กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

รพ.สต.บ้านโหล๊ะเร็ด ต.เขาย่า อ.ศรีบรรพตจ.พัทลุง

-

หมู่ที่ 3 ,5 และ 8 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

40.00
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

5.00

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากและบางรายมีอาการรุนแรงถึงขนาดเสียชีวิต ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญและได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยต้องมีการบูรณาการแผนงาน กิจกรรม กับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากรายงานทางระบาดวิทยา ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด พบว่าในปี พ.ศ. 2562 มีผู้ป่วย 1 คน อัตราป่วยเท่ากับ 43.74 ต่อแสนประชากรในปี พ.ศ. 2563 มีผู้ป่วย 5 คน อัตราป่วยเท่ากับ 216.83 ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2564 ไม่มีผู้ป่วย ในปี พ.ศ. 2565 มีผู้ป่วย 1 คน อัตราป่วยเท่ากับ 43.05 ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2566 มีผู้ป่วย 5 คน อัตราป่วยเท่ากับ 190.26 ต่อแสนประชากรโดย ในปี 2567 โรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มที่จะเกิดการระบาดและหากมีการระบาดของโรค จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จะต้องดำเนินการ ตั้งแต่ก่อนการเกิดโรค เมื่อเกิดโรค และหลังจากเกิดโรค โดยต้องดำเนินการอย่างครอบคลุมอย่างต่อเนื่องและดำเนินการให้มีประสิทธิภาพและทันเวลาทั้งในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ตลอดจนการสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อให้สามารถควบคุมและป้องกันโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนให้ความร่วมมือในการป้องกันและทำลายพาหนะนำโรคไข้เลือดออก

40.00 80.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด

5.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 25/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ อสม. เกี่ยวกับมาตรการในการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ อสม. เกี่ยวกับมาตรการในการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ อสม. เกี่ยวกับมาตรการในการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม. จำนวน 60 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 25 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. มีความรู้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดและถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ลงพื้นที่ให้คำแนะนำการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และวิธีการป้องกันและควบคุมพาหะนำโรค ด้วยวิธีจัดสภาพแวดล้อม บริเวณที่อยู่อาศัยให้สะอาด ไม่มีน้ำขัง และใส่สารเคมีกำจัดยุงลายในพาชนะใส่น้ำ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม. จำนวน 60 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท - จัดซื้อสารเคมีในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก (ทรายอะเบท,สเปรย์กำจัดยุงลาย) เป็นเงิน 8,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 25 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ได้รับคำแนะนำการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนได้รับสารเคมีสำหรับกำจัดและควบคุมพาหะนำโรค ผลลัพธ์ ประชาชนในพื้นที่ไม่เจ็บป่วยจากโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านโหล๊ะเร็ด
2. ประชาชนให้ความร่วมร่วมมือในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออ ร้อยละ 80


>