กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยกีฬา (เปตอง)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

ชมรมผู้สูงอายุ

พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุ

 

20.00

ปัจจุบันโครงสร้างประชากรในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งประเทศไทยนั้น จำนวนผู้สูงอายุมีตัวเลขเทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศซึ่งถือว่ามีอัตราการเติบโตเป็นอันดับ 3 ในทวีปเอเชีย รองมาจากประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น โดยประเทศไทยได้เริ่มเข้าใกล้สังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จากข้อมูลพบว่าในปี 2566 กลุ่มประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 นั้นชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวแล้ว ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้สูงอายุได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เป็นภาระให้กับสังคมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเทพา มีความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและให้ความสำคัญกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิติของผู้สูงอายุในชมรม ให้สามารถดำรงชีพได้อย่างมั่นคงมีสุขภาพทางกายและจิตใจที่ดีด้วยการเล่นกีฬาที่สามารถเสริมสร้างสุขภาพทางกายและจิตใจได้ดีจึงได้เสนอ “โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยกีฬา ( เปตอง )”

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและจิตผู้สูงอายุให้มีสุขภาพแข็งแรง
2. เพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี
3. เพื่อลดภาวะความเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยกีฬา เปตอง

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยกีฬา เปตอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด  ดังนี้     1.โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยกีฬา เปตอง         1.1 ค่าตอบแทนวิทยากร    ในการอบรมกฎกติกาและทักษะการเล่นกีฬา เปตอง ที่ถูกต้อง
                   ปลอดภัยไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้สูงอายุ  จำนวน 1 ครั้ง 2 ชั่วโมง ( เช้า 1 ชั่วโมง บ่าย 1 ชั่วโมง )
                   รวม 2 ชั่วโมงๆ 600  บาท เป็นเงินค่าวิทยากร 1200 บาท (แผนการฝึกอบรม แนบท้าย)          1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  ในวันฝึกอบรม
                    สำหรับ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน ( 20x30 )   เป็นเงิน 600.  บาท                1.3 ค่าอาหารกลางวันในวันอบรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน ( 20 x 80 ) เป็นเงิน 1,600 บาท         1.4 ค่าวัสดุอุปกรณ์
        1.4.1 ชุดเปตอง ( FBT ) จำนวน 3 ชุดๆ ละ 1,800 บาท    เป็นเงิน  ...5,400..  บาท                1.5 ค่าน้ำดื่มสำหรับผู้มาร่วมฝึกซ้อม จำนวน 10 ครั้ง  วันละ 100 บาท
                     10 x 100 เป็นเงิน 1,000 บาท  ( แผนการฝึกซ้อม แนบท้าย )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและจิตที่แข็งแรงขึ้น
2. ผู้สูงอายุเกิดการพัฒนาด้านอารมณ์ของผู้สูงอายุ ให้สดใสและมีความสุข
3. ผู้สูงอายุมีร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทานต่อการเกิดโรคในผู้สูงอายุ


>