กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิต ประจำปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งพลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิต ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งพลา

โรงพยาบาลสุ่งเสริมสุขภาพ

ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา มีความประสงค์จะจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพ ให้กับกลุ่มเสี่ยง และกลุ่ม ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้ดูแลในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลาอำเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567 จากสถิติข้อมูลจากHDC กระทรวงสาธารณสุข ปี 2565,2566กลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูงคิดเป็น ร้อยละ95.35,88.73 ตามลำดับ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 30ราย,33 ราย ตามลำดับคิดเป็นร้อยละ 37.50 , -10 ตามลำดับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 37.63,30..96 ตามลำดับกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวานคิดเป็นร้อยละ 95.09 ,90.35 ตามลำดับผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 24 ราย, 18 ราย คิดแป็นร้อยละ -14.29 , 25 ตามลำดับ ผู้ป่วยเบาหวานที่คุมน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 79.31 , 58.46 ตามลำดับ มีภาวะแทรกซ้อนทางตา จำนวน 8 ราย,5 ราย คิดเป็นร้อยละ4.06 , 2.53 ตามลำดับ มีการเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน คิดเป็นร้อยละ1.92 , 2.57 จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีภาวะแทรกซ้อนของโรคในอัตราที่สูงอยู่ ความดันโลหิตสูงและน้ำตาลเลือดไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา ได้เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องและต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2567 ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลทุ่งพลา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ สามารถควบคุม ดูแล ตนเอง ให้ค่าน้ำตาล อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดได้

โรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

0.00 40.00
2 เพื่อเพิ่มกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ สามารถควบคุม ดูแล ตนเอง ให้ค่าความดันโลหิต อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดได้

โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับโลหิตได้ดี

0.00 60.00
3 เพื่อลดผู้ป่วยรายใหม่โรคเบาหวาน

ร้อยละ ของผู้ป่วยรายใหม่โรคเบาหวานลดลง

100.00 95.00
4 เพื่อลดผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูว

ร้อยละของผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงลดลง

100.00 95.00
5 เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันในผู้ป่วยเบาหวาน

ร้อยละการเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันในผู้ป่วยเบาหวานลดลง

100.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 35
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
-  ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 35  คนๆละ 60 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 คนๆละ 35 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 2,450 บาท -  ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ ป้ายโครงการ ขนาด 1.80 เมตร x 2 เมตร  จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 720 บาท - ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม เป็นเงิน 1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10270.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,270.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคเรื้อรังมีความรู้สามารถควบคุม ดูแล ตนเอง ให้ค่าน้ำตาลและความดันโลหิต อยู่ในเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดได้
2.ผู้ป่วยรายใหม่โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีจำนวนลดลง
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตไม่มีภาวะแทรกซ้อนลดลง


>