กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.พรวน

1.นางหนูพร ไชยสุริยะ ประธานอสม.
2.นางกัญภร คงพันธ์ ประธานหมู่บ้านที่7
3.นางอุไรวรรณ มากทอง แพทย์ประจำตำบล
4.นางเกศฎา ศรีสุวรรณ ประธานหมู่บ้านที่9
5.นางกัลยา ศิริตัวแทน อสม.

หมู่ที่7-9ตำบลท่าหิน อำเอสทิงพระจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่นการบริโภค การออกกำลังกาย ความเครียดการดื่มสุรา สูบบุหรี่ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น จังหวัดสงขลาพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2560 เท่ากับ 45,669 และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในปี 2560 เท่ากับ 50,443 ราย เพิ่มขึ้น 4,764 รายจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับ 110,517 รายและในปี 2560 เท่ากับ 119,813 ราย เพิ่มขึ้น 9,296 ราย และจากการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. ด้านอาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยง พบว่ามีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องค่อนข้างสูงในเรื่องการรับประทานผักไม่หลากหลายชนิดใน 1 วันการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมกับเพศ วัย และอายุ ตลอดจนความเครียดที่สะสม จากการใช้ชีวิตประจำวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพโดยรวม
จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวนปี 2566 พบว่าผู้ป่วยเบาหวาน 68 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 210 คนผลการคัดกรองความดันโลหิต เป้าหมายประชากร 735 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง 733 คน คิดเป็นร้อยละ 99.73 คัดกรองเบาหวาน ประชากรเป้าหมาย 873 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง 870คน คิดเป็นร้อยละ 99.66 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตจำนวน 33 คนร้อยละ 4.48 (เกินเกณฑ์ 2.40 ) กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 1.03จำนวนผู้ป่วยติดเตียง 3 ราย ผู้ป่วยติดบ้าน 3 ราย ซึ่งอยู่ในอัตราป่วยค่อนข้างสูง ขึ้นเรื่อยๆ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขได้ มีการ ทำโครงการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค ไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน และกลุ่มเสี่ยงไม่ป่วยเป็นโรคและได้รับการติดตามดูแลแบบต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดกรองกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่35ปีขึ้นไป อย่างน้อยปีล่ะ1ครั้งต่อคน

ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 95

780.00 700.00
2 2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคความดัน/เบาหวานและมีการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุข

ลดอัตราการป่วยกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดัน/เบาหวาน ร้อยละ 95

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 780
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองความดันโลหิต/เจาะเลือดในกลุ่มประชากร 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองความดันโลหิต/เจาะเลือดในกลุ่มประชากร 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ซักประวัติ วัดความดันโลหิต / วัดรอบเอว / ประเมินดัชนีมวลกาย (BMI)จำนวน 780 คน 1.จัดซื้อเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลจำนวน 1 เครื่องเครื่องละ 2,450 บาทเป็นเงิน 2,450บาท 2.จัดซื้อเครื่อง เจาะ DTX( หาน้ำตาลในเลือด) จำนวน 3 เครื่อง ๆ ละ 2,450 บาทเป็นเงิน 7,350 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตและคัดกรองเบาหวานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมบ้านในกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองทุก 3 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านในกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองทุก 3 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่ได้จากการคัดกรองความดัน/เบาหวาน เพื่อติดตามประเมินผลซ้ำประมาณ 2 สัปดาห์ พร้อมทั้งให้ความรู้และสาธิตอาหาร
  2. ติดตามกลุ่มเสี่ยงประเมิณ รอบที่ 2 (ที่ขึ้นทะเบียนจากการตรวจคัดกรอง ครั้งแรก) โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท
  3. กรณีสงสัยส่งต่อผู้ที่ตรวจพบเป็นโรคเบาหวานรับการตรวจซ้ำและรักษาโดยแพทย์ที่โรงพยาบาลสทิงพระ
  4. กรณีตรวจไม่พบเสี่ยง (จากการตรวจคัดกรอง) ติดตามเฝ้าระวังซ้ำ ทุก 2 เดือน
  5. อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเป้าหมายจำนวน 60 คน
  6. ติดตามเยี่ยมบ้าน โดยใช้แบบประเมินรายบุคคล จำนวน 60 คน
  7. สรุปผลการดำเนินงาน /ประเมินผลเป็นระยะและต่อเนื่อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านทุก 3 เดือน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตและคัดกรองเบาหวานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านทุก 3 เดือน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ


>