กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ"กรองทัน ป้องกันได้ โลหิตจางในเด็ก" ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

PCU รพ.ยะรัง

ตำบลปิตูมุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง (anemia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ได้แก่เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เด็กก่อนวัยเรียน และหญิงตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามการขาดธาตุเหล็กในทารกและเด็กวัยก่อนเรียน ถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยกว่าวัยอื่น ๆ เนื่องจากการขาดธาตุเหล็กเรื้อรังในเด็กวัยนี้ส่งผลต่อพัฒนาการระดับสติปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก การให้การป้องกันในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธษตุเหล็ก และการให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจึงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง จากการเก็บข้อมูลการเจาะความเข้มข้นของเลือดเด็กวัย 6-12 เดือน ของคลินิกสุขภาพเด็กดี ศูนย์อนามัยที่ 11 ย้อนหลัง 2 ปี พบภาวะซีดความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่า 33% ตั้งแต่ปี 2565-2566 ปี 2565 ตรวจเลือดจำนวน 223 ราย มีภาวะซีด 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.30 และปี 2566 ตรวจเลือดจำนวน 302 มีภาวะซีด 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.90 และในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายคัดกรองภาวะซีดในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 100 เพื่อค้นหาเด็กที่มีภาวะซีดและรักษาต่อไป
ปี 2566 ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลยะรัง ตรวจคัดกรองความเข้มข้นเลือดในเด็ก 6 เดือน- 12 เดือน จำนวน 56 ราย พบภาวะซีดจำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.85 ซึ่งเด็กดังกล่าวได้รับการรักษานัดตรวจซ้ำ พบผลเลือดปกติร้อย 100 และในปี 2567 ทางศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลยะรัง ได้จัดทำโครงการคัดกรองภาวะซีดในเด็กวัยก่อนเรียน ปี 2567 เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการคัดกรองภาวะซีดและรักษาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้เด็กช่วงอายุ 6-12เดือน ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง
2. เพื่อให้เด็กช่วงอายุ 6-12เดือน ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก
3. เพื่อให้เด็กช่วงอายุ 6-12เดือน ที่มีภาวะซีดได้รับการรักษาทางการแพทย์

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดประชุมชี้แจงคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
1. จัดประชุมชี้แจงคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงคณะทำงาน อาสาสมัคร วางแผนการดำเนินงาน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการดูแล ป้องกันภาวะโลหิตจาง และมีการติดตามอย่างต่่อเนื่อง - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 37 คน ๆ ละ 60 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 2,220 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 37 คน ๆ ละ 30 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 2,220 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4440.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมโครงการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางในเด็ก สาเหตุ การรับประทานอาหาร การเฝ้าระวัง และวิธีการป้องกัน - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 60 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 30 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 3 คัดกรองความเข้มข้นของเลือด

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองความเข้มข้นของเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นัดกลุ่มเป้าหมาย คัดกรองความเข้มข้นของเลือด - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 60 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 30 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,040.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กช่วงอายุ 6-12เดือน โลหิตจางลดน้อยลง
2. เด็กช่วงอายุ 6-12เดือน ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กทุกคน
3. เด็กช่วงอายุ 6-12เดือน ได้รับการรักษาทางการแพทย์ได่ทัน


>