กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพด้านความรู้ทักษะชีวิตในเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและยาเสพติด ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทะนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพด้านความรู้ทักษะชีวิตในเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและยาเสพติด ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทะนง

ชมรมคนรักสุขภาวะตำบลทะนง

นายมานะเพ็ญเข็ม

ตำบลทะนงอำเภอโพทะเลจังหวัดพิจิตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้มากที่สุดวัยหนึ่งซึ่งแสดงออกเป็นปัญหาพฤติกรรมได้หลายประการ เช่นดื้อไม่เชื่อฟังละเมิดกฎเกณฑ์กติกาต่างๆมีแฟนและมีเพศสัมพันธ์ ใช้ยาเสพติด ทำผิดกฎหมายปัญหาพฤติกรรมบางอย่างมักเกิดขึ้นมานาน จนทำให้การแก้ไขมักทำได้ยากการป้องกันปัญหาจึงมีความจำเป็นและสำคัญมากกว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว
ข้อมูลจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติด 7,139 ราย (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติด 6,106 ราย) ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเพศชาย ร้อยละ 88.93 เมื่อพิจารณา กลุ่มอายุของผู้เข้าบำบัดทั้งหมด ส่วนใหญ่กลุ่มอายุ 25 - 29 ปี ร้อยละ 23.76 รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 20 - 24 ปี ร้อยละ 21.29 กลุ่มอายุ 30 - 34 ปี ร้อยละ 15.70 และกลุ่มอายุ 35 - 39 ปี ร้อยละ 10.07
ยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุด คือ เฮโรอีน ร้อยละ 28.87 รองลงมาคือ ยาบ้า ร้อยละ 28.51 สุรา ร้อยละ 13.08 และกัญชา ร้อยละ 12.87 สำหรับยาเสพติดที่ต้องเฝ้าระวัง คือเฮโรอีนที่พบการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น และยาบ้า ที่พบการแพร่ระบาดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ในบางพื้นที่ เช่น กรุงเทพมหานคร และ จ.กาญจนบุรี นอกจากนี้ยังเริ่มพบการใช้ยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แบบผสมหลายชนิด (Drugs Cocktail) ในกลุ่มเด็กและเยาวชน
ปัญหาในวัยรุ่นอีกเรื่องที่สำคัญคือการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ในกลุ่มคุณแม่ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีปัจจุบันอัตราการท้องไม่พร้อมในกลุ่มแม่วัยใสดีขึ้นด้วยเช่นกัน กลุ่มอายุ 15-19ปี เหลืออยู่ที่ 25 ต่อ 1,000 ประชากร จาก ปี 2562 อยู่ที่ 31 ต่อ 1,000 ประชากร กลุ่มอายุ 10-14 ปี เหลืออยู่ที่ 0.9 ต่อ 1,000 ประชากร จากปี 2562 อยู่ที่ 1.1 ต่อประชากร 1,000 คน ทั้งนี้รัฐบาลพร้อมภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังคงร่วมกันขับเคลื่อนการคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในกลุ่มที่ไม่พร้อมโดยเฉพาะในวัยรุ่น มีเป้าหมาย ปี 2570 กลุ่มอายุ 15-19 ปี ให้เหลือ 15 ต่อ 1,000 ประชากร กลุ่มอายุ 10-14ปี ให้เหลือ 0.5 ต่อ 1,000 ประชากร ในพื้นที่ตำบลทะนงในปี 2566 มีการตั้งครรภ์ในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 1 คนคิดเป็นร้อยละ 5.26 ของหญิงตั้งครรภ์ 1,000 ประชากร
อีกทั้งปัญหาที่พบมากในพื้นที่อีกปัญหา คือการที่วัยรุ่น ไม่ได้รับการดูแลจากพ่อ แม่ แต่เป็นการดูแลจากผู้ปกครองคนอื่นแทน (ปู่,ย่า,ตา,ยาย,ญาติ) ทำให้การอบรม การเลี้ยงดูยากขึ้น เด็กดื้อ ไม่เชื่อฟัง และทำให้เด็กเชื่อฟังกลุ่มเพื่อนที่สนิทมากกว่าผู้ปกครอง และอาจทำให้เด็กติดยาเสพติดหรือท้องก่อนวัยอันควรได้
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาในวัยรุ่นในพื้นที่ตำบลทะนงได้แก่ส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ของหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีในพื้นที่ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่ พร้อมทั้งแก้ปัญหาเด็กไม่เชื่อใจ/ไม่เชื่อฟังผู้ปกครองชมรมคนรักสุขภาวะตำบลทะนง จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมสุขภาพด้านความรู้ทักษะชีวิตในเรื่องยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อสร้างความรู้และทักษะชีวิตในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ของหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี และยาเสพติดให้โทษ
2 เพื่อลดการตั้งครรภ์ครั้งแรกในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี
3 เพื่อลดการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิง 15-19 ปี
4 เพื่อพัฒนาทักษะภายในครอบครัวของเด็กและผู้ปกครอง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเด็กและผู้ปกครอง 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา ผลกระทบของการมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่พร้อม การคุมกำเนิดรูปแบบต่างๆ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดให้โทษ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา ผลกระทบของการมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่พร้อม การคุมกำเนิดรูปแบบต่างๆ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดให้โทษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหาร(1มื้อ)และอาหารว่าง(2มื้อ)ทั้งหมด 50 คน x 100 บาท      เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 3 คนๆละ 2 ชม.ๆละ 600 บาท  เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ในพื้นที่มีความรู้เรื่องปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ของหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี และยาเสพติดให้โทษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมครู ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมครู ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหาร(1มื้อ)และอาหารว่าง(2มื้อ)ทั้งหมด 50 คน x 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 3 คนๆละ 2 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ และนำทักษะกระบวนการที่เรียนรู้ ใช้เพื่อการพัฒนาทักษะในครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 อบรมเด็กและผู้ปกครอง ในเรื่องพัฒนาทักษะภายในครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 อบรมเด็กและผู้ปกครอง ในเรื่องพัฒนาทักษะภายในครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหาร(1มื้อ)และอาหารว่าง(2มื้อ)ทั้งหมด 40คน x 100 บาท  เป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ และนำทักษะกระบวนการที่เรียนรู้ ใช้เพื่อการพัฒนาทักษะในครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ในพื้นที่มีความรู้เรื่องปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ของหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี และยาเสพติดให้โทษ
2 ลดการตั้งครรภ์ครั้งแรกในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี “คุณแม่วัยใส” ในพื้นที่ตำบลทะนงได้
3 เด็กและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ และนำทักษะกระบวนการที่เรียนรู้ ใช้เพื่อการพัฒนาทักษะในครอบครัว


>