กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชาวบ้านร่วมใจพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

รพ.สต.บ้านโหล๊ะเร็ด ต.เขาย่า อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง

-

ม.8 ต.เขาย่า อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนไม่มีความเข้าใจ / ตระหนักในการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท

 

50.00

บ้านโหล๊ะเร็ดออก หมู่ที่ 8 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 229 หลังคาเรือน ประชากร 725 คน หมู่บ้านได้แบ่งเขตบ้านเป็น 3 เขตบ้าน คือ กลุ่มบ้านโหล๊ะเร็ดออก กลุ่มบ้านไทรทอง และกลุ่มบ้านโหล๊ะเร็ดใต้
มีกลุ่ม อสม.กลุ่มพัฒนาสตรีระดับหมู่บ้าน กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน (กขคจ.) กองทุนแม่ของแผ่นดิน กลุ่มชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
จากการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน พบว่าขยะเป็นปัญหาหลัก ในปัจจุบันปริมาณขยะ ร้อยละ 90 ของขยะทั้งหมดถูกกำจัดโดยการเผา รองลงมาคือการนำไปทิ้งในที่สาธารณะ ซึ่งยังขาดการจัดการที่เป็นระบบและถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล มีจุดเสี่ยงที่มักจะมีการนำขยะมาทิ้งกองไว้ในที่สาธารณะและไม่มีการจัดการ 2 จุด ส่งผลกระทบไปในอีกหลายๆ ปัญหา เช่น ปัญหาการหมักหมมของขยะในที่สาธารณะ เกิดกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และอยู่อาศัยของสัตว์นำโรค นอกจากนี้ยังมีขยะทิ้งอยู่ข้างถนน ริมสวนยาง ส่วนขยะถุงพลาสติก เมื่อมีฝนตกมีน้ำขังในภาชนะเกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก และทำให้ประชาชนในชุมชนต้องเสียเวลา เสียเงินค่ารักษาพยาบาล เนื่องมาจากผลกระทบมาจากไข้เลือดออก นอกจากนี้ยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่สวยงาม เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์และแมลงมีพิษเมื่อมีฝนตกก็มีการชะล้างเอาสิ่งสกปรกลงไปในลำห้วยหลักของหมู่บ้าน ทำให้เกิดภาวะน้ำเสียประชาชนใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำไม่ได้ ส่งผลทางด้านเศรษฐกิจมีรายจ่ายในเรื่องของการเฝ้าระวังและรักษาโรคที่เกิดจากปัญหาขยะ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสถานการณ์ และการจัดการขยะ

1.1 มีข้อมูลสถานการณ์ขยะ
1.2 ประชาชนเข้าร่วมเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 50%
1.3 มีครัวเรือนเข้าร่วมจัดการขยะไม่น้อยกว่า 50%
1.4 มีทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ

50.00 60.00
2 เพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนการจัดการขยะ

2.1 เกิดกลไกที่ประกอบด้วยแกนนำชุมชนภาคีเครือข่าย (ทีม)
2.2 มีกฎกติกาเป็นมาตรการทางสังคมเพื่อการจัดการขยะ
2.3 รายงานการติดตามประเมินผล
2.4 มีแผนที่ทางเดินขยะ
2.5 ครัวเรือนปฏิบัติตามกติกาทุกข้ออย่างน้อย 50%
2.6 ครัวเรือนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่า 80%
2.7 ขยะในที่สาธารณะได้รับการจัดการ
2.8 มีข้อมูลการลดขยะ/การนำขยะไปใช้

1.00 1.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะในระดับครัวเรือนและชุมชน

3.1 ขยะครัวเรือนลดลง 50%
3.2 ขยะถูกนำไปใช้ 40%
3.3 ขยะในชุมชนและที่สาธารณะได้รับการจัดการทุกจุด

85.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 25/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน - ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 27 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์และจัดการขยะต้นทาง

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์และจัดการขยะต้นทาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์แก่ครัวเรือนในพื้นที่
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คน x 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท - ค่าอุปกรณ์ที่พักแยกขยะ จำนวน 2 ที่ x 4,500 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 25 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะต้นทาง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะ โดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะ
2. สภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านดีขึ้น
3. โรคที่เกิดจากสัตว์และแมลงลดลง
4. ลดปริมาณขยะในชุมชน


>