กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่านั่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาที่ปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่านั่ง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่านั่ง

พื้นที่หมู่ 1-6 ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันตำบลท่านั่ง มีสถานประกอบการต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร ร้านแผงลอย ตลาดนัด ร้านขายของชำในหมู่บ้านประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยการโฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่ายการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้จากผลการดำเนินงาน โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาที่ปลอดภัย ในปีงบประมาณ 2564 พบว่า ออกตรวจร้านค้าและแผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์ มีร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 14 ร้าน พบว่ามีร้านผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ ๙2.85และมีร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 7.15 และมีร้านขายของชำ จำนวน 21 ร้าน พบว่ามีร้านผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 95.24และมีร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 4.76 ปีงบประมาณ 2565 พบว่า ออกตรวจร้านค้าและแผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์ มีร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 16 ร้าน พบว่ามีร้านผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ ๙5.83และมีร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 4.16 และมีร้านขายของชำ จำนวน 23 ร้าน พบว่ามีร้านผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 91.30และมีร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 8.69 ปีงบประมาณ 2566 พบว่า ออกตรวจร้านค้าและแผงลอยจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์ มีร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 16 ร้าน พบว่ามีร้านผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ ๙5.83และมีร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 4.16 และมีร้านขายของชำ จำนวน 24 ร้าน พบว่ามีร้านผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 87.50และมีร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 12.50ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่านั่ง มีความตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชน จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาที่ปลอดภัย ปีงบประมาณ 2567 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดี ไม่เกิดการเจ็บป่วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑ เพื่อพัฒนากำกับดูแลร้านอาหารแผงลอยและร้านชำในพื้นที่
๒ เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยผลิตภัณฑ์อาหาร แก้ไขปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายและเรื่องร้องเรียนในพื้นที่
๓ ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารและยา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดทำแผนงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมจัดทำแผนงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำและอนุมัติแผนงาน/โครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำและอนุมัติแผนงาน/โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาชุดตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

ชื่อกิจกรรม
จัดหาชุดตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร(ผงกรอบ) 1 ชุดๆละ220 บาทเป็นเงิน 220 บาท
  • ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิคในอาหาร(สารกันรา) 1 ชุดๆละ 250 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  • ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดซัลไฟต์(สารฟอกขาว) 1 ชุดๆละ 150 บาท เป็นเงิน 150 บาท
  • ชุดทดสอบฟอร์มาลิน 10 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 20๐ ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในผัก 2 ชุดๆละ 1,250 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8620.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมชี้แจง ความรู้ในการปฏิบัติงานตรวจประเมินร้านขายของชำ ร้านอาหารแผงลอย และร้านอาหารปลอดภัย ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย ให้กับกลุ่ม อสม.ผู้ปฏิบัติงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง ความรู้ในการปฏิบัติงานตรวจประเมินร้านขายของชำ ร้านอาหารแผงลอย และร้านอาหารปลอดภัย ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย ให้กับกลุ่ม อสม.ผู้ปฏิบัติงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ตรวจประเมินร้านขายของชำ ร้านอาหารแผงลอย และร้านอาหารปลอดภัย ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมินร้านขายของชำ ร้านอาหารแผงลอย และร้านอาหารปลอดภัย ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่ายานพาหนะเหมาจ่าย จำนวน ๑๒ คนๆ ละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๒ ครั้งๆ ละ 1 วัน  เป็นเงิน ๒,๔๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 6 มอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติดี อาหารปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
มอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาดรสชาติดี อาหารปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 ค้นหากลุ่มเป้าหมาย พร้อมตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดให้กับ กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
ค้นหากลุ่มเป้าหมาย พร้อมตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดให้กับ กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แผ่นตรวจโคลีนเอสเทอเรส จำนวน 5 กล่อง(1 กล่องมี 100 แผ่น)ๆ ละ 675 บาท         เป็นเงิน 3,375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3375.00

กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกร และผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกร และผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ และอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ  สำหรับกลุ่มเกษตรกร และผู้บริโภค   จำนวน 50 คนๆละ 100 บาท  เป็นเงิน   5,000  บาท 2 ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน   1,800  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,195.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม. มีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ในการเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
2. ร้านขายของชำ ร้านอาหารแผงลอย และร้านอาหารมีการพัฒนาตามมาตรฐานสุขาภิบาล
3.เกษตรกร และผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายดีขึ้น


>