กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังและติดตามผู้ที่มี่ความเสี่ยงโรคเรื้อรังในพนักงานเทศบาลเมืองคลองแห

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและติดตามผู้ที่มี่ความเสี่ยงโรคเรื้อรังในพนักงานเทศบาลเมืองคลองแห

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

กลุ่มรักสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

สำนักงานเทศบาลเมืองคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 พนักงานที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ)

 

25.70
2 พนักงานที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน (ร้อยละ)

 

23.20

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยง ที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่าย ด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อดังกล่าวเพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังได้ จากการประมาณการปี 2567พนักงานเทศบาลเมืองคลองแหทั้งหมด 283 คน ประมาณการว่ามีกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ร้อยละ 32.5 และมีกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 28.3
กลุ่มรักสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห เล็งเห็นและตระหนัก ถึงความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงาน จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังและติดตามผู้มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในสำนักงานเทศบาลเมืองคลองแหขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน ตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดความเสี่ยงของพนักงานที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ)

ลดความเสี่ยงของพนักงานที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง

25.70 20.00
2 ลดความเสี่ยงของพนักงานที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานสูง (ร้อยละ)

ลดความเสี่ยงของพนักงานที่จะเป็นโรคเบาหวาน

23.20 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 283
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนของคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนของคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ค่าวัสดุอุปกรณ์ (กระดาษA4,สมุด,ปากกา,ลวดเย็บกระดาษ,เครื่องเย็บกระดาษ เป็นต้น)

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 เมษายน 2567 ถึง 16 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินภาวะสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เยี่ยมบ้านประเมินภาวะสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงจำนวน3ครั้ง

1.ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

แถบตรวจน้ำตาล กล่องละ 50 ชิ้น (10 x 800 ) เป็นเงิน 8,000 บาท

เข็มเจาะน้ำตาล กล่องละ 200 ชิ้น (3 x 1,000) เป็นเงิน 3,000 บาท

เครื่องตรวจน้ำตาล 1 ชุดๆละ 3,500 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท

เครื่องวัดความดันอัตโนมัติ 2 เครื่องๆ ละ 3,000 เป็นเงิน 6,000 บาท

สำลีชุบแอลกอฮอล์ 5 กล่องๆละ 350 เป็นเงิน 1,750 บาท

2.ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ

-ถ่านไฟฉาย ขนาด AA (1 กล่อง) เป็นเงิน 800 บาท

ถ่านLithium3 v เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 เมษายน 2567 ถึง 28 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รับอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24050.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมสรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ประชุมสรุปผล 1 ครั้ง จำนวน 20 คน x 30 บาทเป็นเงิน 600 บาท

ค่าเอกสารสรุปโครงการ ประกอบการประชุมจำนวน 2 เล่มเป็นเงิน 1,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชุมสรุปผลโครงการ และคืนข้อมูลให้ชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง

2.ลดความเสี่ยงพนักงานที่เป็นโรคเรื้อรัง


>