แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ รหัส กปท. L2476
อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นแนวปฏิบัติที่ต้องกระทำของมุสลิมเพื่อการรักษาความสะอาดรวมทั้งช่วยป้องกันและลดปัญหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 50 – 60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ (นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร) นอกจากนี้การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย จากบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือ “คีตาล (ภาษาอาหรับ)” หรือ “ทำสุนัต” (ภาษามลายู) มักทำหับหมอบ้าน หรือ “โต๊ะมูเด็ง” จากความเชื่อและประเพณีของชุมชน โดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่า “การทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง” “การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกันมา” เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก (bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อคหรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จาการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธีทั้งนี้ในเรื่องการดูแลส่งเสริมสุขภาพของประชาชนมุสลิม ตาม “โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิมในตำบลดุซงญอ” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามสิทธิประโยชน์ของแต่ละกลุ่มวัยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราการป่วยและอัตราการตายที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ โดยเป็นโครงการที่องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอได้ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นต่อการจัดการแก้ไขปัญหาสภาวะสุขภาวะสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสาธารณสุขระดับท้องถิ่น/พื้นที่ของกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชนต่อไปประกอบกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ.2539 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบันได้กำหนดให้อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อและพระราชบัญญัติกำหนดแผนและการขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542และแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้ภารกิจด้านการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสการจัดสวัสดิการสังคมเป็นภารกิจที่ต้องถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอาจเลือกทำตามอำนาจหน้าที่ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญด้านสังคมและคุณภาพชีวิตซึ่งเป็นหลักประกันด้านพื้นฐานของการบริการสาธารณะของรัฐดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอจึงมีภารกิจเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส,การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาลตามบริบทความพร้อมด้านทรัพยากรชุมชน ท้องถิ่นที่มีอยู่ซึ่งการจัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ต้องทำเป็นการทำงานแบบพหุภาคีนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกาแย - กาเต๊าะจึงร่วมมือกันในการบริการสวัสดิการทางสังคมและจัดทำโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิมในตำบลดุซงญอประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2566 ขึ้น เพื่อลดปัญหาความเสี่ยงทางสุขภาพและโรคติดต่อดังกล่าวต่อไป
-
1. เพื่อบริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิมในตำบลดดุซงญอ เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะอกเลือดมาก (bleending)ตัวชี้วัด :ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อตัวชี้วัด :ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรคตัวชี้วัด :ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
4. เพื่อเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรค และลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตามหลักการแพทย์ปัจจุบันให้กับเด็กและเยาวชนตัวชี้วัด :ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพหลังขลิบการป้องกัน และการเกิดโรคติดต่อรายละเอียด
- ค่าอาหารกลางวันในการอบรม จำนวน 170 คน (เด็ก 65 คน , ผู้ปกครอง 65 , ผู้รับผิดชอบโครงการ 40 คน) มื้อละ 45 บาท เป็นเงิน 7,650 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการให้ความรู้ จำนวน 170 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 8,500 บาท
- ค่าวิทยากรในการอบรมจำนวน 3 ชม ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าจัดจ้างทำป้ายไวนิล ขนาด 24 เมตร ๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท 5 ค่าจัดจ้างทำป้ายไวนิล ขนาด 12 เมตร ๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 700 บาท
งบประมาณ 21,450.00 บาท - 2. การทำหัตถกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายรายละเอียด
- ค่าตอบแทนบริการทางการแพทย์ จำนวน 65 คน ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 78,000 บาท
- ค่าผ้าเปลี่ยนสำหรับเปลี่ยนหลังขลิบอวัยวะเพศชาย จำนวน 65 คน ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 5,200 บาท
งบประมาณ 83,200.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
รวมงบประมาณโครงการ 104,650.00 บาท
- เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุนัต(ขลิบหนังหุ่้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (bleeding)
- ลดปัจจัยเสี่ยงอันก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อ ให้กับเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ
- สร้างความตระหนักแก่เด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ปกครองชุมชน ในการป้องกันโรงติดต่อและทราบถึงปัญหาและพิษภัยของโรคติดต่อ โดยเฉพาะติดเชื้อทางเลือด
- สถาบันครองครัวมีความเข้มแข็งรวมทั้งเข้าใจวิธีการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรคติดเชื้อและสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ รหัส กปท. L2476
อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ รหัส กปท. L2476
อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................