กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แดนสงวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกาะติดไม่กระพริบตา ลดป่วยโรคเรื้อรัง ตำบลแดนสงวน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แดนสงวน

ชมรม อสม.ตำบลแดนสงวน

1.นางอรอุมาเรืองสัวสดิ์
2.นางสาวกัญญามาส ลิ่มจันทร์
3.นางธนพร ชูช่วง
4.นางแสงรัศมี กี่เม่ง
5.นางรุ่งรัตน์อินทร์รัมย์

รพสต.ตำบลบแดนสงวน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ปัจจุบันภาวะแทรกซ้อนของ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีอัตราการเกิดสูงขึ้นเรื่อยๆได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ไตวาย เท้า จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาการจัดบริการดูแลกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองแล้ว อายุ 35 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต้องได้รับการติดตามตรวจซ้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยป้องกัน หรือเพื่อการวินิจฉัยเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็ว กลุ่มดังกล่าว ต้องได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการเกิดโรคและลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดความเสียหายมากมายหากไม่มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ จากข้อมูลกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงตำบลแดนสงวน ปี 2564 -ปี2567 จำนวน 147,146,106,100ราย คิดเป็นร้อยละ 16.59,18.11,12.15,12.63 ตามลำดับ จากเหตุผลดังกล่าว โดยการมีส่วนร่วมการดำเนินงานจากเครือข่ายของชุมชน ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีศักยภาพโดย ใน ปี 2564 ใช้ระบบการติดตามกลุ่มดังกล่าวใช้นวัตกรรม บัตรนัด แถบสีกลุ่มเสี่ยง ให้ใบนัดสีเหลือง กลุ่มสงสัยป่วยให้ใบนัดสีแดง ส่วนกลุ่มปกติให้ใบนัดสีเขียว กลุ่มเป้าหมายสับสนในการนัด ในปี 2565 - 2566 ได้พัฒนาเหลือบัตรนัดสีแดงเฉพาะในกลุ่มสงสัยสัยป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงอย่างเดียวพร้อมสร้างคู่บัดดิ้คูหูดูแลกัน เพื่อเตือน ชวนกันมาตามนัด ผลการติดตามมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากกลุ่มคู่บัดดิ้บางคู่ไม่สามารถมารับบริการได้ จากขับรถไม่ได้ทั้งคู่ ทำให้ไม่สะดวกมารับบริการ ในปี 2567 จากเวทีประชุมร่วมกับเครือข่ายอสม. พัฒนาระบบบริการติดตามกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเกาะติดไม่กระพริบตาลดป่วยโรคเรื้องรังตำบลแดนสงวนดังกล่าวขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานความดันสูง ได้รับการติดตาม อย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพ

1.กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตาม ร้อยละ 90

0.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการการจัดลดปัจจัยเสี่ยง ลดหวาน ลดเค็ม ได้อย่างเป็นรูปธรรม

2.กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้ใช้นวัตกรรม 2 ขวดโหลโชว์หวาน เค็ม ร้อยละ 60

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมกลุ่มสงสัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมกลุ่มสงสัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรม จัดหานวัตกรรมขวดโหลโชว์หวานเค็ม จำนวน 100 ชุด ค่าวัสดุ ขวดโหล 81 ใบ * 50 บาท = 4,050 บ.
  2. กิจกรรมอบรมกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง40 ราย ค่าวิทยากร ชม.ละ 500 X3 ชม. = 1,500 ค่าอาหารกลางวัน 50 X 1x 40 = 2,000 ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 X 2 x 40= 2,000 บ.
    3.ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.20x2.40 เมตร = 450บ. รวมเป็นเงิน10,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงลดลง 2. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงลดลง
2. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงลดลง


>