนำเสนอในหัวข้อการป้องกัน การดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมครูผู้ดูแลเด็กและผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการดำเนินการโครงการ
  2. จัดทำและขออนุมัติโครงการและขอความร่วมมือในการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ -2-
  3. เตรียมข้อมูลเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการดำเนินงาน
  4. แต่งตั้งคณะกรรมการทำงานโครงการ
  5. จัดกิจกรรมที่จะดำเนินการตามโครงการดังนี้

-  กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง -  กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแบ่งกลุ่ม (ร่วมกันระดมความคิด แนวการการปฏิบัติ และพร้อมกับนำเสนอในหัวข้อการป้องกัน การดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัย 6.  ประเมินผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 20 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,200.00 บาท

หมายเหตุ :
เอกสารแนบท้าย 1
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดภัย เด็กปฐมวัยปลอดโรค
โดยเบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. 2557 ประมาณค่าใช้จ่ายตามรายการ ดังนี้
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 ชุด ๆ ละ 60 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,700.-บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 ชุด ๆ ละ 35 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,575.- บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่งโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน1,800.- บาท
4. ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1 x 3เมตร ๆ ตารางเมตรละ 250 บาท
จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 750.-บาท
5. ค่าวัสดุและอุปกรณ์
ประกอบด้วย
-แอลกอฮอล์ล้างมือแบบสเปรย์ จำนวน 1 แกลอนๆละ เป็นเงิน 260.-บาท
-สบู่เหลวล้างมือ 3เอ็ม จำนวน 1 แกลอนๆละเป็นเงิน 270.-บาท
- หน้ากากอนามัยผู้ใหญ่ จำนวน 1 กล่องเป็นเงิน 110.-บาท
- หน้ากากอนามัยเด็ก จำนวน 1 กล่องเป็นเงิน 110.-บาท
-กระดาษ A4 จำนวน 1 รีมๆละ 145 บาทเป็นเงิน 145.-บาท
-กระดาษสร้างแบบ จำนวน 10 แผ่นๆละ 10 บาทเป็นเงิน 100.-บาท
-ปากกาเคมี แดง น้ำเงิน จำนวน 1 โหลๆละเป็นเงิน 240.-บาท
-ดินสอ2B จำนวน 4 โหล เป็นเงิน 240.-บาท
-แฟ้มเอกสาร จำนวน 45 ใบๆละ20บาท เป็นเงิน 900.-บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,200.-บาท (-เก้าพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน-)

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านราษฎร์พัฒนา ร้อยละ 90 มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิต ประจำวัน
2. เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านราษฎร์พัฒนา ร้อยละ90มีการส่งเสริมการป้องกันโรคติดต่อในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
3. ผู้ปกครองร้อยละ80 เข้าใจและปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยและส่งเสริมการป้องกันโรคต่างๆแก่เด็กได้


>