กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพในช่วงฤดูร้อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด Heat Stoke

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะรัง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เขตเทศบาลตำบลยะรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในช่วงเดือนเมษายนหรือฤดูร้อน หลายจังหวัดในประเทศไทยมีอุณหภูมิทะลุสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส จนติด 1 ใน 15 ของเมืองที่ร้อนที่สุดในโลก อากาศที่ร้อนจัดทำให้เสี่ยงต่อโรคลมแดด โรคที่มีอันตรายถึงชีวิต ซึ่งในปี 2561 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคฮีทสโตรกถึง 18 ราย และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตสูงขึ้นเรื่อยๆ จากภาวะอากาศร้อนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีโดยปกติแล้วร่างกายของคนเรา (Body Temperature) ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ จะมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 36.1-37 องศาเซลเซียส (°C) เพราะแม้ว่าเราจะไม่ทำกิจกรรมอะไรเลย อย่างการนอนนิ่งๆ นั่งเฉยๆ ร่างกายก็ยังมีความร้อน หรือมีอุณหภูมิในร่างกายที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญพลังงาน (Metabolism) อยู่แล้ว และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจากการทำกิจกรรมหรือจากสภาพแวดล้อม ร่างกายจะจัดการตัวเองเพื่อให้อุณหภูมิกลับมาอยู่ในสภาวะปกติที่ควบคุมได้ เริ่มต้นจากการถ่ายเทความร้อนภายในออกสู่บรรยากาศรอบๆ โดยใช้หลักการที่ว่า “ที่ร้อนมากกว่าจะระบายความร้อนออกสู่ที่ร้อนน้อยกว่าและอีกทางหนี่ง เพื่อให้ร่างกายกำจัดความร้อนภายในออกได้อย่างรวดเร็ว ร่างกายจะจัดการด้วยการใช้น้ำในการนำพาความร้อนระบายออกมาในรูปของเหงื่อ ซึ่งหากทั้ง 2 วิธีที่ร่างกายใช้ในการจัดการกับความร้อนในร่างกายแล้วไม่ได้ผล ไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากเพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนมาก หรือร่างกายไม่มีน้ำเพียงพอที่จะใช้ในการระบายความร้อน อุณหภูมิในร่างกายก็จะสูงขึ้นจนเข้าสู่สภาวะ “โรคลมแดด” หรือ“ฮีทสโตรก (Heat stoke)” ได้
“ฮีทสโตรก” หรือ โรคลมแดด เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่สำหรับเด็กๆ แล้ว ความสนุกสนานหรือการเพลิดเพลินกับกิจกรรมกับเพื่อนๆ และความไร้เดียงสา อาจนำมาซึ่งอาการป่วยของเขาได้ พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือคนที่จัดกิจกรรมจึงต้องตระหนักในเรื่องนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด รวมถึงควรเฝ้าสังเกตความผิดปกติที่เกิดในเด็กๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมนั้นๆ เพื่อลดความรุนแรงและโอกาสในการเกิดโรค
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลยะรังจึงจึงมองเห็นปัญหาดังกล่าว เพื่อการจัดส่งเสริมและป้องกันสุขภาพในช่วงฤดูร้อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด Heat Stroke อาจทำให้มีผู้ที่พบเจอกับโรคลมแดดหรือฮีทสโตรกมากกว่าปกติ หากปฐมพยาบาลได้ถูกต้องและทันท่วงทีสามารถหายเป็นปกติได้ แต่ไม่ควรประมาท เพราะหากไม่ทราบวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นก็อาจทำให้อันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นควรป้องกันตัวเองด้วยการหมั่นสังเกตอาการเมื่อออกแดด และปฏิบัติตามคำแนะนำที่กล่าวไปเบื้องต้นเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคลมแดดหรือฮีทสโตรก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองในช่วงฤดูร้อน เพื่อความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

2.00 2.00
2 2. เพื่อให้เด็กและผู้ปกครองสามารถป้องกันและปฏิบัติตัวเองได้เมื่อเกิดภาวะ Heat Stroke หรือโรคลมแดดได้

ร้อยละ 70 กลุ่มเป่าหมายสามารถปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดภาวะ Heat Stroke หรือโรคลมแดด

2.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/03/2024

กำหนดเสร็จ 29/03/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมให้ความรู้และการปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเกิดภาวะ Heat Stroke หรือโรคลมแดด

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมให้ความรู้และการปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเกิดภาวะ Heat Stroke หรือโรคลมแดด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ และภาคปฏิบัติให้เด็กและผู้ปกครอง สามารถนำไปปฏิบติใช้ได้จริง จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 160 คน จำนวน 2 วัน -ค่าวิทยากร จำนวน 10 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 160 คน จำนวน 3 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 14,400 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 160 คนๆละ 60 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 19,600 บาท -ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าจ้างทำป้ายไวนิล ขนาด 1.2X 2 เมตร เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มีนาคม 2567 ถึง 29 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.เด็กและผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรค heat Stroke หรือโรคลมแดด
๒.เด็กและผู้ปกครองสามารถปฏิบัติตัวได้เบื้องต้น เมื่อเกิดภาวะ Heat Strokeหรือโรคลมแดด


>