กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรี ชีวีมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

กลุ่มสตรีบ้านจือโระ

บ้านจือโระ หมู่ที่6

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของสตรีบ้านจือโระ พบว่าปัญหาสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธ์ถึงวัยกลางคน ช่วงอายุ 15-59 ปี คือ การมีดัชนีมวลกายสูง กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงและมะเร็ง ซึ่งโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในสตรีเป็นปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การเสริมสร้างพลังอำนาจสำหรับสตรีในการป้องกันสุขภาพ พบว่าสตรีอายุ 15-49 ปี มีปัจจัยความเสี่ยงคือสตรีที่ละเลยการตรวจสุขภาพ ปัญหาสำคัญ คือ 1)บกพร่องความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง2) ขาดแรงจูงใจและแรงสนับสนุน โดยเฉพาะจากสามี,อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชน และ 3) ปัญหาในเรื่องของอุปสรรคทางวัฒนธรรม คือ ความอาย ซึ่งต้องการการเสริมสร้างพลังอำนาจในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นรูปแบบที่สร้างขึ้นจากคำแนะนำของกลุ่มสตรี คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดกูแลสุขภาพร่วมกับการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพ ในแต่ละหมู่บ้าน อนามัยเจริญพันธุ์เป็นสุขภาพอนามัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ในทุกช่วงของชีวิต องค์ประกอบพื้นฐานได้แก่ สตรีมีความสามารถเจริญพันธุ์ได้ มีบุตรได้ และสามารถมีความสุข กับการมีความสัมพันธ์ทางเพศได้ สามารถมีบุตรแข็งแรงและบุตรมีการเจริญเติบโต และพัฒนาการตามวัย มีวิธีคุมกำเนิดที่ปลอดภัย และมีการดูแลสตรีระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด มีผลทำให้สตรีและบุตร ได้รับความปลอดภัย รวมทั้งความต้องการทางเพศ ไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ อนามัยเจริญพันธุ์ไม่ดีจะมีผลเสียต่อสตรีอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การส่งเสริมสถานภาพของสตรีทำได้ในขีดจำกัด การบริการดูแลอนามัยเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมจะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆที่อาจเกิดขึ้น การดูแลส่งเสริมให้สตรีมีการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมตามวัย รวมทั้งการได้รับบริการตรวจค้นหา เพื่อป้องกันโรค การส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี จึงเป็นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีให้มีสุขภาพดี และคุณภาพชีวิตดีด้วยทางหนึ่ง สุขภาพสตรี ปัญหาที่สำคัญ คือ ความเจ็บป่วยเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจเพื่อคลายเครียด การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และการตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเองเป็นต้นการออกกำลังกายเป็นพฤติกรรมสุขภาพประการหนึ่งที่สำคัญ การออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 6-12 เดือน อย่างสม่ำเสมอจะให้ประโยชน์ทั้งต่อด้านร่างกายและจิตใจ ด้านร่างกาย เช่น ระบบไหลเวียน ผลดีต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ การออกกำลังกายทำให้ปอดขยายใหญ่ขึ้น เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของ การเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ (Osteoporosis) ได้ ช่วยในการเผาผลาญพลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น ลดการสะสมระดับของไขมันในร่างกาย ในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 4 ชั่วโมง หรือมากกว่านี้ต่อสัปดาห์ตั้งแต่เด็กวัยรุ่นจนโตเป็นผู้ใหญ่ จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันการเกิด สารก่อมะเร็ง และเพิ่มการไหลเวียนของเม็ดโลหิตขาว ทำให้ลดปัญหาสุขภาพได้ ด้านจิตใจ การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่นอิ่มเอิบ อารมณ์ดี ลดความตึงเครียดและนอนหลับได้ดี และผลดีด้านสังคม คือ ช่วยให้มีสัมพันธภาพ และมิตรไมตรีต่อกัน มีความเอื้ออาทรต่อกันในชุมชน การที่ประชาชนทุกคนมีสุขภาพที่ดีนั้นประชาชนจะต้องพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพได้มากขึ้น พยาบาลในฐานะที่เป็นบุคลากรสุขภาพ ควรตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพผู้หญิง ควรตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของสตรี ควรให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก เช่น การจัด โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรี ชีวีมีสุข โดยการผสมผสานการดูแลสุขภาพหลากหลายวิธี เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของสตรี และให้สตรีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและรับผิดชอบการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองที่ยั่งยืน จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำโครงการเกี่ยวการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยเจริญพันธุ์ ที่ครอบคลุมเกี่ยวการให้ความรู้ ส่งเสริมการตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มสตรีบ้านจือโระ จึงเล็งเห็นความสำคัญในการจะอบรมให้ความรู้ถึงวิธีการปฏิบัติตน การดูแลสุขภาพอนามัย การดูแลโภชนาการในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะกลุ่มสตรีเพื่อให้บุคคลเหล่านี้ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเต็มที่ ถูกต้องตามหลักโภชนการ และส่งเสริมให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพสตรีในเรื่องของการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ

กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 รู้วิธีการดูแลสุขภาพสตรีในเรื่องของการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ

0.00
2 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันโรค

กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 มีตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันโรค

0.00
3 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้

กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 สามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/04/2024

กำหนดเสร็จ 05/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมความรู้การดูแลสุขภาพกลุ่มสตรีบ้านจือโระ(รุ่น1)

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมความรู้การดูแลสุขภาพกลุ่มสตรีบ้านจือโระ(รุ่น1)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 การออกกำลังกายและปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม

1.2 สาธิตการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการที่เหมาะสม

• ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 40 บาท X 60 คน X 2 ครั้งเป็นเงิน 4,800.-บาท

• ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 60 คน X 4 ครั้งเป็นเงิน 6,000.-บาท

• ค่าวิทยากร 300 บาท X 1 คน X 10 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000.-บาท

• ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการฯ250 บาทX 3 ตรม.เป็นเงิน 750.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 เมษายน 2567 ถึง 28 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14550.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมความรู้การดูแลสุขภาพกลุ่มสตรีบ้านจือโระ (รุ่น 2)

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมความรู้การดูแลสุขภาพกลุ่มสตรีบ้านจือโระ (รุ่น 2)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 การออกกำลังกายและปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม

2.2 สาธิตการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการที่เหมาะสม

• ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 40 บาท X 60 คน X 2 ครั้งเป็นเงิน 4,800.-บาท

• ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 60 คน X 4 ครั้งเป็นเงิน 6,000.-บาท

• ค่าวิทยากร300 บาท X 1 คน X 10 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,000.-บาท

• ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 4,380.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 พฤษภาคม 2567 ถึง 5 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18180.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,730.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพสตรีในเรื่องของการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ
2. สตรีมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันโรคมากขึ้น
3.สตรีสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้


>