กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสตรีวัยเจริญพันธุ์ รู้เท่าทันภาวะโลหิตจาง สู่การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ (Smart women to smart mom) ตำบลปิตูมุดี ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีวัยเจริญพันธุ์ รู้เท่าทันภาวะโลหิตจาง สู่การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ (Smart women to smart mom) ตำบลปิตูมุดี ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

PCU รพ.ยะรัง

ตำบลปิตูมุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง ภาวะโลหิตจางเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่ส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง เกิดจากหลายสาเหตุทั้งความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ภาวะขาดสารอาหารและโรคติดเชื้อ โดยพบบ่อยที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุสำคัญของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ คือ การขาดสารอาหารจากธาตุเหล็กและกรดโฟลิก (ชลธิชา ดานา, 2560) ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก เช่น มารดาเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ทารกเสี่ยงต่อคลอดก่อนกำหนด พัฒนาการไม่สมบูรณ์และภาวะทารกเสียในครรภ์ ฯลฯ ซึ่งปัญหาดังกล่าวในประเทศไทย พบผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น จากข้อมูลทะเบียนการฝากครรภ์ในปี พ.ศ.2564-2566 ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลยะรัง พบหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางในการมาฝากครรภ์ครั้งแรกคิดเป็นร้อยละ 10.2 (HDC, 2563) และหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตในการตรวจเลือดใกล้คลอดคิดเป็นร้อยละ 12.4 จากการซักประวัติและสอบถามข้อมูลพบว่า ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์บางรายทานยาไม่สม่ำเสมอ มีความเข้าใจผิดเรื่องยสบำรุงเลือดที่อาจทำให้มารกในครรภ์ตัวใหญ่ และการทานยาที่ผิดวิธีรวมไปถึงปัญหากายภาพเดิมของหญิงตั้งครรภ์
ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลยะรัง ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิตูมุดี จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในหญิงวัยเจริญพันธุ์ จึงได้จัดโครงการโครงการสตรีวัยเจริญพันธุ์ รู้เท่าทันภาวะโลหิตจาง สู่การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ (Smart women to smart mom) ปี 2567 เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางและเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ในชุมชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.หญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง
2. ลดอัตรากาารเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่าฝากครรภ์ครั้งแรก
3. ลดอัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์
4. หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในโรคโลหิตจางเพิ่มขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางและการปฏิบัติตนเพื่อแก้ไขภาวะโลหิตจาง พร้อมคัดกรองภาวะโลหิตจางในกลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ครั้งที่ 1 - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ๆ ละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าตอบดทนวิทยากร 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 500 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินภาวะโลหิตจาง

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะโลหิตจาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินภาวะโลหิตจางในกลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ซ้ำภายหลังจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลตนเอง - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ๆ ละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าตอบดทนวิทยากร 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 500 บาท  เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง
2. ลดอัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์
3. หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในโรคโลหิตจางเพิ่มขึ้น


>