กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตำบลสะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

งานสาธารณสุข อบต.ปูโยะ

ตำบลปูโยะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตำบลปูโยะ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลปูโยะตั้งแต่ปี2562 - 2566 จำนวน 21 ,1 ,0 , 12 และ 9 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 310.01 , 14.7 , 0.0,177.15และ 132.86 ต่อแสนประชากร ตามลำดับไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตพบผู้ป่วยกระจายทุกหมู่บ้านจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยเกิน 50 ต่อแสนประชากรโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโดยมียุงลายเป็นพาหะ และมีอันตรายถึงแก่ชีวิต จากการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกปี 2567 คาดทั้งประเทศจะมีผู้ป่วยไข้เลือดออกประมาณ 276,945 ราย เสียชีวิต 280 ราย (กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยา, 2566 ) และคาดว่าปีนี้จะมีแนวโน้มพบผู้ติดเชื่อสูงสุดของค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังถึง 3 เท่าตัวขึ้นในเดือนพฤษภาคม และอาจพบสูงสุดในช่วงเดือนตุลาคมจนถึงสิ้นปีดังนั้น มาตรการการป้องกันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในปี 2567 ได้วางมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1. ระยะก่อนการระบาด ตั้งแต่เดือน มกราคม- เดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงโอกาสการแพร่โรคเกิดน้อย สามารถป้องกันโรคล่วงหน้า ตามมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ 1.เก็บบ้าน 2.เก็บขยะ และ 3.เก็บน้ำจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้ได้มากที่สุด โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และประชาชนระยะที่ 2. ระยะระบาด เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม - เดือนสิงหาคม เน้นมาตรการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมทั้งด้านการรักษา อุปกรณ์ และทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ตลอดจนควบคุมโรคได้อย่างทันเวลาในพื้นที่ ที่มีการระบาดไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง และออกให้ความรู้ในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนในตำบลปูโยะ ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก องค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ จึงได้จัดทำโครงการตำบลสะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยไม่เกิน50ต่อแสนประชากร

177.15 50.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของมาตรการ 3 เก็บ + 5 ป กำจัดลูกน้ำยุงลาย

ร้อยละของดัชนีลูกน้ำยุงลาย  HI, CI, และ BI ไม่เกินค่าที่กำหนด

15.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7,027
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม Big cleaning day

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม Big cleaning day
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเคริ่องดื่ม จำนวน 150 คน x 25 บาท x 1 มื้อ = 3,750
  • ค่าป้ายไวนิลดครงการฯ จำนวน 1 ผืน ผืนละ 720 บาท ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม. = 720
  • ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ป้ายไวนิล ( x-stand ) จำนวน 2 ชุด ชุดละ 1,500 = 3,000
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)  สามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ ผลลัพธ์ (Outcome)  อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7470.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าทรายกำจัดลูกน้ำ ขนาด 50 กรัม/ซอง จำนวน 1 ถัง (500 ซอง) x 3,500 บาท = 3,500
  • ค่าสเปรย์กำจัดยุงขนาด 300 ml จำนวน 60 กระป๋อง x 75 บาท = 4,500
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) ร้อยละของดัชนีลูกน้ำยุงลายHI, CI, และ BI ไม่เกินค่าที่กำหนด ผลลัพธ์ (Outcome) อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,470.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ดัชนีลูกน้ำยุงลายHI, CI,และ BI ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
2.อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกไม่เกิน50ต่อแสนประชากร
3.ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและ พร้อมให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง


>