กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับวันละนิด เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

รพ.สต.ปิตูมุดี

ตำบลปิตูมุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญยาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง ส่วนหนึ่งนั้นโดยกำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มันเค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี 2557 เป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป จำนวน 501 คน คัดกรองได้ 313 คน คิดเป็นร้อยละ 64.47 กลุ่มที่ไม่ได้รับการคัดกรองเป็นกลุ่มที่ไม่อยู่บ้าน อยู่มาเลย์ ไม่ยินยอมให้ตรวจคัดกรอง คิดเป็นร้อยละ 37.52 ในการคัดกรองพบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 2.99 กลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 0.33 เป็นผู้ป่วยใหม่ 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0.0 และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูง จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 8.38 กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 8.38 ผู้ป่วยรายใหม่ 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.59
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิตูมุดี มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับวันละนิด เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน ปีงบประมาณ 2567 โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือ และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/คามดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 12
ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการปรับวันละนิด เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน

ชื่อกิจกรรม
โครงการปรับวันละนิด เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การสร้างแกนนำวิทยากรและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1.1 ปะชุมชี้แจงโครงการฯ แก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1.2 ประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิตูมุดี อสม. 1.3 ดำเนินการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทบทวนความรู้  และพิจารณาจัดทำหลักสูตรพื้นฐานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชน จัดหลักสูตรตามกลุ่มเป้าหมายและปัจจัยเสี่ยง 1.4เจ้าหน้าที่ผู้ร่วมจัดทำหลักสูตร เป็นทีมวิทยากรให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตามแบบวิถีชุมชนโดยสร้างการมีส่วนร่วมกิจกรรมจากประชนกลุ่มเสี่ยง 1.5 ประเมินผลการใช้หลักสูตร สรุปผลกาารดำเนินโครงการ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ 2.การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง และพัฒนาเครือข่ายกลุ่มเสี่ยง ขั้นเตรียมการ 1. ดำเนินการลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจคัดกรองและยืนยันผลการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง ขั้นดำเนินการ 1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงดำเนินการครั้งละประมาณ 72 คน ดำเนินการอบรมเช้า- บ่าย ไป-กลับ ครั้งที่ 1 จำนวน 1 วัน และติดตามเยี่ยมบ้านโดย อสม. หรือแกนนำ ครั้งมรา 2,3,4 ดังนี้ ครั้งที่ 2,3 อสม.หรือแกนนำติดตามที่บ้าน จำนวนครั้งละ 1 วัน ห่างกันประมาณ 1 เดือน  ครั้งที่ 4 ห่างจากครั้ง 3 ประมาณ 3 เดือน รวมระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ถึงการประเมินผล 6 เดือน 2.ดำเนินการจัดประชุมแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงจำนวน 1 ครั้ง โดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ การถอดบทเรียน และประเมินผลการการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเสี่ยง 3.สรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
2.กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถควบคุมได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
3. มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน
4.เกิดนวัตกรรมสุขภาพชุมชน
5.สามารถส่งต่อในกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้ทันที


>