กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือนเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือนเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ

หมู่ที่5-7 ตำบลดุซงญอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา(จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว ชุมชนและสังคมมากขึ้นโดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิตคือเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงต่อไป ปัญหาในการดำเนินงานสุขภาพเด็กปฐมวัยพบว่าเด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้องและจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็ก 0-72 เดือน พื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ ในช่วงปีที่ผ่านมา พบว่ามีเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์จำนวน20คน จากเด็กอายุ 0-72 เดือน ทั้งหมด247 คน คิดเป็นร้อยละ 8.09 น้ำหนักค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ4.45
การดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมโภชนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะจึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน เพื่อพัฒนางานโภชนาการในชุมชน ติดตาม ดูแลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในเด็กอายุ 0-72 เดือน

เด็กอายุ 0-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการจัดหาอาหารที่มีคุณค่า และเหมาะสมกับวัยให้แก่เด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง

. ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการจัดหาอาหารที่มีคุณค่า และเหมาะสมกับวัยให้แก่เด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์ได้อย่างถูกต้องร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 18
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ชั่งน้ำหนัก ทุกๆ 3 เดือนในเด็กที่มีภาวะโภชนาการปกติ -ชั่งน้ำหนัก ทุกๆ 1 เดือน ในเด็กที่มีน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์ -ให้อาหารเสริมวัสดุเครื่องบริโภค(นม) ให้กับเด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์ 1. ค่านมจืดUHT (บรรจุ 180 มล.)
จำนวน 1,080 กล่องๆละ 12 บาท = 12,960 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก0-72 เดือนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12960.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการสาธิตอาหารแก่ผู้ปกครองเด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการสาธิตอาหารแก่ผู้ปกครองเด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการสาธิตอาหารแก่ผู้ปกครองเด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์ 1.ค่าวัสดุเครื่องบริโภคในการสาธิต  = 1,500 บาท 2.ค่าไวนิล (ขนาด 1X2 เมตร)= 700  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2567 ถึง 25 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการจัดหาอาหารที่มีคุณค่า และเหมาะสมกับวัยให้แก่เด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,160.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กอายุ 0-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการ มีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการจัดหาอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมแก่เด็ก


>