กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันไข้เลือดออกในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ

1.นายสันต์พรมสร
2.นางสาวฝนทิพย์พันธ์โภชน์

โรงเรียนบ้านมูโนะ โรงเรียนบ้านปาดังยอ โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะลือซงโรงเรียนบ้านปูโป๊ะและ โรงเรียนดารุลฟุรกอน ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงสถานการณ์ไข้เลือดออก ตั้งแต่ต้นปี 2566 จนถึงปัจจุบัน (16 สิงหาคม 2566) พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วรวม 65,552 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 99.05 ต่อประชากรแสนคน เพิ่มขึ้นสัปดาห์ละกว่า 5,000 ราย ยิ่งมีผู้ป่วยมากก็ยิ่งมีผู้เสียชีวิตมาก ถึงขณะนี้มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้ว 58 ราย จำนวนผู้ป่วยปี 2566 มากกว่าปี 2565ณ ช่วงเวลาเดียวกันถึง 3 เท่า ซึ่งเป็นวงจรของการเกิดโรคที่มักจะระบาดมากขึ้นในปีถัดจากปีที่ระบาดน้อย เนื่องจากภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติของประชากรโดยรวมลดลง หรือมีลักษณะการระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี โดยพบผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มอายุและอาชีพ การระบาดของโรคไข้เลือดออกในบางพื้นที่มีสถานการณ์ลดลงซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี แต่บางพื้นที่ก็ยังคงมีการระบาด ซึ่งกรมควบคุมโรคได้ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และเปิดประชุมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ (EOC) ร่วมกับเครือข่ายส่วนกลางและภูมิภาคทุกสัปดาห์ โดยย้ำให้ดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ครอบคลุมในพื้นที่เสี่ยง อาทิ โรงเรือน (บ้าน/อาคาร), โรงเรียน/สถานศึกษาและ โรงพยาบาล เป็นต้น
โรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด นอนกางมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด ทายากันยุงหรือจุดยาไล่ยุง รวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้ยุงลายมาวางไข่ การกำจัดไข่หรือลูกน้ำในภาชนะเพื่อตัดวงจรไม่ให้ลูกน้ำกลายเป็นยุงตัวเต็มวัย เป็นต้น แต่ถ้าหากถูกยุงกัดแล้วมีอาการป่วยไข้ ต้องสังเกตอาการตนเองให้ดี เพราะช่วงนี้นอกจากมีไข้เลือดออกระบาดแล้วก็ยังมีไข้หวัดใหญ่ระบาดอีกด้วย ซึ่งอาจป่วยร่วมกันได้ทั้งสองโรคอาการเด่นชัดของไข้เลือดออกที่แตกต่างจากไข้หวัดใหญ่ในระยะต้นๆ คือ ไข้เลือดออกจะมีไข้สูงอย่างรวดเร็วเฉียบพลัน ไข้ลดช้า ไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคซึ่งปัจจุบันมีชุดตรวจไข้เลือดออกเด็งกี่ (NS1) ทำให้รู้ผลเร็วและรักษาได้ทันท่วงที
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะจึงได้จัดทำโครงการ “โครงการส่งเสริมป้องกันไข้เลือดออกในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2567” ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน โรงเรียน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติตามกิจกรรมของโครงการได้ถูกต้อง และเหมาะสมได้ร้อยละ 90

ร้อยละ 90 ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในตำบลมูโนะ จำนวน 500 คน สามารถปฏิบัติตามกิจกรรมของโครงการได้

0.00 90.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ในโรงเรียนโดยค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ CI ไม่เกินร้อยละ 1 ของ โรงเรียน

จำนวนโรงเรียนในตำบลมูโนะ 5 โรงเรียนหลังดำเนินกิจกรรม พบค่า HIไม่เกินร้อยละ 10 และค่า CIไม่เกินร้อยละ 1 ของโรงเรียน

0.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 500
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมป้องกันไข้เลือดออกในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมป้องกันไข้เลือดออกในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน 5 โรงเรียน กลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6จำนวน 500 คน

- ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนฯละ 3 ชม.ฯละ 500 บาทx 5 วันเป็นเงิน 7,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท x1 มื้อ x500 คน เป็นเงิน 12,500 บาท - ค่าทำสื่อประชาสัมพันธ์เป็นเงิน5,000 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ 1 x 2 เมตร (ตารางเมตรละ 250 บาท) x 1 ผืนเป็นเงิน500บาท 2. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน - ค่าสเปรย์พ่นกันยุง ขนาด 30 มิลลิลิตร500 ขวด x 35บาทเป็นเงิน 17,500 บาท - ค่าทรายอะเบทขนาด 50 กรัม จำนวน 1 ถังเป็นเงิน 3,500 บาท
- วัสดุอุปกรณ์ทำความสะอาด เป็นเงิน3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนและครูได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
2. นักเรียนและครูกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กำจัดลูกน้ำยุงลาย อย่างถูกวิธีและเหมาะสม


>