กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

รพ.สต.บ้านโหล๊ะเร็ด อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

-

หมู่ที่ 3,5 และ 8 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยกว่า 11 คะแนน (คน)

 

15.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เช่น ตาต้อกระจก เป็นต้น

 

10.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

75.00
4 ร้อยละผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

45.18

กระทรวงสาธารณสุขมีภารกิจหลักในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของประชากรทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุ การดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งในเชิงการรักษาพยาบาล พัฒนาวิชาการด้านป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพ จึงกำหนดนโยบายพร้อมทั้งสนับสนุนหน่วยงานในสังกัดได้ปฏิบัติภารกิจให้บรรลุเป้าหมายในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ นั้น นับเป็นการเพิ่มสมรรถนะให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพในการดูแลตนเองและดูแลสังคมได้มากขึ้น ซึ่งเป็นผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีขึ้น ทั้งทางกาย ทางใจ ทางสังคม และจิตวิญญาณ ในปีงบประมาณ 2567 ประชากรในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโหล๊ะเร็ด มีประชากรทั้งหมด 1,982 คน เป็นประชากรสูงอายุ 467 คน คิดเป็น ร้อยละ 23.56 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งผู้สูงอายุเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีปัญหาและเป็นกลุ่มเสี่ยงทางด้านสุขภาพ เนื่องจากวัยนี้มีการถดถอยและเสื่อมลงของสุขภาพเป็นผลให้โรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนทั้งด้านร่างกาย เช่น ป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด 5 คน โรคความดันโลหิตสูง 89 คน โรคเบาหวาน 53 คน และโรคหอบหืด 10 คน รวมจำนวน 157 คน คิดเป็น ร้อยละ 33.66 ของผู้สูงอายุทั้งหมด และปัญหาด้านสุขภาพจิตเนื่องจากถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังมีความรู้สึกว้าเหว่ ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลาน
ในปี 2550 มีการรวมกลุ่มจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้น จำนวน 3 ชมรม ปัจจุบันมีสมาชิกชมรม ทั้งหมด 211 คน คิดเป็น ร้อยละ 45.18 ของผู้สูงอายุทั้งหมด แต่ยังมีผู้สูงอายุส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมได้ และไม่ได้รับการดูแลสุขภาพเท่าที่ควรจากปัญหาของกลุ่มผู้สูงอายุประกอบกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ รพ.สต.บ้านโหล๊ะเร็ด จึงได้จัดทำโครงกาส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจสังคมและจิตวิญญาณสามารถดูแลตนเองได้และอาศัยอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุให้ต่อเนื่องและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน ลดลง

15.00 10.00
2 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น/กลับเป็นซ้ำในผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้องรัง

ร้อยละของผู้ป่วยจากโรคเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนลดลง

10.00 7.00
3 ผู้สูงอายุที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัยเพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

ผู้สูงอายุที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัยเพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

75.00 80.00
4 ให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกลุ่มหรือชมรมเพิ่มขึ้น

ผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

45.18 55.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 70
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจประเมินภาวะสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมินภาวะสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ รวม 9 ด้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ 85%

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 70 คน x 1 มื้อ x 70 บาท เป็นเงิน 4,900 บาท
  • ค่าสมนาคุณองค์ปาฐกถาธรรม เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าเช่าเครื่องขยายเสียง เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าเช่าเต๊นท์พร้อมโต๊ะเก้าอี้ จำนวน 2,200 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุ เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพ
  2. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14100.00

กิจกรรมที่ 3 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดสาธิตและการออกกำลังกายในผู้สูงวัย
  2. สาธิตการกินอาหารเพื่อสุขภาพ
  3. การเต้นบาร์สโลบ
  4. การไหว้พระสวดมนต์
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุ เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพ
  2. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุ เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มหรือ ชมรมผู้สูงอายุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนลดลง2. ผู้สูงอายุได้รับการอบรมมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและสามารถช่วยเหลือสังคมได้ 3. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลระยะยาวและมีจำนวนลดลง


>