กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยทอง ชุมชนทุ่งเฉลิมตะวันออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนทุ่งเฉลิมตะวันออก

1.นางสาวกรรณิการ์ สำเริง เบอร์โทรศัพท์ 080-560-1696
2.นางนาราวดีหูเขียว เบอร์โทรศัพท์ 095-043-5233
3.น.ส.กนกพร สิทธิภาสกุลเบอร์โทรศัพท์062-049-3780
4.น.ส.พรพิมล สำนักพงศ์ เบอร์โทรศัพท์ 086-965-7126
5.นางบังอร จิตรา เบอร์โทรศัพท์ 082-433-5635

ชุมชนทุ่งเฉลิมตะวันออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนเพศชาย อายุระหว่าง45 - 50 ปี ที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยทองในชุมชนทุ่งเฉลิมตะวันออก

 

32.00
2 จำนวนประชาชนเพศหญิง อายุระหว่าง45 - 50 ปี ที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยทองในชุมชนทุ่งเฉลิมตะวันออก

 

42.00

“วัยทอง” หมายถึง วัยของผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุในช่วง 40-59 ปี ซึ่งอยู่ระหว่างวัยเจริญพันธุ์และวัยผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ความสามารถในการผลิตฮอร์โมนเพศลดน้อยลงจนเกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพได้ง่าย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น อาการของคนเข้าสู่วัยทองสามารถสังเกตได้โดย มีอาการร้อนวูบวาบ บริเวณช่วงคอ อก และบริเวณใบหน้าซึมเศร้า วิตกกังวล อารมณ์หงุดหงิด ผิวพรรณเหี่ยว แห้ง ขาดความยืดหยุ่น ช่องคลอดแห้ง กระดูกพรุน ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ หรือมีปัสสาวะเล็ดราด
ปวดศีรษะ ปวดตามข้อ อ่อนเพลียการรับมือเตรียมพร้อมสุขภาพ ก่อนเข้าสู่วัยทองจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
กลุ่มอาสาสมัครชุมชนทุ่งเฉลิมสุข จึงเล็งเห็นความสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้แก่ประชาชนในชุมชนที่อยู่ในช่วง45-50 ปี ให้เข้าสู่วัยทองได้อย่างมีคุณภาพ เตรียมสุขภาพเพื่อรับมือกับอาการวัยทองที่จะเกิดขึ้นด้วยเหตุนี้จึงจัดโครงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยทองชุมชนทุ่งเฉลิมตะวันออก ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ที่เข้าสู่วัยทองเกี่ยวกับสาเหตุและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ร้อยละ 80 ของผู้ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมผู้ที่จะเข้าสู่วัยทองโดยใช้แบบทดสอบ

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงานและวิทยากร 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยทอง

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยทอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รับสมัครกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน และทำแบบประเมินภาวะวัยทอง จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อการเตรียมพร้อมในการรับมือเข้าสู่วัยทอง
กำหนดการจัดอบรมให้ความรู้
เวลา 08.30 - 09.00น. ลงทะเบียน
เวลา 09.00 - 10.00น. ทำแบบประเมิน ทดสอบ อาการภาวะวัยทอง /แบบทดสอบก่อนการอบรม โดยวิทยากรจากศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน
เวลา 10.00 - 12.00น. อบรมให้ความรู้เรื่องภาวะวัยทอง โดยวิทยากร จากศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน
เวลา 12.00 - 13.00น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 - 15.00น. อบรมให้ความรู้เรื่องภาวะวัยทอง โดยวิทยากร จาก ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน (ต่อ)
เวลา 15.00 - 15.30น. ทำแบบประเมินหลังการอบรม
หมายเหตุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและคณะทำงาน 40 คนๆละ 70 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40คนๆละ 30บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท
3.ค่าแฟ้มเอกสารสมุดปากกา 30 คนๆละ 65 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท
4. ค่าเอกสารให้ความรู้(แผ่นพับ)ในชุมชน จำนวน 100 แผ่นๆละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
5. ป้ายไวนิลให้ความรู้ จำนวน 2 ป้าย ขนาด 1.5 เมตร*1.5 เมตรเป็นเงิน 675 บาท
6.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 เมตร * 3 เมตร (ตารางเมตรละ 150 บาท) เป็นเงิน 450บาท
7.ค่าวิทยากรให้ความรู้ 1 คน จำนวน 5ชม.ๆละ 600บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการพัฒนาช่วงวัยทอง การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ ในสภาพแวดล้อมที่ดีและมีความสุข
2.ผู้ที่เข้าสู่วัยทองได้สร้างความสัมพันธ์และกิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดความสุข คลายความเหงา รู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า และสามารถทำประโยชน์ให้สังคมได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12275.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามประเมินผลผู้เข้ารับการอบรม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลผู้เข้ารับการอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นัดประชุมติดตามกลุ่มเป้าหมาย
กำหนดการจัดอบรมและติดตามประเมินผล
เวลา 08.30 - 09.00น. ลงทะเบียน
เวลา 09.00 - 11.00น. จัดกระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยวิทยากรจากศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน
เวลา 11.00 - 11.30น. ปิดการประชุมแลกเปลี่ยน หมายเหตุ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกลุ่มเป้าหมายและคณะทำงาน จำนวน 40 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน1,200บาท
2.ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถามการประเมินภาวะอารมณ์วัยทอง เป็นเงิน 200บาท
3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
4.ค่าถ่ายเอกสารและเข้าเล่มรายงาน จำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินผลและติดตาม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ จำนวน 2 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,375.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการพัฒนาช่วงวัยทอง การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ ในสภาพแวดล้อมที่ดีและมีความสุข
2. ผู้ที่เข้าสู่วัยทองได้สร้างความสัมพันธ์และกิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดความสุข คลายความเหงา รู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า และสามารถทำประโยชน์ให้สังคมได้


>