กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน (วิถีพุทธ) ประจำปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน (วิถีพุทธ) ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลรูสะมิแล

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลรูสะมิแล

1. นายสมพงศ์ทองสังข์
2. นายวิชิตสารพร
3. นายเรียมแก้วทอง

ณ ห้องประชุมโรงแรม เซาเทิร์นวิว (Southern View Hotel Pattani) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ (สุราษฎร์ธานี)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่าในปี ๒๕๖๗ จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไปอยู่ประมาณ ๒ ใน ๖ ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือ เมื่อประเทศใดมีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป เกินร้อยละ ๑๐ หรือ ประชากรอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป เกินร้อยละ ๗ ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี ๒๕๖๗ เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง หรือภาวะโดยรวมที่ ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงประชากรวัยผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงมีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ทั่วไปเริ่มอ่อนแอ และเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และสังคม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้านนั้น มีความสำคัญยิ่งเพราะจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าโดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกสังคม หรือทำกิจกรรมนอกบ้านร่วมกับผู้อื่นในชุมชน เช่น การรวมกลุ่มออกทำกิจกรรม การเป็นอาสาสมัครของชุมชน เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น การได้ออกไปพบปะผู้คนจะช่วยให้ผู้สูงอายุไม่เหงา มีเพื่อนมากขึ้น ทั้งเพื่อนรุ่นเดียวกันและเพื่อนต่างวัยด้วย ยังเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ หายเครียด และที่สำคัญ เซลล์สมองทำงานดีขึ้น เป็นผลดีต่อสุขภาพ
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลรูสะมิแล จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน (วิถีพุทธ) ปีงบประมาณ ๒๕๖๗

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างภาวะทางจิตใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและสุขภาพกายของผู้สูงอายุตามกลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดความสมดุลกับการใช้ชีวิตประจำวัน

 

0.00
3 เพื่อลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้านตามกลุ่มเป้าหมาย

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 90
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/04/2024

กำหนดเสร็จ 05/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการฝึกอบรม (วันที่ 1) ณ โรงแรมเซาท์เทิร์นวิวปัตตานี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการฝึกอบรม (วันที่ 1) ณ โรงแรมเซาท์เทิร์นวิวปัตตานี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๙๐ คนๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน  6,300.- บาท 1.2 ค่าอาหารกลางวัน(เซตโต๊ะอาหาร จำนวน 9 โต๊ะๆ ละ 2,500 บาท)  เป็นเงิน 22,๕๐๐.- บาท      จำนวน ๙๐ คนๆ ละ 250 บาท จำนวน 1 มื้อ       
1.3  ค่าจัดทำป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3  ม.                        เป็นเงิน    500.- บาท
1.4 ค่าเช่าสถานที่และค่าเช่าเครื่องเสียง                        เป็นเงิน  5,000.- บาท 1.5  ค่าวิทยากร จำนวน 2 ท่าน  จำนวน 4 ช.ม.ๆ ละ 600 บาท   เป็นเงิน  2,400.- บาท 1.6  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ                     
    - อุปกรณ์สมุด/ดินสอ/แฟ้ม (ชุดละ 45 บาท) 90 ชุด          เป็นเงิน  4,050.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2567 ถึง 3 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40750.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน (วิถีพุทธ) ประจำปี ๒๕๖7

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้าน (วิถีพุทธ) ประจำปี ๒๕๖7
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเช่ารถ จำนวน ๒ คัน     จำนวนคันละ 3 วันๆละ 15,000.- บาท (รวมค่าน้ำมัน) เป็นเงิน   90,000.- บาท
  2. ค่าอาหารในการฝึกอบรมศึกษาดูงานวันที่ 1          เป็นเงิน    ๔๕,๐๐๐.- บาท     (จัดครบทุกมื้อ) จำนวน 500 บาท/ คน/ วัน จำนวน ๙๐ คน
  3. ค่าอาหารในการฝึกอบรมศึกษาดูงานวันที่ 2      เป็นเงิน     ๒๗,๐00.-บาท     (จัดไม่ครบทุกมื้อ) จำนวน 300 บาท/ คน/ วัน จำนวน ๙๐ คน
  4. ค่าอาหารในการฝึกอบรมศึกษาดูงานวันที่ 3      เป็นเงิน     ๒๗,๐00.-บาท      (จัดไม่ครบทุกมื้อ) จำนวน 300 บาท/ คน/ วัน จำนวน ๙๐ คน
  5. ค่าที่พักห้องละเฉลี่ย 1,300.- บาท/คืน (หรือจ่ายตามจริง) (1,300.- บาท/ห้อง จำนวน ๔๕ ห้อง จำนวน 2 คืน)   เป็นเงิน  ๑17,๐๐0.- บาท
  6. ค่าของที่ระลึก จำนวน 2 ชิ้นๆละ 1,500.- บาท           เป็นเงิน      3,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2567 ถึง 5 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
309000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 349,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้สูงอายุรู้สึกไม่ถูกทอดทิ้งและสามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข
๒. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง ช่วยเหลือตนเองตามแนวทางการประเมิน ADL (การใช้ชีวิตประจำวัน) อย่างปกติ


>