กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเพิ่มเวลาเรียนด้วยการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active learning active play) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเพิ่มเวลาเรียนด้วยการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active learning active play) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง หมู่ที่ 2 ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

เวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง ที่มีการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด ภาคเรียนละ 500 ชั่วโมง
เวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง ที่มีการจัดการเรียนการสอนและมีการเล่นแบบกระฉับกระเฉง ทัั้งหมดภาคเรียนละ 300 ชั่วโมง

60.00

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง มีเด็กเล็กอายุระหว่าง 2-5 ปี เข้ารับการเลี้ยงดู จำนวน 50 คน ซึ่งในหนึ่งภาคการศึกษา มีเวลาเรียน 100 วันๆ ละ 5 ชั่วโมง รวม 500 ชั่วโมง ซึ่งจาการจัดการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง ได้จัดการเรียนการสอนที่มีการเล่นอย่างกระฉับกระเฉงเช่น การปีนป่าย การโหน กระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง การวิ่งซิกแซก ฯลฯ จำนวน 3 ชั่วโมงต่อวันรวม 300 ชั่วโมงต่อหนึ่งภาคเรียน คิดเป็นร้อยละ 60 ของเวลาเรียนทั้งหมด
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง มีความประสงค์ที่จะเพิ่มเวลาการจัดการเรียนการสอนที่มีการเล่นแบบกระฉับกระเฉงให้เด็กที่เข้ารับการเลี้ยงดูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคน เพิ่มขึ้น จากเดิมจัดการเรียนการสอนที่มีการเล่นแบบกระฉับกระเฉง วันละ 3 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 3.5 ชั่วโมง ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการทางร่างกายได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการฝึกการยืนทรงตัว ด้วยสะพานแขวนทรงตัว ซึ่งจะทำให้เด็กมีสมาธิ สามารถยืนได้อย่างมั่นคง เสริมสร้างกล้ามเนื้อแขน ขา ให้แข็งแรง โดยผ่าน กระบวนการเล่นด้วยสะพานแขวนทรงตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัย และดุึงดูดความสนใจให้กับเด็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูนย์ฯเด็กเล็ก

ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

60.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมชี้แจงโครงการ

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมชี้แจงโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจเพื่อสร้างความเข้าใจโครงการ กฎกติกา ข้อตกลง และกิจกรรมที่จัดให้เด็ก แก่ครูในศูนย์ฯ จำนวน 5 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2567 ถึง 17 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ครูเข้าร่วมประชุม จำนวน 5 คน
ผลลัพธฺ์
ครู ผู้ดูแลเด็กมีความเข้าใจในโครงการ กฎกติกา ข้อตกลง และกิจกรรมที่จัดให้เด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการเล่นแบบกระฉับกระเฉง

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการเล่นแบบกระฉับกระเฉง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการใช้สื่อการเรียนรู้และการเล่นแบบกระฉับกระเฉงเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวและออกแรงเพิ่มมากขึ้น จากเดิมมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการเล่นแบบกระฉับกระเฉง วันละ 3 ชั่วโมง เป็นวันละ 3 ชั่วโมง 30 นาที ซึ่งหลักสำคัญสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบกระฉับกระเฉง คือ ต้องให้เด็กๆ สนุกกับกิจกรรมเหมือนเป็นการเล่นซึ่ง เด็กๆ จะมีความชอบ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีความสนุกสนาน จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กรู้สึกชอบ รู้สึกสนุกสนาน และเลือกกิจกรรมหรือการเล่น ตามความเหมาะสมกับวัย และการพัฒนาการของเด็ก จำเป็นที่จะต้องมีสื่อการเรียนรู้จัดกิจกรรมให้กับเด็ก ซึ่งกิจกรรมมีดังนี้
- กิจกรรมเดินทรงตัว ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กด้านร่างกายช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ การเดินทรงตัว กล้ามเนื้อมัดเล็กเล็กใช้มือจับราว ด้านอารมณ์จิตใจ เด็กเกิดความสนุกสนานและมีความสุขกับการทำกิจกรรม ด้านสังคม เด็กเรียนรู้กติกาในการเล่น รู้จักรอคอย ด้านสติปัญญา เด็กเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ฝึกสมาธิ โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ค่าสะพานแขวนทรงตัวจำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 35,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
เด็กเล็กในศูนย์พัฒนเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง จำนวน 50 คน
ผลลัพธ์
เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง มีเวลาเรียนด้วยเครื่องเล่นแบบกระฉับกระเฉงวันละไมน้อยกว่า 3.5 ชั่้วโมง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35000.00

กิจกรรมที่ 3 การติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
การติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครู ผู้ดูแลเด็ก บันทึกเวลาการเรียนรู้ของเด็กผ่านกระบวนการจัดการเรียรู้แบบกระฉับกระเฉง ตลอดภาคเรียนพร้อมสรุปรายงานผลการเปลี่ยนแปลงด้านพัฒนาการเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมเมื่อสิ้นสุดโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลิต
เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง จำนวน 50 คน
ผลลัพธ์
มีข้อมูลการใช้เวลาในการเรียนรู้ผ่านการเล่นแบบกระฉับกระเฉงของเด็กแต่ละคน
มีข้อมูลพัฒนาการของเด็กทุกคน สามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงพัฒนาการในด้านที่ยังต้องมีการพัฒนาได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทรทอง มีเวลาเรียนที่มีการเล่นแบบกระฉับกระเฉง เพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 3 ชั่วโมง เป็น วันละ 3 ชั่วโมง 30 นาที คิดเป็นร้อยละ 70


>