กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการห่วงใยผู้ป่วยโรคเรื้อรังเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการห่วงใยผู้ป่วยโรคเรื้อรังเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ

1.นายนิฟัยรุส สมานกุลวงศ์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคเรื้อรัง หมายถึงโรคที่รักษาไม่หาย การรักษาเป็นเพียงการพยุงไม่ให้มีการสูญเสียการทำงานของร่างกายมากขึ้น โรคเรื้อรังมีหลายประเภท เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจวาย โรคไตวาย โรคข้อเสื่อม เป็นต้น อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้ ประเภทที่ 1 คือโรคที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ มีทางบำบัดรักษาให้หายได้ แต่ต้องใช้เวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี เช่น วัณโรค โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง เป็นต้น ประเภทที่ 2 คือโรคที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ ชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่การรักษาแบบประคับประคองก็สามารถทำให้อาการของโรคทุเลา เช่น โรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น ประเภทที่ 3 คือโรคที่กลายหรือสืบเนื่องมาจากโรคเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เช่น โรคอัมพฤกษ์ที่เกิดจากอุบัติเหตุ เมื่อไขสันหลังถูกกดทับแต่ไม่ถึงกับฉีกขาด หากรักษาทันท่วงทีก็หายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะเป็นโรคอัมพฤกษ์ตลอดไป โรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่ออันเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรมการดําเนินชีวิตที่ผ่านมาส่งผลให้ประสบปัญหาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ทําให้เกิดอาการเจ็บป่วย ต้องสูญเสียงบประมาณในการรักษาพยาบาลเป็นจํานวนมากจากสถานการณ์ของโรค พบว่าสาเหตุการตายส่วนใหญ่ ร้อยละ 60เกิดจากโรคเรื้อรัง เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ มะเร็ง ปีละ 97,000 คน ขณะที่คนไทยต้องกินยาสูงปีละ47,000ล้านเม็ด สาเหตุหลักของโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ ร้อยละ 90เกิดจากพฤติกรรม อาทิกินอาหารไม่เหมาะสม ขาดการออกกําลังกาย น้ำหนักตัวเกิน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้ากินอาหารไม่เหมาะสม เช่น หวาน มัน เค็ม (ผลการวิจัยจากกรมอนามัย ปี 2565) ศูนย์บริการสาธารณสุข เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่เน้นการสร้างเสริม ป้องกันการเกิดโรคลดพฤติกรรมเสี่ยง ในกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป โดยการให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนักในการเว้นปัจจัยเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ความเครียด อาหารเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง การใช้ยาถูกต้อง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกต้อง ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน (DM) และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวมในโรงพยาบาล และ ในโรงพยาบาลส่งแสริมสุขภาพตำบลมูโนะ มีการให้บริการคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในวันพฤหัสบดี ของทุกสัปดาห์ เวลา 13.00 น.-16.00 น.ซึ่งปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 375คน แบ่งเป็น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 297 คน โรคเบาหวาน จำนวน32 คน โรคความดันโลหิตสูงร่วมกับโรคเบาหวาน จำนวน 46คน ที่มารับบริการในคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (PCU) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง การใช้ยาที่ถูกต้อง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วย และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกต้อง
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งแสริมสุขภาพตำบลมูโนะ มีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง การใช้ยาที่ถูกต้อง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วย และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกต้องมากขึ้น โรงพยาบาลส่งแสริมสุขภาพตำบลมูโนะ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จึงจัดทำโครงการห่วงใยผู้ป่วยโรคเรื้อรังเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ งบประมาณ พ.ศ. 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง และการใช้ยาอย่างถูกต้อง

 

50.00 80.00
2 ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการตาย

 

0.10 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 200 คน เป็นเงิน 10,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 200 คน เป็นเงิน 10,000 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายจำนวน 1 คนๆ ละ จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 500 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วย และส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องโรค และการดูแลตนเองรวมถึงการใช้ยาอย่างถูกวิธี


>