กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมคัดแยกขยะในครัวเรือน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงลุโละ

1.นางสาวแวฟาตีมะห์ เจะยอ
2.นางสาวปาตีมะห์ ลาเตะ
3.นางสาวเจะนาหม๊ะ มะ
4.นางแอเซาะ ยูโซ๊ะ
5.นางฟาตีหมะ แวสมาย

ตำบลตันหยงลุโละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันตำบลตันหยงลุโละ มีปริมาณขยะจำนวนมาก เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของท้องถิ่น ขยะส่วนใหญ่มาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งเป็นภาระหนักสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลุโละ ในการบริหารจัดการกำจัดขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะจำนวนมากที่เกิดขึ้นทุกวัน ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ได้แก่ ชุมชนสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำ แหล่งน้ำเน่าเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วมขัง เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละลอง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และขยะบางชนิดไม่สามารถย่อยสลายได้ และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงลุโละ จึงจัดโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนขึ้น โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และก่อให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนในการคัดแยกขยะในครัวเรือนและดูแลสิ่งแวดล้อม ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะขององค์การบริหารส่วนตำบล นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง ยังรวมไปถึงการลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาไหม้และฝังกลบได้ ทำให้ช่วยลดสภาวะเรือนกระจก ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น หรือ ภาวะโลกร้อน โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน จัดตั้งองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และก่อให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่การสร้างจิตสานึกต่อการรักษ์บ้านเกิดของคนในชุมชน นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนของตนเองจนเกิดชุมชนต้นแบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในตำบล และชุมชนมีปณิธานร่วมกันที่จะขยายผลโครงการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมครอบคลุมทุกหลังคาเรือน ในรูปแบบธนาคารขยะหมู่บ้าน และขยายผลสู่โรงเรียนทั้ง 3 โรงเรียน ทั้งนี้ จะทำให้ตำบลตันหยงลุโละ เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและความร่วมมือของหมู่บ้าน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการขยะแบบคัดแยกจากต้นกำเนิด และจัดการขยะอย่างเป็นระบบและถูกวิธี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ ลดงบประมาณเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

ลดปริมาณขยะลงได้ เพราะเมื่อแยกวัสดุส่วนที่ยังมีประโยชน์ออกไป เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ ก็จะเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลง

0.00
2 เพื่อรณรงค์และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น สอดคล้องหลักการของเมืองท่องเที่ยวน่าอยู่อย่างยั่งยืน

ดำเนินการขยายผลหลังคาเรือนและโรงเรียนในพื้นที่ครอบคลุมร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมปรึกษาหารือการจัดกิจกรรมในโครงการฯ แก่คณะกรรมการขยะมูลฝอยระดับตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมปรึกษาหารือการจัดกิจกรรมในโครงการฯ แก่คณะกรรมการขยะมูลฝอยระดับตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 1 มื้อ x 20 คน x 3 ครั้ง = 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพโดยการเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3 รุ่นๆละ 50 คน รวม 150 คน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพโดยการเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3 รุ่นๆละ 50 คน รวม 150 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 4 ชม. x 600 บาท x 1 คน x 3 วัน = 7,200 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 150 คน x 1 มื้อ = 7,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 150 คน = 7,500 บาท
  • ค่าวัสดุไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 3 ม. จำนวน 1 แผ่น = 750 บาท
  • ค่าวัสดุ อปุกรณ์ ที่ใช้ในการจัดการอบรมโครงการฯ 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27950.00

กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนการดำเนินงานการคัดแยกขยะประจำหมู่บ้านต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนการดำเนินงานการคัดแยกขยะประจำหมู่บ้านต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการซื้อ – ขายขยะ เดือนละ 1 ครั้ง ที่จุดซื้อขาย ณ ชุมชนทั้ง 3 ชุมชนในเขตตำบลตันหยงลุโละ
- ค่าสมุดปกน้ำเงิน สำหรับบันทึกบัญชี ฝาก – ถอน คุมการเงินและบัญชีธนาคารขยะหมู่บ้าน จำนวน 10 เล่มๆ ละ 65 บาท = 650 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
650.00

กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ แก่คณะทำงานและตัวแทนกลุ่มเป้าหมายครัวเรือน เพื่อทบทวน ปรับแก้ไขปัญหาในระหว่างการดำเนินกิจกรรมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ แก่คณะทำงานและตัวแทนกลุ่มเป้าหมายครัวเรือน เพื่อทบทวน ปรับแก้ไขปัญหาในระหว่างการดำเนินกิจกรรมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 1 มื้อ x 20 คน = 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีการลดปริมาณขยะลงได้ เพราะเมื่อแยกวัสดุส่วนที่ยังมีประโยชน์ออกไป เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ ก็จะเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลง ซึ่งขยะนี้สถานที่ที่ใช้ทำลายขยะก็นับวันแต่จะหายากลงทุกวัน
2. ประหยัดงบประมาณลงได้ เพราะในเมื่อเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกาจัดหรือทำลายน้อยลง จึงใช้งบประมาณน้อยลงในการเก็บขนและกำจัดหรือทำลายขยะ
3. ได้วัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เรียกว่า (Recycle) เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ
4. สงวนทรัพยากรธรรมชาติและประหยัดพลังงาน จากข้อที่ 3 จะได้ผลเป็นการสงวน ทรัพยากรธรรมชาติ และประหยัดพลังงาน เพราะนอกจากจะลดการใช้วัสดุที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังไม่ต้องใช้พลังงานในการขุดค้น เช่น ในการผลิตอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติกนั้น แทนที่จะต้องใช้เม็ดพลาสติกใหม่ ซึ่งกว่าจะได้ต้องใช้พลังงานมากมาย ก็ใช้พลาสติกที่ผ่านการใช้แล้วนำมาหลอมใช้ใหม่
5. ช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เพราะในเมื่อขยะน้อยลง สิ่งแวดล้อมก็จะดีขึ้น สะอาดขึ้น ปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งผลประโยชน์ที่กล่าวมาทั้ง 4 ประการก็เป็นผลประโยชน์ของทุกคนในท้องถิ่นร่วมกัน


>