กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการฝากครรภ์ การดูแลขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด หมู่ที่ 1 – 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการฝากครรภ์ การดูแลขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด หมู่ที่ 1 – 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ

หญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 1 – 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลดุซงญอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

 

60.00

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัวการตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาคชีวเคมีและสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่าง ๆ ของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพแวดล้อมเพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดนอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว และที่สำคัญครอบครัวต้องมีส่วนร่วมในการปรับตัวและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในขณะตั้งครรภ์ อีกทั้งปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี ผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ไม่ว่าจะทำงานบ้านและทำงานนอกบ้านควบคู่กับการดูแลครอบครัวไปด้วย ทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ตัวเอง และการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ที่ไม่ถูกต้อง จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ด้วย ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรต้องรู้จักวิธีการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมตลอดจนการคลอดเป็นไปอย่างมีคุณภาพมารดาและทารกปลอดภัย
เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดูแลขณะตั้งครรภ์ ขณะเจ็บครรภ์คลอด และหลังคลอด การฝากครรภ์ การบริโภค การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย และการคัดกรองภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอจึงได้บูรณาการร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอได้กำหนดกลยุทธ์ในการแก้ไขและพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก กระตุ้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และได้รับความร่วมมือจากการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และคู่สมรสมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติมีความรู้ และเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์มากขึ้น (ทดสอบโดยใช้แบบสอบถาม ก่อนและหลังการให้ความรู้)

0.00
2 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะซีดหน้าห้องคลอด ไม่เกินร้อยละ 10

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน

เด็กแรกเกิด – ต่ำกว่า 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียว  ร้อยละ 50

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 220
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ สามีหรือญาติ หญิงหลังคลอด และอสม. ในเรื่องส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติอย่างถูกต้อง ขณะตั้งครรภ์จนกระทั้งหลังคลอด โดยใช้หลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ สามีหรือญาติ หญิงหลังคลอด และอสม. ในเรื่องส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติอย่างถูกต้อง ขณะตั้งครรภ์จนกระทั้งหลังคลอด โดยใช้หลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวัสดุในการอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ สามีหรือญาติ หญิงหลังคลอด (กลุ่มเป้าหมาย) จำนวน 220 คน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 11,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติ  จำนวน 220 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5,500 บาท
  3. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*2 เมตร ๆ ละ 350 บาท   เป็นเงิน 700 บาท
  4. ค่าตอบแทนวิทยากรในการอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ สามีหรือญาติ จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ สามีหรือญาติมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กแรกเกิดที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ สามีหรือญาติมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กแรกเกิดที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
2. หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการฝากครรภ์ครั้งแรกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์
3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์และดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
4. หญิงหลังคลอดได้รับบริการเยี่ยมหลังคลอดและได้รับความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอด
ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
5. หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ
6. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดลดลงจากเดิม ขณะตั้งครรภ์ ก่อนคลอด และไม่เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด


>