กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมอนามัยเด็กวัยเรียนตำบลพิมาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

1. น.ส.ปารีดา หวันสู 064 - 0433356
2. น.ส.กฤษณา ละอองสุวรรณ
3. นางซาฮีดา สะกานดา
4. น.ส.นิสากร บุญช่วย

โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสตูล ทั้ง 5 โรงเรียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีคัดกรองพบภาวะสายตาสั้นและเอียง

 

7.00
2 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

41.00
3 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

505.00
4 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะโลหิตจาง

 

6.00

จากสภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันการดำเนินชีวิตของเด็กวัยเรียนและเยาวชนได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่
หยุดนิ่งอาทิเช่น การติดต่อสื่อสารทางสังคมออนไลน์การท่องโลกอินเตอร์เน็ตการเลียนแบบเพื่อให้ทัน
ยุคสมัยที่เน้นวัตถุนิยมมากกว่าจิตใจผลของการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เด็กวัยเรียนและเยาวชนที่เป็นอนาคตสำคัญของชาติกำลังเผชิญกับปัญหาต่างๆเช่น ปัญหาด้านสุขภาพปัญหาช่องปาก ปัญหาทางสายตา และปัญหาโรคทางเดินหายใจซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อนักเรียนทำให้มีสติปัญญาด้อยเรียนรู้ช้าภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อง่ายนักเรียนที่มีภาวะอ้วนจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญในการเร่งสร้างคุณภาพด้านสุขภาพเพื่อพัฒนาศักยภาพให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเนื่องจากโรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคมพื้นฐานที่มีหน้าที่พัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีศักยภาพเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขฉะนั้นโรงเรียนจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังความรู้เจตคติและพฤติกรรมทุกๆด้านแก่เด็กวัยเรียนรวมทั้งพฤติกรรมสุขภาพด้วยแต่เนื่องจากโรงเรียนเป็นที่รวมของเด็กในชุมชนที่มาจากครอบครัวที่ต่างกันจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บทั้งโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมอีกทั้งเมื่อนักเรียนคนใดคนหนึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ มาโรงเรียนมีโอกาสจะแพร่เชื้อไปสู่นักเรียนคนอื่นๆได้ง่ายจากการเล่น
การคลุกคลีกันการทำกิจกรรมร่วมกันเมื่อเด็กป่วยเหล่านี้กลับบ้านย่อมมีโอกาสแพร่เชื้อโรคสู่บุคคลในครอบครัวและชุมชนโรงเรียนจึงเป็นสถานที่สำคัญมากแห่งหนึ่งต่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ดังนั้นการตรวจสุขภาพนักเรียนในงานอนามัยโรงเรียนจึงเป็นการคัดกรองเฝ้าระวังเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านปัญหาสุขภาพได้ โดยการให้ความรู้ปลูกฝังเจตคติเสริมสร้างทักษะที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องการค้นพบปัญหาดังกล่าวนี้นำไปสู่การดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชนอย่างรอบด้านการมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจจะนำไปสู่การพัฒนาสติปัญญาอย่างเต็มศักยภาพและเป็นประชากรที่มีคุณภาพที่จะช่วยพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะทุพโภชนกาารของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละ100ของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ได้รับการคัดกรองภาวะโภชนาการ

41.00 0.00
2 เพื่อลดภาวะฟันผุของเด็กวัยเรียน (6 ขึ้นไป) ลง

ร้อยละ100ของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ได้รับการคัดกรองปัญหาฟันผุ

505.00 0.00
3 เพื่อลดภาวะสายตาสั้นและเอียงของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละ 100 ของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีคัดกรองพบภาวะสายตาสั้นและเอียง

7.00 0.00
4 เพื่อลดภาวะโลหิตจางของเด็กวัยเรียน(6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละ100 ของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง

6.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 700
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,500
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 12

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมปรึกษาหารือเพื่อดำเนินการตามแนวทางส่งเสริมอนามัยเด็กวัยเรียนร่วมกับเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูลจำนวน 1 ครั้ง
  2. เขียนโครงการ / เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. จัดทำแผนปฏิบัติงานเพื่อดำเนินการ
  4. สำรวจข้อมูลนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาล ทั้ง 5 โรง
  5. เบิกวัคซีนที่จำเป็นจากโรงพยาบาลสตูล
  6. เบิกยาเสริมธาตุเหล็กจากศูนย์สุขภาพชุมชนทั้ง 2 แห่ง
  7. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจสุขภาพ และแก้ไขปัญหาสุขภาพเบื้องต้น
    7.1 แชมพูรักษาเหาแบบกล่อง (ขนาด 20 มล. x 12 ซอง) ราคากล่องละ 285 จำนวน 40 กล่อง คิดเป็นเงิน 11,400 บาท
    7.2 ยาถ่ายพยาธิ ขนาด 200 มก.(ขวดละ 100 เม็ด) ราคาขวดละ 280 บาท จำนวน 30 ขวด คิดเป็นเงิน 8,400 บาท
    7.3 เข็มฉีดยา เบอร์ 18 ขนาด 1.5 นิ้ว (กล่องละ 100 ชิ้น) ราคากล่องละ 158 บาท จำนวน 5 กล่อง คิดเป็นเงิน 790 บาท
    7.4 เข็มฉีดยา เบอร์ 25 ขนาด 1 นิ้ว (กล่องละ 100 ชิ้น) ราคากล่องละ 158 บาท จำนวน 6 กล่อง คิดเป็นเงิน 948 บาท
    7.5 สำลีก้อนปลอดเชื้อ (ห่อละ 10 ก้อน) ราคาห่อละ 14 บาท จำนวน 100 ห่อ คิดเป็นเงิน 1,400 บาท
    7.6 ซองยาเขียนได้ (ขนาด6 x 8 ซม.) แพ็คละ 100 ซอง ราคา 40 บาท จำนวน 15 แพ็ค คิดเป็นเงิน 600 บาท
    7.7 เทปแต่งแผลชนิดใส (ขนาด 1 นิ้ว x 5 หลา) จำนวน 3 ม้วน ม้วนละ 65 บาท คิดเป็นเงิน 195 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2567 ถึง 20 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้ประชุมวางแผนและมอบหมายหน้าที่ของแต่ละคน
  2. ได้วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23733.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนการดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประสานกลุ่มเป้าหมาย
  2. ตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้แก่นักเรียน ชั้นเด็กเล็ก , อนุบาล 1 - 3 และชั้น ป.1 - ป.4 เป็นรายบุคคลแนะนำการตรวจสุขภาพโดยใช้แบบตรวจสุขภาพด้วยตนเองแก่นักเรียนชั้น ป.5 ขึ้นไปให้ความรู้และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่นักเรียนพร้อมให้การรักษาเบื้องต้นแก่นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ
    2.1 ให้การรักษา/คำแนะนำแก่นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ และส่งรักษาต่อพร้อมทั้งจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์เพื่อใช้ในการดำเนินงาน
    2.2 ตรวจคัดกรองสายตาแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 ทุกคน และส่งต่อนักเรียนที่มีภาวะสายตาผิดปกติ
  3. จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางแก่นักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 ดังนี้
    3.1 ให้ความรู้แก่นักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 ในการป้องกันภาวะโลหิตจาง เช่น การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก
    3.2 ประเมินภาวะโลหิตจางโดยการสุ่มเจาะเลือดจากปลายนิ้ว ร้อยละ 10 ของนักเรียน ชั้นประถมในเขตเทศบาลทั้ง 4 โรง
    3.3 จ่ายยาเสริมธาตุเหล็กให้แก่นักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 รับประทานสัปดาห์ละ 1 เม็ด ระยะเวลา 32 สัปดาห์
    3.4 จ่ายยาถ่ายพยาธิ (200มก.) แก่ชั้น ป.1 – ป.6 รับประทานคนละ 2 เม็ดต่อปีการศึกษา
  4. ฉีดวัคซีนให้นักเรียนชั้นป.1 ป.5 และป.6
    (ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 1 มื้อ 8 วัน จำนวน 12 คน คนละ 70 บาท) คิดเป็นเงิน 6,720 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนโรงเรียนตามกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพ คัดกรองสายตาและได้รับการสุ่มเจาะเลือดจากปลายนิ้ว
  2. นักเรียน ป.1-ป.6 ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กตาเกณฑ์
  3. นักเรียน ชั้น ป.1 , ป.5 และ ป.6 ได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6720.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นตอนสรุปผลการดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนสรุปผลการดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมสรุปโครงการร่วมกับเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูลจำนวน 1 ครั้ง
  2. สรุปผลการตรวจสุขภาพและการรักษาส่งให้ผู้บริหารสถานศึกษาและโรงเรียนทั้ง 5 โรง
  3. จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 2 เล่ม
    งบประมาณ

- ค่าจัดทำเอกสารสรุปผลโครงการ จำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปโครงการ รายงานผล และนำไปวางแผนโครงการในครั้งถัดไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,953.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่เด็กนักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสตูล ทั้ง 5 โรงเรียน
2. นักเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสตูลได้รบการตรวจสุขภาพและได้รบการรักษาเบื้องต้น
3. สามารถควบคุมป้องกันโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในวัยเรียนได้


>