กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลเขาปู่ จังหวัดพัทลุง ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลเขาปู่ จังหวัดพัทลุง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลศรีบรรพต

1. โรงเรียนบ้านเขาปู่2.โรงเรียนวัดใสประดู่ 3.โรงเรียนชุณหะวัณ 4. โรงเรียนบ้านเหรียงงาม 5.ศพด.บ้านเขาปู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคฟันผุในเด็กปฐมวัยยังเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ในเด็กกลุ่มก่อนวัยเรียน สาเหตุหนึ่งมาจากพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการดูแลความสะอาดช่องปาก การดูแลความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันมีผลช่วยลดโอกาสการเกิดฟันผุเนื่องจากฟลูออไรด์ จะช่วยป้องกันการก่อตัวของเชื้อแบคทีเรีย อีกทั้งสามารถหยุดและชะลอการเกิดฟันผุในระยะเริ่มแรกได้ จากการสำรวจสภาวะช่องปากเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอศรีบรรพต ปี 2564, 2565 และ 2566 พบว่า เด็กอายุ 3 ขวบ มีฟันผุ ร้อยละ 35.29, 25.00 และ33.90 ตามลำดับ โดยโรคฟันผุในเด็กเล็กจะลุกลามได้รวดเร็วมากทำให้เด็กจำนวนหนึ่งมีฟันผุเกือบทั้งปาก ปัญหาฟันผุส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเด็กเล็กทั้งระบบการย่อยอาหาร ภาวะขาดสารอาหารอีกทั้งฟันผุยังเป็นแหล่งสะสมและแพร่กระจายของเชื้อโรคทำให้เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังได้ การป้องกันฟันผุที่ได้ผลดียิ่งคือการแปรงฟันให้ถูกวิธี ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และลดการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อฟันผุ ร่วมกับการส่งเสริมทันตสุขภาพโดยวิธีอื่น ๆ เช่น การทาฟลูออไรด์วานิช การดื่มนมผสมฟลูออไรด์ การลดจำนวนเด็กที่มีฟันผุ ทำได้ด้วยการรักษา ส่วนการป้องกันการเกิดใหม่ของโรค ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองและผู้ดูแล รวมทั้งครู ในการดูแลทันตสุขภาพร่วมด้วยกลุ่มงานบริการทางการแพทย์ (ทันตสาธารณสุข) โรงพยาบาลศรีบรรพต จัดทำโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต ปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก และเพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง โดยได้มีการเสนอของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาย่า เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรของสาธารณสุขไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานทันตสาธารณสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลใน ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
และชั้นอนุบาลใน ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

0.00
2 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลใน ต.เขาปู่อ.ศรีบรรพต ได้รับการทาฟลูออไรด์

ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลใน ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ได้รับการทาฟลูออไรด์

0.00
3 เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลใน ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ได้รับการรักษาทางทันตกรรมอย่างน้อย ๑ ครั้ง ของเด็กที่มีปัญหาโรคในช่องปาก

ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชั้นอนุบาลใน ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ได้รับการรักษาทาง

0.00
4 เพื่อให้เด็กใน ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

การเกิดฟันผุของเด็กใน ต.เขาปู่ อ.ศรีบรรพต ลดลงร้อยละ ๑

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
การตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวัสดุทันตกรรม (ฟลูออไรด์) จำนวน 15 หลอด x 670 บาท = 10,050 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10050.00

กิจกรรมที่ 2 ทาฟลูออไรด์เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
ทาฟลูออไรด์เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวัสดุทันตกรรม (dentine conditioner) จำนวน 2 อัน x 660 บาท = 1,320 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1320.00

กิจกรรมที่ 3 ให้การรักษาทางทันตกรรมแก่เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
ให้การรักษาทางทันตกรรมแก่เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวัสดุสีเหมือนฟัน (GI filling)จำนวน 1 กล่อง x 3,810 บาท = 3,810 บาท
  2. ค่าวัสดุสีเหมือนฟัน (composite flow)จำนวน 4 หลอด x 910 บาท = 3,640
  3. ค่าวัสดุสีเหมือนฟัน (composite filling) จำนวน 4 หลอด x 910 บาท = 3,640
  4. พู่กันขนาดเล็ก (micro point)จำนวน 9 กล่อง x 60 บาท = 540 บาท
  5. ชุดผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพช่องปาก จำนวน 200 ชุด x 35 บาท = 7,000 บาท

*สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18630.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการดำเนินงานส่งเสริมทางทันตสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
2. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีฟันน้ำนมผุลดลงจากปี 2567
3. อัตรา cariesfree ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพิ่มขึ้น


>