กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อย. น้อยในโรงเรียน เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ ปีงบประมาน 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ

โรงเรียนบ้านกาแยและโรงเรียนบ้านน้ำหอม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันต้องตา หรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณา ตามสื่อประเภทต่างๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตราย หรือความปลอดภัย สักเท่าไรพฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดจาก หลายสาเหตุ ตัวอย่างเช่น วิ

 

90.00

เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันต้องตา หรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณา ตามสื่อประเภทต่างๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตราย หรือความปลอดภัย สักเท่าไรพฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดจาก หลายสาเหตุ ตัวอย่างเช่น วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นวิถีชีวิตแบบรีบเร่ง และเอาตัวรอดมากขึ้น มีสื่อประเภทต่างๆ เข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบัน เพิ่มมากขึ้นให้ผู้บริโภคอาจหลงเชื่อจนกระทั่งตัดสินใจเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งต่างจากในอดีตประชากรมักดำรงชีวิตแบบเอื้ออาทรอีกทั้งด้านการผลิต ยังคงใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบมากกว่ารวมถึงมีการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยกลวิธีต่างๆ ของผู้ผลิตยังไม่มากเช่นปัจจุบัน นอกจากนี้กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนโดยเฉพาะผู้เรียน อายุระหว่าง 11 – 15 ปีถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญหากกลุ่มเยาวชนดังกล่าวไม่ได้รับ ความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตออกมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างหลากหลายมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตาม มาตรฐานที่กำหนดแต่ก็ยังคงมีผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตได้แอบอ้างสรรพคุณมีการโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริง หรืออาจมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อนเป็นอันตราย ปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และการอ่านดูข้อมูลโภชนาการจากฉลากผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปด้วย หากเยาวชนกลุ่มดังกล่าวมีความรู้และมีทักษะในการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ จะทำให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนสามารถทำให้ปัญหาด้านสุขภาพหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ลดน้อยลงได้ พร้อมทั้งให้ความรู้ ให้คำปรึกษาแก่บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลทั่วไปได้อย่างมั่นใจ นักเรียนแกนนำ อย.น้อยโรงเรียน จึงเกิดความสนใจที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรม อย.น้อยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด พร้อมทั้งขยายการจัดกิจกรรมต่างๆ ไปยังเครือข่ายผู้ปกครอง และชุมชนด้วย เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น โครงการอย.น้อย ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ และเกิดทักษะ ในการเลือกซื้อเลือกใช้อาหารยา และเครื่องสำอางที่เป็นประโยชน์ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนแกนนำ อย.น้อย ได้รู้จักการทำงานเป็นทีม การวางแผนในการปฏิบัติงาน กล้าแสดงออกในการเผยแพร่ความรู้แก่นักเรียนเครือข่าย อย.น้อย ผู้แทนเครือข่ายผู้ปกครอง และประชาชน ทั่วไปอย่างมั่นใจพร้อมทั้งปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ การบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน ร้อยละ 100

60.00 100.00
2 2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักเรียน ในเรื่องการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียน

. การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู อาจารย์ ในเรื่องการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียน ร้อยละ100

60.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คน ๆละ   25บาท เป็นเงิน 5,000 บ.
2.ค่าวิทยากรในการบรรยาย จำนวน 2 รุ่นๆละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ  600 บาท เป็นเงิน  3,600 บ.
3.ค่าไวนิลโครงการ ขนาด1X2 เมตร เป็นเงิน 700 บ. 4.ค่าวัสดุในการอบรม จำนวน 200 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 10,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19300.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจสารปนเปือนในอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสารปนเปือนในอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู อาจารย์ ในเรื่องการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค อาหารที่สะอาด ปลอดภัย
2. สมาชิกของกลุ่มมีความตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน และในชุมชนใกล้เคียง
3. สมาชิกของชมรมสามารถตรวจวิเคราะห์อาหาร อย่างน้อยในเรื่อง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลินได้
4. นักเรียน ครู พ่อค้า แม่ค้า ผู้ปกครอง และบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน
5. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษ


>